ปัญญาในการดำรงชีพ..จากธรรมพระพุทธศาสดา - นิยาย ปัญญาในการดำรงชีพ..จากธรรมพระพุทธศาสดา : Dek-D.com - Writer
×

    ปัญญาในการดำรงชีพ..จากธรรมพระพุทธศาสดา

    ผมเป็นโง่เขลาเบาปัญญาในการดำรงชีพในทางโลก คิดช้า ไม่มีปฏิภาณไหวพริบ พลิกแพลงไม่เป็น ทำให้เกิดความผิดพลาดฉิบหายบ่อยครั้ง เมื่อรู้ว่าตนเขลาจึงเพียรอบรมจิตเพื่อให้ตนถึงปัญญาตามธรรมของพระพุทธศาสดาดังนี้

    ผู้เข้าชมรวม

    137

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    137

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    2
    จำนวนตอน :  1 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  23 พ.ค. 60 / 10:29 น.
    e-receipt e-receipt
    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

          ผมเป็นโง่เขลาเบาปัญญาในการดำรงชีพในทางโลก คิดช้า คิดไม่ทัน ไม่รอบครอบ รู้น้อย ใช้แต่อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นไปตามกิเลสอันเร่าร้อน ไม่มีปฏิภาณไหวพริบ พลิกแพลงไม่เป็น ทำให้เกิดความผิดพลาดฉิบหายอย่างมากมายบ่อยครั้ง จนถึงความพังทลายในชีวิตเลยก็ว่าได้ จนเมื่อผมยอมรับความจริงก็ได้รู้ว่าตัวว่า..ผมนี้มันเขลามาก แม้ตนเองจะพยายามเรียนรู้ธรรมมากแต่ธรรมไม่เคยลงใจเลย ไม่สามารถเอาธรรมมาใช้ได้ในชีวิตเลยด้วยซ้ำ แต่ปากนี้กลับพูดพร่ำเพ้อแต่ธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ทั้งๆที่ไม่เคยได้ลิ้มรสธรรมแท้นั้นเลย เมื่อผมรู้ตัวและยอมรับตนเองว่าโง่เขลาเบาปัญญาได้ ก็จวนจะสายเสียแล้ว ชีวิตครอบครัว หน้าที่การงาน การเงิน ทุกอย่างกำลังจะพังคลืนลงอุปมาเหมปราสาทที่ทรุดพังคลืนจมลงดินหายไปในพริบตา ด้วยเหตุดังนี้ผมจึงพยายามเพียรเรียนรู้ปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรม ทั้งอบรมจิต จิตษาหาความรู้พิจารณา เพื่อให้ตนถึงปัญญาตามธรรมของพระพุทธศาสดา ในความฉิบหายนั้นผมยังมีบุญอยู่บ้างที่พอจะได้เจอพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านได้เมตตาสอนปัญญาการดำรงชีวิตให้ผม ให้หัด คิดอย่างนักปราชญ์ ให้พิจารณาด้วยปัญญาตามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา เพื่อให้เกิดปัญญาแท้จริง เรียกว่าความเห็นชอบ นำไปสู่ความคิดชอบ จนแม้เมื่อผมได้ซื้อหนังสือจากหลายๆสำนักพิมพ์ หลายนักบริหาร นักธุระกิจ นักวิชาการทั้งหลายมาอ่าน ทำให้ผมเห็นเลยว่า นักบริหารระดับสูงทุกคนล้วนอาศัยธรรมมะในการดำเนินชีวิตการงานทั้งสิ้น ซึ่งเราเป็นคนไทยนี้เรายิ่งมีโอกาสมากที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติและได้เรียนรู้พระธรรมคำสอน แนวทางปฏิบัติจากพระบรมพุทธศาสดา ผู้เป็นศาสดาเอกของโลกไม่มีใครอื่นยิ่งกว่า คือ..
    ทุกขอริยะสัจ ทุกข์ (ผล)
    ทุกขสมุทยอริยสัจ เหตุแห่งทุกข์ (เหตุ)
    ทุกขนิโรธอริยสัจ ความดับทุกข์ ความเบิกบานพ้นจากทุกข์ (ผล)
    ทุกขนิโรคทามินีปฏิปทาอริยสัจ ทางดับทุกข์ (เหตุ) (ทางดับทุกข์, ทางปฏิบัติ, ทางสะสมเหตุ) (สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาวายาโม สัมมาอาชีโว สัมมาสติ สัมมาสมาธิ) 

