ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้เรื่องสมุนไพร

    ลำดับตอนที่ #1 : กระเจี๊ยบแดง (Roselle)

    • อัปเดตล่าสุด 1 พ.ค. 51


    กระเจี๊ยบแดง

    ชื่อภาษาไทย กระเจี๊ยบแดง

    ชื่อภาษาอังกฤษRoselle

    ชื่อวิทยาศาสตร์Hibiscus sabdariffa Linn.

    ชื่อวงศ์     Malvaceae

    ลักษณะพืช

    สรรพคุณทางยากลีบรองดอก และกลีบเลี้ยง ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาขับเสมหะ พบสารสำคัญในดอกคือ protocatechuic acid, hibiscetin, hibiscin, malvin gossypetin

    ข้อบ่งใช้และวิธีใช้   
    ใช้เป็นยาขับปัสสาวะโดยนำเอากลีบเลี้ยงและกลีบรองดอก สีม่วงแดงตากแห้งและบดเป็นผล 1 ช้อนชา (3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มล.) ทิ้งไว้ 5 - 10 นาที รินเฉพาะน้ำสีแดงใสดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาจะหายกระเจี๊ยบแดงเป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูง 1 – 2 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีสีแดงอมม่วง ใบออกสลับกัน ก้านใบยาวประมาณ 5 ซม. ตัวใบรีแหลม อาจมีรอยเว้าลึก แบ่งตัวใบออกเป็น 3 แฉก ดอกเดี่ยว ออกบริเวณซอกใบ กลีบเลี้ยงสีม่วงแดง 5 กลีบ อวบน้ำ ติดกับฐานดอกและคงอยู่จนเป็นผล กลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้เชื่อมติดกันเป็นแท่ง มีอับเรณูติดทั่วทั้งแท่ง ผลมีลักษณะรูปไข่ป้อมๆ มีจงอยสั้นๆ มีขนหยาบๆ สีเหลืองปกคลุม เมล็ดมีจำนวนมาก ลักษณะเป็นรูปไตเกลี้ยง สีดำหรือน้ำตาล

    วิธีปลูกและดูแลรักษา เริ่มปลูกในช่วงปลายฤดูฝนโดยเตรียมดินและพรวนดินให้ร่วน ใช้เมล็ดพันธุ์หยอดหลุมละ 3-5 เมล็ด ระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 70 ซม. ระหว่างแถว 120 – 150 ซม. เมื่ออายุได้ 3 – 4 สัปดาห์ ให้เลือกถอนต้นที่ไม่เข็งแรงออกเหลือไว้ 1 – 2 ต้น ควรกำจัดวัชพืชประมาณ 2 ครั้ง ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย ถ้ามีแมลงรบกวนใช้จำกัดตามความเหมาะสม ออกดอกระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน

    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
     
    กลีบเลี้ยงและริ้วประดับ มีสารชื่อแอนโธไซยานิน (Anthocyanin) จึงทำให้มีสีม่วงแดง นอกจากนี้ยังประกอบด้วย
    กรดอินทรีย์หลายชนิด ในปี พ.ศ.2522-2524 น.พ.วีระสิงห์  เมืองมั่น และคณะ, คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 
    ได้ศึกษาสรรพคุณของกระเจี๊ยบแดง โดยการใช้ผงกระเจี๊ยบแดงที่ทำจากริ้วประดับและกลีบเลี้ยงตากแห้งบดเป็นผง 
    ขนาด 3 กรัม ชงในน้ำเดือด 1ถ้วยแก้ว(300 ซีซี) ดื่มวันละ 3 ครั้ง ระยะ 7 วันถึง 1 ปี รักษาผู้ป่วยโรคนิ่วและการอักเสบ
    ของทางปัสสาวะ 73 คน พบว่าทำให้ปัสสาวะเป็นกรด ใส และถ่ายสะดวกขึ้นมาก และยังช่วยลดอาการอักเสบหลังผ่าตัดนิ่วด้วย เห็นได้ว่ากระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะได้ดี ด้านพิษยา  มีเกลือโปตัสเซียมมาก จึงต้องระวังในการใช้กับคนไข้โรคหัวใจ


    p018.JPG (127940 bytes)

    p020.JPG (89740 bytes)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×