ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อโลกปัจจุบัน

    ลำดับตอนที่ #1 : ไข้หวัดใหญ่ 2009

    • อัปเดตล่าสุด 5 พ.ย. 52


    ไข้หวัดใหญ่ที่กำลังระบาดตามข่าวอยู่ในขณะนี้คือโรคอะไร

    โรคที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน ไม่พบว่ามีการติดต่อมาจากสุกร เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ เอช1 เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบทั้งในสุกรและในคน เป็นเชื้อที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ซึ่งมีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่คน ไข้หวัดใหญ่สุกร และไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีกด้วย เริ่มพบการระบาดที่ประเทศเม็กซิโก และแพร่ไปกับผู้เดินทางไปในอีกหลายประเทศ ระยะแรก กระทรวงสาธารณสุขใช้ชื่อโรคนี้ว่าโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกและเมื่อองค์การอนามัยโลกได้ประกาศชื่อเป็น ทางการเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1” และใช้ชื่อย่อว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”

    เชื้อสาเหตุ
          เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่ ที่ไม่เคยพบมาก่อน เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน สุกร และนก ดร.แนนซี่ ค็อกซ์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยไข้หวัดใหญ่ ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐ กล่าวว่า ไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ชนิด A H1N1 นี้ มีลักษณะพันธุกรรมหรือยีน ที่ประกอบด้วยเชื้อไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์รวมอยู่ด้วยกัน ได้แก่ เชื้อไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ เชื้อไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ และ เชื้อไข้หวัดหมูที่พบบ่อยในทวีปยุโรปและเอเชีย โดยสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เชื้อไข้หวัดพันธุ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือ Antigenetic Shift โดยมีหมูที่เป็นพาหะนำโรค โดยการถูกเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ไข้หวัดหมู และไข้หวัดใหญ่ เข้าไปอยู่ในตัว ต่อมาเซลล์ในตัวหมูถูกไวรัสตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปโจมตี ทำให้หน่วยพันธุกรรมไวรัสดังกล่าวผสมปนเปกันระหว่างการแบ่งตัว กลายเป็นเชื้อพันธุ์ใหม่ขึ้นมา   

          ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับ ไข้หวัดนกที่เคยแพร่ระบาดในอดีต ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อจากสัตว์ปีกสู่คนได้นั้น จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผู้ได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ มีอัตราเสียชีวิตร้อยละ

    5-7 ซึ่งถือว่ายังน้อยกว่าอัตราของผู้เสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก

     

     

     

    โอกาสในการรับเชื้อ ไข้หวัด 2009

    การกระจายและการติดเชื้อของเชื้อไข้หวัด 2009มี 2 ทาง คือ ทางแรก เกิดจาการสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ หรือการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อไข้หวัด 2009  ทางที่สอง การเกิดจากสัมผัสระหว่างคนกับคนที่ติดเชื้อ การกระจายและติดเชื้อระหว่างคนสู่คนนั้นได้มีการมีบันทึกไว้ และ ถูกคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูที่มีไข้หวัดระบาด (Seasonal flu) สาเหตุให้ที่จะทำให้เชื้อแพร่กระจายจากคนสู่คนถือการไอ  หรือจามของผู้ติดเชื้อ

    การแพร่ติดต่อ
          เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ โดยการไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก

    ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย ช่วง 3 วันแรกจะแพร่เชื้อได้มากสุด และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน

    อาการของไข้หวัด 2009

    ในคนนั้นมีอาการคล้ายกันกับอาการของคนที่เป็นหวัดปกติ และมีอาการต่อไปนี้คือ มีไข้ ท้องเสีย เจ็บคอ  ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศรีษะ หนาว และ ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนล้า ร่วมด้วย ในบางคนมีอาการท้องเสียร่วมกับอาเจียน และในอดีตมีรายงานว่าผู้ป่วยหลายคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นปอดบวม และ ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด เช่นเดียวกันกับหวัด ที่ไข้หวัด 2009อาจจะแย่ลงจนต้องมีสภาพการเรื้อรัง

    ผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัด 2009 ควรได้รับการพิจารณาถึงศักยภาพในการติดเชื้อ ไข้หวัด 2009 ระยะเวลาความยาวนานของการฟักเชื้อจนมีอาการ  และความเป็นไปได้ของอาการป่วยที่ยาวนานถึง 7 วัน เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจได้รับเชื้อเป็นเวลานาน

    สัญญานเตือนภัย ไข้หวัด 2009 ที่จะบ่งบอกถึงการต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนที่ต้องสังเกตมีดังนี้ ในเด็ก หากเด็กมีอาการหายใจเร็ว หรือหายใจลำบาก  ผิวหนังเป็นจ้ำสีน้ำเงิน ดื่มน้ำน้อยไม่เพียงพอ ปลุกไม่ตื่น หรือไม่มีอาการตอบสนอง  มีอาการงอแงไม่ยอมให้อุ้ม  มีไข้เฉียบพลัน หรือมีอาหารหวัด ไออย่างรุนแรง  หากมีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องรีบเข้ารับการรักษาทันที ในผู้ใหญ่ สัญญานเตือนภัยที่จะต้องรีบรักษาเช่นกันคือ อาการหายใจลำบาก หรือหายใจถี่ เจ็บ แน่นหน้าอกหรือช่องท้อง วิงเวียน หน้ามืด  และอาเจียนอย่างรุนแรง หรืออาเจียนเป็นเลือด  หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วน

