ร.พ.รามาธิบดี - ดร.สุภัจฉรา นพจินดา สำนักงานวิจัยคณะแพทยศาสตร์ ร.พ.รา มาธิบดี เผยถึงการกินอาหารที่ไม่มีเส้นใย เช่น กินนม เนย เนื้อสัตว์ อาหารที่มีไขมันล้นเกิน แป้งขัดขาว แต่ไม่กินเส้นใย เช่น ผักสด ผลไม้สด ข้าวกล้อง ข้าวโพด โอกาสที่จะเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่สูง
เนื่อง จากอาหารประเภทเนื้อสัตว์และไขมันเมื่อถูกขับกับน้ำย่อยแล้วจะเหนียวหนึบ เป็นยางมะตอยติดอยู่กับผนังลำไส้ใหญ่ มิหนำซ้ำยังมีกรดน้ำดีอยู่ด้วย พอมันติดหนึบเป็นตะกรันอยู่ในตัวเราไม่ถูกถ่ายทิ้ง แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ก็กินกรดน้ำดีต่อทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง เกิดเป็นมะเร็งของลำไส้ใหญ่ในที่สุด
ตรงกันข้ามหากเรากินอาหารที่มีเส้นใยจากผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ฯลฯ เส้นใยเหล่านี้
จะ ไปทำให้กรดน้ำดีในอุจจาระเจือจางลง ป้องกันการเกิดตะกรันที่ติดหนึบเป็นหมากฝรั่ง และเกิดการถ่ายทิ้งออกนอกร่างกายทุกวัน แบคทีเรียจึงไม่ทันย่อยกรดน้ำดี และไม่เกิดสารก่อมะเร็ง จะเห็นว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ป้องกันได้เพียงแต่กินอาหารประเภทผัก ผลไม้วันละมาก ๆ หันมากินข้าวกล้องแทนข้าวขาว ปัญหาท้องผูกก็จะหมดไป อย่าลืมว่าเมื่อใดลำไส้ใหญ่สกปรกมะเร็งจะถามหา ถ้าลำไส้ใหญ่สะอาดก็จะปลอดภัยจากโรคนี้
ดร.สุ ภัจฉรากล่าวอีกว่า มีผู้ตระหนักถึงภัยมะเร็งตื่นตัวและหันมากินผัก ประเภทแครอต บร็อกโคลี่ ลูกพรุน ส่วนมากต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศทำให้ราคาแพง และหายาก แต่หากหันมากินผักในประเทศซึ่งมีหลายประเภทและมีเบต้าแคโรทีนไม่น้อยไปกว่ากัน เช่น ยอดมะยม มีเบต้าแคโรทีนสูง ผักโขมที่หาง่ายในเมืองไทย ตำลึง มีแคลเซี่ยมและเบต้าแคโรทีนสูง กระถิน ยอดแคที่ใช้ลวกจิ้มน้ำพริก นอกจากนี้ยังมีชะพลู
"ยัง มีอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่างๆ เพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ควบคุมน้ำหนักตัวโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งมดลูก ถุงน้ำดี เต้านม และลำไส้ใหญ่ การออกกำลังกายและลดรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงจะช่วยป้องกันมะเร็งเหล่านี้ได้"
สำหรับ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็ง เกิดจากปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น รับสารพิษจากเชื้อราที่มาพร้อมกับอาหารที่เรากิน เช่น ถั่วลิสง ถั่วคั่วป่น ข้าวโพด พริกแห้ง ข้าวฟ่าง การปิ้ง ย่าง เผารมควัน ทอดเนื้อสัตว์ อาหารที่มีเกลือไนเตรต เช่น ไส้กรอก เบคอน แหนม
ส่วน ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น พันธุกรรม ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น ขาดวิตามินเอเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งระบบทางเดินหายใจได้
ความคิดเห็น