ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองของไทย

    ลำดับตอนที่ #2 : การเมืองการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893-2310)

    • อัปเดตล่าสุด 14 พ.ย. 53


    พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นช่วงของการ ก่อร่างสร้างเมืองทำให้ต้องมีผู้นำในการปกครองเพื่อรวมรวมอาณาจักรให้แผ่ขยาย มีการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องการค้าและศาสนา และในช่วงเวลานั้นมีการเผยแพร่ของลัทธิฮินดูและขอมเข้ามามีบทบาทในอาณาจักร ดังนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงได้รับวัฒนธรรมการปกครองแบบขอมและฮินดูเข้ามาใช้ เรียกการปกครองแบบนี้ว่า “การปกครองแบบเทวสิทธิ์” หรือ “สมมติเทพ” โดยมีหลักการสำคัญ คือ



                                       


    §     กษัตริย์เปรียบเสมือนเทพเจ้าที่มีอำนาจสูงสุด ทรงเป็นเจ้าชีวิต คือ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเหนือชีวิตของบุคคลที่อยู่ในสังคมทุกคน และทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน คือ ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินทั่วราชอาณาจักรและพระมหากษัตริย์จะทรงพระราชทานให้ใครก็ได้ตามอัธยาศัย
    §     การที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะเป็นสมมุติเทพ ตามคตินิยมของพราหมณ์ จึงต้องมีระเบียบพิธีการต่าง ๆ มากมายแม้แต่ภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ก็ได้บัญญัติขึ้นใช้เฉพาะกับพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่เราเรียกว่า “ราชาศัพท์”
    §     กษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาต้องเข้าพิธีปราบดาภิเษก ซึ่งถือว่าเป็นการขึ้นสู่ราชบัลลังก์โดยชอบธรรม ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงจำเป็นต้องมีกลุ่มหรือคณะบุคคลสนับสนุน และให้ประโยชน์ตอบแทนอันเป็นยศถาบรรดาศักดิ์หรือศักดินาแก่กลุ่มบุคคลดังกล่าว
    §     เกิดระบบทาสขึ้น หมายถึง บุคคลที่ใช้แรงงาน โดยทาสในสมัยกรุงศรีอยุธยาอนุญาตให้เสนาบดี ข้าราชบริพารและประชาชนที่ร่ำรวยมีทาสได้ และผู้ที่ใช้แรงงานเมื่อตกเป็นทาสก็ถือว่านายเงินเป็นเจ้าของ เจ้าของอาจซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือยกทาสให้ผู้อื่นได้ ดังนั้นจึงนำมาสู่การเกิดชนชั้นทางสังคม อาจกล่าวได้ว่าประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครองมีฐานะไม่เท่ากัน
     
    จากการที่อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ได้รับแนวคิดทางการเมืองการปกครองจากเขมรมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการปกครองและในด้านสังคมไม่ว่าจะเป็น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราชหรือเทวดาโดยสมมุติ, การเกิดระบบศักดินาขึ้นครั้งแรกในสังคมไทย, การเกิดการปกครองแบบนายกับบ่าว, มีการแบ่งชั้นทางสังคมชัดเจน

    นอกจากนี้ในสมัยอยุธยายังต้องทำศึกสงครามเกือบตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง มีการเกณฑ์ไพร่พลเพื่อป้องกันประเทศ จึงเกิดระบบไพร่และมูลนายด้วยเช่นกัน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×