          ซึ่งเมื่อผมศึกษาดูแล้วนักบริหารเก่งๆหลายๆท่านจะใช้ธรรมควบคู่ไปในการดำเนินไปในชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ปัจเจกชนก็ดี หรือ การชนะกับชนะก็ดี เป็นต้น และทางอื่นๆในระดับผู้บริหาร หรือหัวหน้าองค์กรในการเข้าถึงผู้ร่วมงาน ลูกน้อง หรือ หัวหน้าระดับสูง แต่ยังไม่มีใครคนใดใช้พระอริยะสัจ ๔ ในการบริหาร
          แต่เมื่อเราศึกษามากขึ้นในหลายๆทางจะค้นพบได้ทันที่ว่า ในโลกนี้มีเพียงบุคคล 1 เดียวในโลกเท่านั้นที่ใช้พระอริยะสัจ ๔ ในการบริหารงาร ทั้งเล็กและใหญ่และระดับประเทศ จนไปถึงระดับโลก นั่นก็คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งสยามประเทศของไทยเรานี้เอ

          ผมเมื่อถูกความโง่ครอบงำมากว่าเกือบจะครึ่งชีวิตแล้วจนชีวิตแทบจะฉิบหายทั้งหมด เมื่อผมได้รู้ตัวว่าตนโง่สุดๆแล้ว และได้เปิดใจเรียนรู้ เปิดสมอง

    - ทำความเปิดใจยินดีที่จะ ดู/ฟัง/อ่าน-วิเคราะห์-ถาม-จด ที่เห็นว่าเป็นวิชาความรู้ ถึงแม้สิ่งนั้นๆจะให้ความรู้เราเพียงเล็กน้อยก็ตาม หรือไม่ให้เลย ต่ำกว่าที่เรามี หรือเสมอกันก็ตาม ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม น้อมใจวิเคราะห์ตามด้วยความเป็นเหตุเป็นผลและตามความจริง เพราะผู้พูดสื่อสาร หรือผู้เขียนบางท่านจะมีประสบการณ์ในการใช้คำจำกัดความในแต่ละคำที่ให้ความรู้สึกเข้าถึงได้มากกว่าเราหรือบางคนได้เยอะถึงใจกว่า ซึ่งสิ่งนี้ในแต่ละคนจะให้ความรู้สึกต่างกัน หากเท่าทุนไม่มีความรู้เพิ่มขึ้นหรือต่ำกว่าที่ผมรู้ก็จะถือว่าเป็นการทบทวนย้ำเตือนแนวคิดตนที่ผ่านๆมา ที่อาจจะลืมไปแล้ว หรือที่เรารู้แต่ไม่เอามาใช้ครอบคลุม และทำให้รู้ว่าเราเห็นถูกต้องที่สมารถเผยแพร่ต่อผู้อื่นได้ 

    - ทำความเพียรศึกษาในวิชาความรู้ต่างๆแล้วน้อมนำมาปฏิบัติตาม ร่วมกับความระลึกได้ แยกแยะ ยั้งคิด ระลึกรู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิดตนที่มีต่อสิ่งนั้นๆ หรือสิ่งอื่นๆเหล่าใดได้ อันเรียกว่าสติสัมปะชัญญะกำกับรู้ประครองความเพียรนั่นเอง

    - ฝึกสติให้ตามรู้ระลึกรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งกายและใจตนบ่อยๆ 
    ก. ฝึกรู้ลมหายใจเข้าออกตนเองบ่อยๆ กำลังหายใจเข้า หรือกำลังหายใจออก ทำให้บ่อยแทบจะทุกขณะทุกเวลา
    ข. เรากำลังทำกิจการงานไรๆอยู่ในปัจจุบัน ก็ให้เรารู้ว่าตนกำลังทำกำลังดำเนินไปในหิจกการงานนั้นๆอยู่  กิน ขี้ เยี่ยว นอน ทำงาน ดูหนัง พูดคุย พิมพ์งาน ดูข้อมูลงาน ข้อมูลอะไร ฯลฯ
    ค. เมื่อกำลังดำเนินไปในอิริยาบถใด ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็ให้รู้
    ง. ฝึกระลึกรู้เท่าทันว่าตนกำลังเกิดความ เจ็บ ปวด ป่วย ร่างกาย สุข ทุกข์ รัก โลภ โกรธ หลง ธรรมชาติของสิ่งทีชิวิต เบื่อ หน่าย หดหู่ ขี้เกียจ ฟุ้งซ่าน พร่ำเพ้อ หลงเคลิ้มหลงไหลไปตามสิ่งไรๆอยู่ จนเราแจ้งเห็นชัดในความแปรปรวน ไม่ยั่งยืน ไม่งคิยู่ได้นาน บังคับไม่ได้
    ข้อจกจำสั้นๆมีดังนี้คือ
    1. ลม (ข้อ ก.)
    2. สัมปะชัญญะ (ข้อ ข.)
    3. อิริยาบถ (ข้อม ค.)
    4. สมมติ (ข้อ ง.)

