ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Nb1 :)

    ลำดับตอนที่ #42 : ขุนอุปถัมภ์นรากร (พุ่ม เทวา)

    • อัปเดตล่าสุด 27 เม.ย. 57


    ขุนอุปถัมภ์นรากร (พุ่ม เทวา)

                ประวัติ          
                ขุนอุปถัมภ์นรากร มีนามเดิมว่า พุ่ม ช่วยพูลเงิน เป็นบุตรนายเงิน และนางชุ่ม ช่วยพูลเงิน เกิดที่บ้านชะมวง หมู่ที่ ๒ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เมื่อพ.ศ. ๒๔๓๔ เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ รวมอายุได้ ๙๓ ปี

                ผลงาน
                ขุนอุปถัมภ์นรากรได้ศึกษาและฝึกรำโนรากับครูหลายท่าน จนมีความชำนาญ ประชาชนนิยมชมชอบกันมากจนได้สมญาว่า "พุ่มเทวา" และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนอุปถัมภ์นรากร"
                ขุนอุปถัมภ์นรากร เป็นผู้มีความตั้งใจในการส่งเสริมและอนุรักษ์โนรา ศิลปะพื้นเมืองของภาคใต้ จึงอบรมสั่งสอน ถ่ายทอดศิลปะการร่ายรำมโนราห์ นับได้ว่าท่านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟู  ส่งเสริม  ถ่ายทอด  อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ไว้ให้คงอยู่

                เกียรติคุณที่ได้รับ
                ๑. ปริญญาครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสภาการฝึกหัดครู ปีการศึกษา ๒๕๒๔
                ๒. โล่เกียรติคุณผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านศิลปการแสดงโนรา จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๓

     ประวัติ

              ขุนอุปถัมภ์นรากร  มีนามเดิมว่า  พุ่ม  ช่วยพูลเงิน เป็นบุตรนายเงิน และนางชุ่ม ช่วยพูลเงิน เกิดที่บ้านชะมวง หมู่ที่ ๒ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ รวมอายุได้ ๙๓ ปี

    ผลงาน
              ขุนอุปถัมภ์นรากร  ได้รับการศึกษาชั้นต้นกับพระครูกาเดิม (หนู) วัดวิหารเบิก ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง ต่อมาได้ศึกษาและฝึกรำโนรากับนายชม ที่ตำบลป่าพะยอม อำเภอควนขนุน อยู่ ๒ ปี แล้วได้ไปศึกษารำโนราต่อกับนายไข่โก บ้านไม้เสียบ  อำเภอชะอวด  จังหวัดนครศรีธรรมราช    ปี  จนมีความชำนาญ รำได้สวย อ่อนช้อย  ประชาชนนิยมชมชอบกันมากจนได้สมญาว่า "พุ่มเทวา" โนราพุ่มเทวา เป็นที่รักของผู้คบหาสมาคมทั่วไป เพราะเป็นบุคคลที่เรียบร้อย สุภาพอ่อนโยน และประพฤติตนอย่างเคร่งครัด
               
    ขุนอุปถัมภ์นรากรได้ออกรำโนราไปทั่วทุกเมืองในภาคใต้  ตลอดถึงแดนมาเลเซีย  เมื่ออายุ ๒๕ ปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นกำนันตำบลชะมวง อำเภอควนขนุนได้ปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นอย่างดี จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น"ขุนอุปถัมภ์นรากร"ถือศักดินา  ๔๐๐ ไร่ ใน พ.ศ.๒๔๗๓ ต่อมาในปี ๒๔๘๕ ได้ลาออกจากตำแหน่งกำนัน เพื่อประกอบอาชีพส่วนตัว แต่ก็ยังบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อส่วนรวมอยู่เสมอ จนในปี ๒๔๙๗ ได้รับเลือกเป็นคนขยันของชาติ ได้รับแหวนทองคำจารึก "คนขยันของชาติ"

                ขุนอุปถัมภ์นรากร เป็นผู้มีความตั้งใจบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมและอนุรักษ์ "โนรา" ศิลปะพื้นเมืองของภาคใต้ จึงอบรมสั่งสอน ถ่ายทอดศิลปะการร่ายรำโนราให้แก่ศิษย์ในสถาบันต่างๆ  ในภาคใต้  นับได้ว่าท่านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟู  ส่งเสริม  ถ่ายทอด  อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ไว้ให้คงอยู่ และได้เผยแพร่ไปถึงต่างประเทศด้วย

    เกียรติคุณที่ได้รับ

              ๑. ปริญญาครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสภาการฝึกหัดครู ปีการศึกษา ๒๕๒๔
              ๒. โล่เกียรติคุณผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านศิลปการแสดงโนรา จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๓

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×