     

     

     

    ข้อควรระวัง

    - ผู้ติดเชื้อมีภูมิต้านทานอ่อนแอ ได้แก่ เด็ก คนชรา และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น จะมีผลกระทบต่อร่างกายมากกว่าคนธรรมดา ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้นควรพบแพทย์เมื่อรู้สึกเป็นไข้ภายใน 2 วัน

    - กรณีที่มีอาการรุนแรง เกิดจากมีการอักเสบที่ปอด จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

    - เด็กเล็กที่มีผู้ปกครองอาจได้รับทราบอาการป่วยช้า เนื่องจากเด็กไม่ได้บอกให้ทราบ

    การรักษา   

    ยาต้านไวรัส ซึ่งใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 นี้ได้ผล คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน และยา zanamivir เป็นยาชนิดพ่น แต่ผลการตรวจเชื้อไวรัสนี้ ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าเชื้อนี้ ดื้อต่อยาต้านไวรัส amantadine และ rimantadine

          ยาต้านไวรัส oseltamivir จะให้ผลรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้ดีที่สุด ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซล  ทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี
          ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำ ๆ และยังรับประทานอาหารได้ อาจไปพบแพทย์ที่คลินิก หรือขอรับยาและคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษากันเองที่บ้าน โดย
    - รับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ เป็นต้น และเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะด้วยน้ำสะอาดไม่เย็น
    - ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็น
    - พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มากพอเพียง เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น หากรับประทานอาหารได้น้อย อาจต้องได้รับวิตามินเสริม
    - นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี
    - ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้องรับประทานยาจนหมดตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา

    การป้องกันรักษา

    คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป

    1.      ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ

    2. ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น

    3. ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด

    4. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ดื่มน้ำมากๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    5. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานาน โดยไม่จำเป็น

    6. ติดตามคำแนะนำอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด

     คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่

    1. หากมีอาการป่วยไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูง ไม่ซึม และรับประทานอาหารได้ สามารถรักษาตามอาการด้วยตนเองที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ควรใช้พาราเซตามอลเพื่อลดไข้ (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆ

    2. ควรหยุดเรียน หยุดงาน จนกว่าจะหายเป็นปกติ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น

    3. สวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องอยู่กับผู้อื่น หรือใช้กระดาษทิชชู ผ้าเช็ดหน้า ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม

    4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ โดยเฉพาะหลังการไอ จาม

    5. หากมีอาการรุนแรง เช่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียนมาก ซึม ควรรีบไปพบแพทย์

    คำแนะนำสำหรับสถานศึกษา

    1. แนะนำให้นักเรียนที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ พักรักษาตัวที่บ้านหรือหอพัก หากมีอาการป่วยรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์

    2. ตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่ขาดเรียนในแต่ละวัน หากพบขาดเรียนผิดปกติ หรือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปในห้องเรียนเดียวกัน และสงสัยว่าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค

    3. แนะนำให้นักเรียนที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ เฝ้าสังเกตอาการของตนเองเป็นเวลา 7 วัน ถ้ามีอาการป่วยให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน

    4. หากสถานศึกษาสามารถให้นักเรียนที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ทุกคนหยุดเรียนได้ ก็จะป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ดี และไม่จำเป็นต้องปิดสถานศึกษา แต่หากจะพิจารณาปิดสถานศึกษา ควรหารือร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่

    5. ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น โต๊ะเรียน ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ราวบันได คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการใช้น้ำผงซักฟอกเช็ดทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1 - 2 ครั้ง จัดให้มีอ่างล้างมือ น้ำและสบู่อย่างเพียงพอ ในบางวันควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องได้ทั่วถึง

    คำแนะนำสำหรับสถานประกอบการและสถานที่ทำงาน 

    1. แนะนำให้พนักงานที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ พักรักษาตัวที่บ้าน หากมีอาการป่วยรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ 

    2. ตรวจสอบจำนวนพนักงานที่ขาดงานในแต่ละวัน หากพบขาดงานผิดปกติ หรือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปในแผนกเดียวกัน และสงสัยว่าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค

    3. แนะนำให้พนักงานที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ เฝ้าสังเกตอาการของตนเองเป็นเวลา 7 วัน ถ้ามีอาการป่วยให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน

    4. ในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่แนะนำให้ปิดสถานประกอบการหรือสถานที่ทำงาน เพื่อการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่

    5. ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้ ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น โต๊ะทำงาน ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ราวบันได คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการใช้น้ำผงซักฟอกทั่วไปเช็ดทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1 - 2 ครั้ง จัดให้มีอ่างล้างมือ น้ำและสบู่อย่างเพียงพอ ในบางวันควรเปิดประตู หน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องได้ทั่วถึง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×