ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Nb1 :)

    ลำดับตอนที่ #26 : พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.33K
      10
      31 ส.ค. 56

    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

     

                พระบรมนามาภิไธย พ่อขุนบางกลางหาว (เจ้าเมืองบางยาง) 
                พระปรมาภิไธย กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์
                ราชวงศ์ ราชวงศ์พระร่วง
                ระยะครองราชย์ ไม่ทราบ
                พระมเหสี พระนางเสือง
                พระราชโอรส/ธิดา มีพระราชโอรสและพระธิดารวม 5 พระองค์

                พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม พ่อขุนบางกลางท่าว ทรงเป็นปฐมวงศ์ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. 1792 (คำนวณศักราชจากคัมภีร์สุริยยาตรตามข้อเสนอของ ศ. ประเสริฐ ณ นครและ พ.อ.พิเศษ เอื้อน มณเฑียรทอง) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสวรรคตหรือสิ้นสุดการครองราชสมบัติปีใด 
                พระนาม
                1.บางกลางหาว
                2.ศรีอินทราทิตย์
                3.อรุณราช
                4.ไสยรังคราช หรือสุรังคราช หรือไสยนรงคราช หรือรังคราช
                5.พระร่วง หรือโรจนราช
                สำหรับพระนามแรก คือ พ่อขุนบางกลางหาวนั้น เป็นพระนามดั้งเดิมเมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองบางยาง พระนามนี้ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระนามสมัยเป็นเจ้าเมืองบางยางโดยแท้จริง
                พระนามที่สองนั้น เป็นพระนามที่ใช้กันทางราชการ เป็นพระนามที่เชื่อกันว่าทรงใช้เมื่อราชาภิเษกแล้ว คำว่าศรีอินทราทิตย์นั้น ไมมีปัญหา เพราะมีบ่งอยู่ในศิลาจารึก แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ คำที่นำหน้า คำว่า "ศรีอินทราทิตย์" เพราะเรียกแตกต่างกันไปว่า ขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พระเจ้าศรีอินทราทิตย์บ้าง และบางทีก็เรียกพระเจ้าขุนศรีอินทราทิตย์

              พระนางเสือง
                นางเสือง หรือที่ชาวสุโขทัยนิยมเรียกว่า พระแม่ย่า คือพระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นพระมารดาของพ่อขุนบาลเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตามที่ศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้กล่าวไว้ว่า “...เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎี พิหาร ปู่ครู มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว มีป่าลาง มีป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุงผี เทพดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขไทนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มเกรงเมืองนี้หาย...
                คำว่า "พระขพุงผี" แปลว่าผีที่เป็นใหญ่กว่าผีทั้งหลาย ซึ่งมีการตีความว่าเป็น ผีพระแม่ย่า หรือ นางเสืองนั่นเอง
                สาเหตุที่เรียกว่า "พระแม่ย่า" เนื่องจากคนสมัยก่อนนับถือกษัตริย์ว่าเป็นพ่อ ดังนั้นแม่ของพ่อ(กษัตริย์)จึงเรียกว่า ย่า แปลโดยรวมว่า ย่าผู้เป็นแม่ของพระมหากษัตริย์
                ต่อมามีการค้นพบเทวรูปที่สันนิษฐานว่าเป็นรูปสลักนางเสืองอยู่ที่ถ้ำพระแม่ย่าบนเขาพระแม่ย่า ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง และนำมาประดิษฐานไว้ที่ศาลพระแม่ย่าที่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัยจวบจนปัจจุบันนี้
                ของที่นิยมนำมาถวายแก้บนเทวรูปพระแม่ย่าคือ ขนมหม้อแกง
                ทางจังหวัดจะมีการจัดงานสักการะพระแม่ย่าพร้อมกับงานกาชาดราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ทุกๆ ปี
                ปัจจุบันมีการนำลักษณะเครื่องแต่งกายของเทวรูปพระแม่ย่าไปประยุกต์เป็นชุดของนางระบำในระบำสุโขทัย

                ประวัติกรุงสุโขทัย
                กรุงสุโขทัยได้ถือกำเนิดขึ้นโดยได้มีผู้นำคนไทย ๒ คน คือ พ่อขุนบางกลางท่าว และ พ่อขุนผาเมือง ได้นำคนไทยเข้าต่อสู้กับขอมหลังจากที่คนไทยได้ถูกขอมครองเอาไว้ จนในที่สุดขอมก็ได้ยอมแพ้ และพ่อขุนบางกลางท่าวก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ มีพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และได้ตั้งกรุงสุโขทัยขึ้น นับตั้งแต่นั้นมา พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ท่านได้สร้างความแข็งแกร่งให้กับกรุงสุโขทัยโดยการรวบรวมอาณาจักรต่างๆ เข้ามารวมกันเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นอาณาจักรสุโขทัย 
                ในช่วงที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองราชย์อยู่นั้น ท่านก็ได้ใช้ระบบการปกครองแบบ พ่อปกครองลูก จนทำให้อาณาจักรสุโขทัยมีความรุ่งเรืองมากขึ้น
                พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เริ่มครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 1792 ในระยะเริ่มต้นอาณาจักร ในสมัยนั้นมีอาณาเขตไม่กว้างขวางนักเมื่ออาณาจักรสุโขทัยได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอิสระจากขอม เจ้าเมืองต่างๆในดินแดนใกล้เคียงจึงอ่อนน้อมรวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัย แต่เจ้าเมืองบางเมืองคิดว่าตนมีอำนาจเข้มแข็งพอ ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อกรุงสุโขทัย จึงมีการทำสงครามขึ้น ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพมาตีเมืองตากซึ่งเป็นเมืองในอาณาเขตของสุโขทัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกทัพไปปราบเจ้าเมืองฉอด เกิดสงครามครั้งสำคัญขึ้น ในการรบครั้งนี้พระราชโอรสองค์เล็ก มีอายุ 19 ปี เข้าชนช้างกับเจ้าเมืองฉอดจนได้รับชัยชนะ ทำให้กองทัพเมืองฉอดแตกพ่ายไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงประทานนามพระราชโอรสว่า พระรามคำแหง 
    พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ปกครองประชาชนในฐานะบิดากับบุตร ทั้งบิดาและบุตรมีหน้าที่เป็นทหารป้องกันประเทศในยามสงคราม แต่ยามสงบพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในการบริหาร
    ราชการแผ่นดิน ด้วยการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร

                พระราชกรณียกิจ
                พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลาวหาวได้ร่วมกับ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม รวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลาวหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม
                ภายหลังได้กลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ โดยคำว่า "บดินทร" หายออกไป เชื่อกันว่าเพื่อเป็นการแสดงว่ามิได้ เป็น บดีแห่งอินทรปัต คืออยู่ภายใต้อิทธิพลของเขมร (เมืองอินทรปัต) อีกต่อไป การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ราชวงศ์พระร่วงเข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสรลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถุมอยู่
                ในกลางรัชสมัย ทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้างกับขุนสามชน แต่ช้างทรงพระองค์ ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า "หนีญญ่ายพ่ายจแจ" ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระปรีชาสามารถ ได้ชนช้างชนะขุนสามชน ภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่ารามคำแหง
                ในยุคประวัติศาสตร์ชาตินิยม มีคติหนึ่งที่เชื่อกันว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำชนชาติไทย ต่อสู้กับอิทธิพลขอมในสุวรรณภูมิ ทรงได้ชัยชนะและประกาศอิสรภาพตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ภายหลัง คติดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะพระองค์ไม่ได้เป็นปฐมกษัตริย์ และไม่ได้เป็นผู้สถาปนารัฐสุโขทัย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×