ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองของไทย

    ลำดับตอนที่ #7 : ยุคเผด็จการอำนาจนิยม (พ.ศ.2490 – พ.ศ.2516)

    • อัปเดตล่าสุด 20 พ.ย. 53


    เป็นยุคที่คณะทหารและกองทัพได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครองประเทศ โดยการยึดอำนาจทำรัฐประหาร และถือว่าเป็นการดำเนินการปกครองของข้าราชการ โดยข้าราชการและเพื่อข้าราชการ จนกระทั่งมีการให้สมญาการปกครองในยุคนี้ว่าเป็น “ยุคอำมาตยาธิไตย” โดยมีการรัฐประหารเป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อน
    ในช่วง 25 ปี ระหว่าง 2475 – 2500 ได้มีรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับ มีการเลือกตั้ง 9 ครั้ง มีการรัฐประหารและการกบฏ 10 ครั้ง ดังนั้นหากคิดเฉลี่ยอาจกล่าวได้ว่า มีรัฐธรรมนูญ 1 ฉบับต่อ4.1 ปี มีการเลือกตั้ง 1 ครั้งต่อ 2.7 ปี และมีการขัดแย้งทางการเมืองในรูปแบบของรัฐประหารหรือการกบฏทุก ๆ 2.5 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นดังนี้


    20 มิถุนายน 2476      คณะรัฐประหาร
    11 ตุลาคม 2476        กบฏบวรเดช
    3 สิงหาคม 2478        กบฏนายสิบ                         
    29 มกราคม 2481      กบฏพระยาทรงสุรเดช
    8 พฤศจิกายน 2490    คณะรัฐประหาร
    1 ตุลาคม 2491          กบฏเสนาธิการ
    26 กุมภาพันธ์ 2492   กบฏวังหลวง
    29 มิถุนายน 2494      กบฏแมนฮัตตัน
    16 กันยายน 2500      คณะรัฐประหาร
    20 ตุลาคม 2501        คณะปฏิวัติ 

    ในขณะเดียวกัน หากพิจารณาจะเห็นว่า ทหารได้กุมอำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีถึง 21 ปี ครึ่ง ซึ่งแสดงได้ดังนี้

     
    ภูมิหลัง
    ช่วงเวลาในการดำรงตำแหน่ง
    1. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
    2. พระยาพหลพยุหเสนา
    3. จอมพล ป. พิบูลสงคราม
    4. นายควง อภัยวงศ์
    5. นายทวี บุณยเกตุ
    6. หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
    7. นายปรีดี พนมยงค์
    8. พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
    พลเรือน
    ทหาร
    ทหาร
    พลเรือน
    พลเรือน
    พลเรือน
    พลเรือน
    ทหาร
    11 เดือน 23 วัน
    5 ปี 5 เดือน 23 วัน
    14 ปี 11 เดือน 11 วัน
    1 ปี 6 เดือน 17 วัน
    17 วัน
    10 เดือน 13 วัน
    4 เดือน 17 วัน
    1 ปี 2 เดือน 18 วัน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×