สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations)
คำขวัญ
"One Vision, One Identity, One Community"
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)
สัญลักษณ์อาเซียน
ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกันไว้
หมายถึง
ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกัน
เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สีขาว หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
ประเทศสมาชิก
อาเซียนเริ่มก่อตั้งครั้งแรก : ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย
ปัจจุบันอาเซียน : ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่
1. บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน"เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มี
ขนาดไม่ใหญ่มากนัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็น
ภาษาราชการ
2. ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035
ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80%
อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส
และเวียดนามได้
3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมาก
ถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia
เป็นภาษาราชการ
4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)
เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย
คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม
โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่
นับถือศาสนาพุทธ
5. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวัน
ออกตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนา
ประจำชาติใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ
6. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร
92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
เป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ
7. สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)
เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการ
พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษ
เป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)
8. ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน
(ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ
9. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)
เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน
ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์
ปัจจุบันปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
10. สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร
ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
เรื่องต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียน
ชุดประจำชาติในประเทศอาเซียน
1. ประเทศบรูไน
สำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนของชุดผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรัง (Baja Kurung) คล้ายกับ
ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกาย
ตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงหัวเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง
2. ประเทศกัมพูชา
ซัมปอต (Sampot) เป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศกัมพูชา สำหรับชุดผู้หญิง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่ง
ของประเทศลาวและไทย มีหลายหลายรูปแบบ สำหรับผู้ชายนั้นมักสวมใส่เสื้อที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายทั้งแขนสั้นและแขนยาว
พร้อมทั้งสวมกางเกงขายาว
3. ประเทศอินโดนีเซีย
เคบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาวผ่าหน้า กลัดกระดุม
ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติกสำหรับการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อ
แบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาว และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด
4. ประเทศลาว
ผู้หญิงลาวจะนุ่งผ้าซิ่น และเสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากลหรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอก
กระดุกเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย
5. ประเทศมาเลเซีย
สำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Beju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม
ผ้าฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย สำหรับชุดของผู้หญิง เรียนกว่า บาจูกุรุง (Baja Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว
และกระโปรงยาว
6. ประเทศฟิลิปปินส์
ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารองตากาล็อก ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขน
เสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก
7. ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย
และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมี
สีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนขาว คอจีน เสื้อผ้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบ
หรือผ้าแพรจีนก็ได้
8. ประเทศไทย
สำหรับชุดผู้หญิงคือ ชุดไทยจักรี เป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัวซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้
เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหาก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบ
คลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควรความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวยใช้เครื่องประดับได้งดงาม
สมโอกาสในเวลาค่ำคืน สำหรับชุดผู้ชายคือ ใส่เสื้อพระราชทาน
9. ประเทศเวียดนาม
อ่าวหญ่าย เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขาวยาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวม
ใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศมีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม
ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าหญ่ายในพิธีแต่งานหรือพิธีศพ
10. ประเทศพม่า
ลองยี เป็นชุดแต่งกายประจำชาติของประเทศพม่า โดยมีการออกแบบในรูปทรงกระบอก มีความยาวจากเอวจรดปลายเท้า การสวมใส่ใช้
วิธีการขมวดผ้าเข้าด้วยกันโดยไม่มัดหรือพับขึ้นมาถึงหัวเข่าเพื่อความสะดวกในการสวมใส่
อาหารในประเทศอาเซียน
1. ประเทศไทย : ต้มยำกุ้ง
2. ประเทศพม่า : หล่าเพ็ด
3. ประเทศสิงคโปร์ : ลักสา
4. ประเทศฟิลิปปินส์ : อโดโบ้
5. ประเทศเวียดนาม : ปอเปี๊ยะเวียดนาม
6. ประเทศมาเลเซีย : นาซิ เลอมัก
7. ประเทศลาว : ซุปไก่
8. ประเทศอินโดนีเซีย : กาโด กาโด
9. ประเทศกัมพูชา : อาม็อก
10. ประเทศบูไน : อัมบูยัต
ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคง
ของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่าง
สมบูรณ์ภายใต้คำขวัญคือ "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่
3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)
โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015)
เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบ
แก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ
เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวก
ในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศ
อาเซียน โดย
- มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อม
ล้ำทางสังคมภายในปี 2020
- ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
- ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทาง
เศรษฐกิจของอาเซียน
- ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้าง
พิ้นฐาน และการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการ
ศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /
อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่
เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการโดยผ่อนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้าน
ท่องเที่ยว และการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกัน
ภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพใน
การเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา
ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของ
การพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อน
ประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์
หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น