    อบรมจิตด้วยสมาธิเพื่อเข้าถึงปัญญา หากเป็นนักปฏิบัติธรรมจะรู้ดีว่าเวลาเราเข้าสมาธิได้นั้น จะทำให้สติเรามีกำลังตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน เป็นเหตุให้จิตเราตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวได้นานตาม สงบ ว่างมีกำลังมากไม่เอนไหวอ่อนแอ ไม่เอาสิ่งนั้น สิ่งโน้น สิ่งนี้มาเกาะเกี่ยวประครองให้มันยืนหยัดอยู่ได้ ทำให้ใจเราอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองไม่ต้องพึ่งพาอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆมาเป้นเครื่องอยู่ของมัน ทำให้จิตได้พัก เกิดเป็นความสุขสกาวผ่องใส ทำให้สติบริสุทธิ์รู้เท่าทันทุกสิ่งทุกอย่าง จนเห็นอารมณ์ความรู้สึกที่มากระทบใจเรานั้นมันช้ากว่าความรู้สัมผัสความคิดอ่านอันเป็นขั้นตอนกระขบวนการที่เป็นเรื่องราวต่างจนจบในสิ่งนั้นเสียอีก ความรู้สึกของใจเรามันไวกว่าแสงปานใด แต่ใจเรานี้ก็ยังรู้เท่าทันได้ทุกขณะทุกครั้ง ในขณะนั้นๆยังแยกแยะ ยับยั้งช่างใจ เลือกที่จะเสพย์เอาแต่อารมณ์ความรู้สึกที่เป็นประโยชน์ได้ อย่างนี้เรียกว่าระลึกได้นั่นเอง เมื่อจิตสงบ สุข ตั้งมั่น จะทำให้เกิดปัญญาต่างๆมากมายไม่สิ้นสุด ปัญญานี้มันจะไหลมาไม่หยุดเหมือนมันอัดอั้นถูกกดข่มไว้มานานนับอสงไขย เกิดเห็นหนทางที่ดีๆมากมายเเป็นร้อยเป็นพันอย่างที่ทะลุตีออกนอกกรอบความคิดความจำที่เราเคยเห็น ที่เคยรู้ ที่เคยยึดมั่นถือมั่นตัวตนมันมา นึกถึงสิ่งใดนี้มันเป็นเป็นภาพมาเลยทันที(ภาวะนี้ใช้ในทางโลกได้ดีเพราะอาศัยความใจตรึกคิด ความแนบใจอยู่กับอารมณ์ ฉลาดใช้นิมิตมาวิเคราะห์พิจารณาได้อย่างครอบคลุมทุกเรื่องไม่มีตกหล่น),
            ** ส่วนทางธรรมนี้ท่านให้เราได้น้อมใจตามดูตามไปเฉยๆ ให้เห็นตามจริง เหมือนนั่งดูหนังเรื่องนั้นๆอยู่โดยที่เราไม่ได้ไปแต่งเติมเรื่องราวด้วยตามจริง ที่เรียกว่าโยนิโสมนสิการ จนเมื่อมันนิ่งมันเห็นเองทันทีโดยที่เราไม่ได้ไปยุ่งข้องเกี่ยวกับมันเลย จิตทำสักแต่ว่ารู้เห็นสักแต่ว่าแลดูอยู่อันกับกับระลึกรู้ด้วยสติอยู่นั้น **

