ลำดับตอนที่ #5
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : สมัยการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 - เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
ผลจาการเข้ามาของลัทธิล่าอาณานิคมและปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการปกครอง และความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงได้ทำการปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินในวันที่ 1 เมษายน 2435 หรือร.ศ.111 ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ คือ
§ ทรงปฏิรูปการปกครองโดยการกำหนดให้มีการปกครองส่วนกลาง มีการจัดตั้งกระทรวง ทบวงกรมและนำเอาระบบบริหาราชการแบบแบ่งแยกโครงสร้างอำนาจหน้าที่ (Structural Functionalism) มาใช้ในการบริหารประเทศ นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มีการปกครองส่วนภูมิภาค โดยทรงรวบรวมหัวเมืองให้เป็นหน่วยการปกครองใหม่เรียกว่า “มณฑล” และแบ่งส่วนความรับผิดชอบโดยแบ่งเป็นมณฑลเทศาภิบาล เมือง อำเภอตำบล หมู่บ้าน นอกจากนี้ยังทรงจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้น และเริ่มทดลองการกระจายอำนาจเป็นครั้งแรก ให้กับหน่วยการปกครองสุขาภิบาล
§ ทรงทำการปฏิรูปในด้านสังคมและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน เช่น การยกเลิกระบบไพร่ ทาส, การปรับปรุงด้านการศึกษา, การนำเอาวิทยาการต่าง ๆ มาปรับใช้ เช่น โทรเลข โทรศัพท์ รถไฟและการเปลี่ยนแปลงการแต่งกายการเข้าเฝ้า ซึ่งโดยรวมเรียกว่าเป็นกระบวนการพัฒนาให้เกิดความทันสมัยในด้านต่าง ๆ (Modernization) เพื่อแสดงให้เห็นว่าไทยเป็นอารายะประเทศ
หนึ่งในกระบวนการพัฒนาให้เกิดความทันสมัยที่สำคัญ ได้แก่ การที่พระราชวงศ์และขุนนางชั้นสูงได้เดินทางไปรับการศึกษายังต่างประเทศ ซึ่งเมื่อได้เดินทางกลับมาก็ได้นำเอาแนวคิดและอารยธรรมทางตะวันตก รวมทั้งแนวคิดทางด้านการเมืองการปกครองเข้ามาด้วยเช่นกัน ส่งผลให้เกิดแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกอันรวมไปถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แก้ปัญหาโดยทำการปลดข้าราชการให้มีจำนวนน้อยลงเพื่อการประหยัด ทำให้ข้าราชการโดยเฉพาะทหารไม่พอใจ
ต่อมาภายหลัง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปลดข้าราชการออกมากขึ้นรวมทั้งบรรดานายทหารชั้นนำก็ถูกลดขั้นเงินเดือน ซึ่งแนวคิดและปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติหรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่มบุคคลที่เรียกตนเองว่า “คณะราษฎร” ส่งผลให้ประเทศไทยได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากรูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นรูปแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในวันที่ 24 มิถุนายน 2475เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น