ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย (พ.ศ.1800-1921)
ในสมัยนี้มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือราชาธิปไตย ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองและทรงใช้อำนาจนี้ในการออกกฎหมายเรียกว่าอำนาจนิติบัญญัติ ทรงบริหารกิจการบ้านเมืองเรียกอำนาจนี้ว่า อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน และทรงพิจารณาอรรถคดีทรงพิพากษาและตัดสินคดีความต่าง ๆ ทุกวันธรรมะสาวนะด้วยพระองค์เอง เรียกอำนาจนี้ว่าอำนาจตุลาการ จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนี้เพียงพระองค์เดียว และทรงใช้อำนาจบนพื้นฐานของหลักธรรมประชาชนอยู่ร่มเย็นเป็นสุข
ในสมัยอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะการปกครองโดยใช้คตินิยมในการปกครองแบบครอบครัวหรือ “พ่อปกครองลูก” มาเป็นหลักในการบริหารประเทศ โดยในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก ประชาชนต่างก็เรียกพระมหากษัตริย์ว่า “พ่อขุน” ซึ่งมีลักษณะเด่นที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
§ พ่อขุนเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย โดยปกครองประชาชนบนพื้นฐานของความรัก ความเมตตาประดุจบิดาพึงมีต่อบุตร บางตำราอธิบายว่าเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกหรือแบบ “ปิตุราชาประชาธิปไตย”
§ พ่อขุนอยู่ในฐานะผู้ปกครองและประมุขของประเทศที่มีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว
§ ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตพอสมควร ดังจะเห็นได้จากศิลาจารึกอธิบายว่า
“......ใครใคร่ค้า ค้า เอาม้ามาค้าเอาข้าวมาขาย....” อาจกล่าวได้ว่าผู้ปกครองและผู้อยู่ภายใต้การปกครองมีฐานะเป็นมนุษย์เหมือนกัน
“......ใครใคร่ค้า ค้า เอาม้ามาค้าเอาข้าวมาขาย....” อาจกล่าวได้ว่าผู้ปกครองและผู้อยู่ภายใต้การปกครองมีฐานะเป็นมนุษย์เหมือนกัน
§ รูปแบบการปกครองเป็นไปแบบเรียบง่ายไม่มีพิธีอะไรมากมายนัก ไม่มีสถาบันการเมืองการปกครองที่สลับซับซ้อนมาก
§ มีการพิจารณาคดีโดยใช้หลักประกันความยุติธรรม เช่น เมื่อพลเมืองผิดใจเป็นความกันจะมีการสอบสวนจนแน่ชัดจึงตัดสินโดยยุติธรรม ในศิลาจารึกเขียนไว้ว่า “ลูกเจ้าลูกขุนแลผิดแผกแสกกว้างกัน สวนดูแท้แลจึ่งแล่งความแก่ข้าด้วย ซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน....”
นอกจากจะทรงวางรากฐานทางการปกครองแล้วในสมัยสุโขทัยยังทรงประดิษฐ์อักษรไทยเปิดโอกาสให้คนได้เรียนรู้ภาษา รู้ธรรมและกษัตริย์บางพระองค์ ก็ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์แบบธรรมราชา การปกครองจึงมีรูปแบบธรรมราชาด้วย ซึ่งมีหลักการ คือ ความเชื่อที่ว่าพระราชอำนาจของกษัตริย์จะต้องถูกกำกับด้วยหลักธรรมะ ประชาชนจึงจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อสิ้นพระชนม์ก็จะได้ไปสู่สวรรค์จึงเรียกว่า สวรรคต หลักธรรมสำคัญที่กำกับพระราชจริยวัตร คือ ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น