    อบรมจิตเพื่อปัญญา ต้องฝึกดังนี้
    ก. เราต้องตั้งเป้าหมายที่จะทำไว้ก่อน เพราะหากไม่มีจุดหมายเราทำไปแบบไร้เป้าหมายหวังผลไม่ได้ จะไม่เกิดผลดีแก่เราซ้ำยังกลายเป็นเหตุให้เราทำพร่ำเพรื่อในสิ่งที่หวังผลไม่ได้อีกด้วย
    ข. แล้วเริ่มฝึกตนหัดมีเหตุมีผล หัดวิเคราะห์พิจารณาให้เป็นเรื่องๆ แต่เป็นเรื่องราว ตลอดไปถึงพิจาณา อ้างอิงกับความจริงที่เราเป็นอยู่ ซึ่งบทพิจารณาทั้งปวงในโลกนี้ที่จะทำให้เราเกิดความรู้เห็นอันเป็นไปตามความจริงได้นั้น ย่อมมีอยู่เพียงสิ่งเดียวในโลกที่จะพิจารณาตามจริงได้ นั่นก็คือ บท ๔ อันประเสริฐสุด คือ พระอริยะสัจ ๔ ธรรมที่สมเด็จพระบรมพุทธศาสดาทรงตรัสรู้นั่นเอง
    ค. พร้อมกับต้องศึกษาวิชาความรู้ต่างๆให้มากขึ้นในหลายๆด้าน และต้องกระทำตามในแนวทางนั้นๆจนแจ้งชัดกระจ่างใจตน จะได้เกิดความรู้แจ้งชัดตามจริง เพราะเราไม่ใช่พระอรหันต์ยังต้องศึกษาต่ออยู่เสมอให้มากที่สุดยิ่งดี จะทำให้เราฉลาดเพราะรู้แจ้งชัดเกิดปัญญาเห็นแนวทางหลายหลากวิธีในการปฏิบัติที่จะนำพาไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้

    ข้อมูลเบื้องต้นนี้เรียกการฝึกทำเหตุให้เข้าถึงปัญญารู้ชัด ซึ่งทุกข้อมจะข้องเกี่ยวสืบเนื่องกันและต่างเป็นกำลังให้กันจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีมาก ดังที่จะกล่าวการฝึกในลำดับต่อไป

          เหตุที่ผมได้เรียบเรียงเรื่องราวแนวทางต่างๆนี้ขึ้นมา ผมไม่ได้จบสูง ไม่ใช่คนมีความรู้ ไม่ใช่คนฉลาดหลักแหลม คิดช้า ไม่มีปฏิภาณไหวหวิบ ถามตอบทันท่วงทีฉะฉานไม่ได้ ไม่ใช่คนเข้าถึงธรรม ไม่รู้ศัพท์ภาษาการบริหาร และธุรกิจ หรือภาษาระดับที่ผู้จบดอกเตอร์รู้ แต่ผมเห็นทุกข์กำหนดรู้ทุกข์ที่เกิดมีแก่ผมแล้วอยากให้ท่านที่กำลังอยู่ในสภาวะวิถีชิตในแบบีท่ผ่านมาของผม ได้พบแนวทางพ้นทุกข์นี้ แล้วทำปัญญารรู้แจ้งให้เกิดขึ้นมาได้ และผมเข้าใจในภาษาแบบบ้านๆ วิถีแบบบ้าน ชีวิตแบบบ้าน จึงใช้คำจำกัดความแบบบ้านในการเขียนเรื่องราวนี้ขึ้น และจะพยายามใช้คำอันเป็นหัวข้อสั้นๆให้จดจำได้ง่ายถึงหลักการปฏิบัติในแต่ละแนวทางครับ

          การเขียนเรื่องราวหนังสือนี้ๆขึ้น คำทุกคำ ทุกตัวอักกษรที่ข้าพเจ้าเขียน ไม่ได้มีขึ้นเพียงประชด ให้ร้าย ทำร้าย เบียดเบียน หรือมุ่งราย อันเป็นมิจฉาวาจาแก่ใครทั้งสิ้น ทุกอย่างแม้คำอุปมา อุปไมยล้วนพยายามเขียนขึ้นมาโดยอาศัยจินตนาการในการเขียนเพื่อ วิทยาทาน ธรรมทาน ที่จะให้ผู้อ่านมองภาพออกแล้วนำไปใช้ประโยชน์อบรมไขปัญญาของตนเองเพื่อการดำรงชีพได้เพียงเท่านั้น หากผิดพลาดหรือไม่สมควรประการใดขอท่านทั้งหลายจงให้อภัยและชี้แนะแก่ผมด้วยเทอญ

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น