ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อโลกปัจจุบัน

    ลำดับตอนที่ #3 : วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์

    • อัปเดตล่าสุด 5 พ.ย. 52


    เศรษฐกิจโลกปี 2008 นั้น หลังจากผู้คนต้องชุลมุนวุ่นวายอยู่กับปัญหาเงินเฟ้อในอัตราสูง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ราคาน้ำมันดิบ และสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งอาหาร ได้พุ่งทะยานขึ้นไปอย่างมากมาย ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่สองเรื่อยมา เพิ่งจะคลี่คลายลงไปบ้างเมื่อเดือนสิงหาคม 2008 แต่ก็มีหายนภัยอันใหญ่หลวงมาจ่อคิวต่อทันทีเมื่อกลางเดือนกันยายน นั่นคือการปะทุขึ้นของปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในตลาดเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย (Subprime Mortgage Crisis) ของสหรัฐฯ ที่ส่งผลให้สถาบันการเงินขนาดยักษ์หลายแห่ง ประสบปัญหาขาดทุนและขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จนต้องปิดกิจการหรือตกอยู่ในฐานะง่อนแง่น ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายมหาศาลแก่ผู้ที่ เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 

    วิกฤตครั้งนี้ที่มักเรียกขานกันทั่วไปว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) และมีผู้กล่าวว่าเปรียบเสมือน สึนามิการเงินโลกนั้น ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2008 หลังจาก  เลห์แมน บราเธอส์ (Lehman Brothers) วาณิชธนกิจอันดับ 4 ของโลก ประกาศล้มละลายเพียง 2 วัน และธนาคารกลางของสหรัฐฯ ต้องเข้าไปปล่อยกู้อย่างเร่งด่วน ให้กับบริษัทประกันภัยรายใหญ่ที่สุดของโลกคือ อเมริกา อินเตอร์เนชันแนล กรุ๊ป (America International Group - AIG) ด้วยวงเงิน 8.5 ล้านดอลลาร์ (ซึ่งต่อมารัฐบาลสหรัฐฯได้แถลงว่า จะเพิ่มวงเงินช่วยเหลือขึ้นเป็น 1.5 แสนล้านดอลล่าร์) สิ่งที่เกิดขึ้นกับ Lehman Brothers และ AIG ได้นำไปสู่ความผันผวนในตลาดการเงินทั่วโลกอย่างรุนแรงโดยฉับพลัน ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกได้ตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่สภาพคล่องของโลกก็หดตัว อย่างรุนแรง ทำให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆทั้ง 4 ทวีป ต้องเร่งอัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปในระบบ ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ก็ผันผวนอย่างหนัก ผลกระทบเหล่านี้ทำให้เกิดความหวั่นวิตกว่า โลกจะก้าวไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าเมื่อปลายศตวรรษ 1930 (The Great Depression) ซึ่งยังเป็นที่จดจำกันมาถึงทุกวันนี้ จนนายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางของสหรัฐฯ ก็ยังออกปากว่าวิกฤตครั้งนี้เปรียบเสมือนสึนามิทางการเงิน ซึ่งเลวร้ายที่สุดในรอบศตวรรษทีเดียว

    สาเหตุของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์

    จุดเริ่มต้นของวิกฤตทางการเงินในสหรัฐฯครั้งนี้ มาจากการที่ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์จากการปั่นราคาแตกออก เนื่องจากไม่มีใครมาซื้ออสังหาริมทรัพย์ ในราคาซึ่งสูงกว่าที่ได้ซื้อกันเอาไว้อีกต่อไป ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการไม่ชำระหนี้เงินกู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามสัญญา และลุกลามไปสู่ภาคการ เงินในที่สุด ชนวนเหตุของวิกฤตคราวนี้ เริ่มต้นจากการที่องค์กรเกี่ยวกับการจำนองอสังหาริมทรัพย์ขนาดยักษ์ของสหรัฐฯ 2 แห่ง ที่ให้เงินกู้และค้ำประกันเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของประชาชนทั่วไปคือ The Federal Home Loan Mortgage Corporation - FHLMC หรือที่ได้ตั้งชื่อให้เรียกกันง่ายๆว่า Freddie Mac และ The Federal National Mortgage Association - FNMA หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Fannie Mae ต้องประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนักเมื่อกลางปี 2008 เนื่องจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก ราคาบ้านได้ลดลงเป็นอันมาก เมื่อผู้กู้ไม่มีเงินผ่อนบ้าน หรือมีเจตนาที่จะไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ก็ทำให้มีบ้านที่ถูกยึดจำนวนมากมายไหลบ่าเข้ามาในตลาด ซึ่งก็ยิ่งซ้ำเติมให้ราคาตกต่ำลงไปอีก เนื่องจากสถาบันทั้งสองนี้ได้ร่วมกันปล่อยและค้ำประกันหนี้อสังหาริมทรัพย์ไป รวมทั้งสิ้นถึงราว 12 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (GDP ของประเทศไทยมีมูลค่าเพียง 1 ใน 4 ของ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯเท่านั้น) จึงเป็นปัญหาที่ใหญ่โตและจะก่อความเสียหายได้อย่างมโหฬาร    

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×