ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Nb1 :)

    ลำดับตอนที่ #23 : การเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (รุ้งกินน้ำ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า)

    • อัปเดตล่าสุด 24 พ.ค. 56


    การเกิดปรากฏการณ์

    ทางธรรมชาติ

     

    รุ้งกินน้ำ

    รุ้งกินน้ำ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังจากฝนตก โดยเกิดขึ้นจากแสงแดดส่องผ่านละอองน้ำในอากาศ ทำให้แสงสีต่าง ๆ เกิดการหักเหขึ้น จึงเห็นเป็นแถบสีต่าง ๆ ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า รุ้งปฐมภูมิจะประกอบด้วยสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลืองแสด และแดง โดยมีสีม่วงอยู่ชั้นในสุดและสีแดงอยู่ชั้นนอกสุด ส่วนรุ้งทุติยภูมิจะมีสีเช่นเดียวกันแต่เรียงลำดับในทิศทางตรงกันข้าม

    เราสามารถมองเห็นรุ้งกินน้ำได้เมื่อมีละอองน้ำในอากาศและมีแสงอาทิตย์ส่องมาจากด้านหลังของผู้สังเกตการณ์ในมุมที่สูงจากพื้นไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่รุ้งกินน้ำจะปรากฏให้เห็นชัดเจนเมื่อท้องฟ้าส่วนมากค่อนข้างมืดครึ้มด้วยเมฆฝน ส่วนผู้สังเกตการณ์อยู่ในที่พื้นที่สว่างซึ่งมีแสงส่องจากดวงอาทิตย์ จะทำให้มองเห็นรุ้งกินน้ำพาดผ่านฉากหลังสีเข้ม

    ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำยังอาจพบเห็นได้ในบริเวณใกล้กับน้ำตกและน้ำพุ หรืออาจสร้างขึ้นเองได้โดยการพ่นละอองน้ำไปในอากาศกลางแสงแดด รุ้งกินน้ำยังอาจเกิดจากแสงอื่นนอกจากแสงอาทิตย์ ในคืนที่แสงจันทร์มีความสว่างมากๆ อาจทำให้เกิดรุ้งกินน้ำก็ได้ เรียกว่า moonbow แต่ภาพรุ้งที่เกิดขึ้นจะค่อนข้างจางมองเห็นได้ไม่ชัด และมักมองเห็นเป็นสีขาวมากกว่าจะเห็นเป็นเจ็ดสี

    การถ่ายภาพวงโค้งสมบูรณ์ของรุ้งกินน้ำทำได้ยาก เพราะจำเป็นต้องกระทำในมุมมองประมาณ 84° ถ้าใช้กล้องถ่ายภาพแบบปกติ (35 mm) จะต้องใช้เลนส์ขนาดความยาว 19 mm หรือเลนส์ไวด์แองเกิลจึงจะใช้ได้ ถ้าผู้สังเกตการณ์อยู่บนเครื่องบิน อาจมีโอกาสมองเห็นรุ้งกินน้ำแบบเต็มวงได้ โดยมีเงาของเครื่องบินอยู่ที่ศูนย์กลางวง โดยรุ้งกินน้ำนั้น สีที่เราเห็นมักจะมองเห็นไม่ครบ 7 สี เพราะ สีบางสีจะกลืนซึ่งกันและกัน

    แสงที่เกิดเป็นรุ้งนั้นคือแสงขาว และเกิดการหักเหจนเกิดเป็นแถบสี7แถบ โดยสีม่วงจะมีการหักเหมากที่สุด สีแดงมีการหักเหน้อยทีสุด

     

    http://th.wikipedia.org/wiki

     

    -----------------------------------------

     

              ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง

                ฟ้าผ่า ฟ้าแลบและฟ้าร้องเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าจำนวนมากระหว่างวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างพื้นโลกกับก้อนเฆม หรือระหว่างก้อนเฆมกับพื้นดิน เหมือนกับหลักการที่ว่าถ้าเอาวัตถุต่างชนิดมาถูกันจะเกิดอำนาจของไฟฟ้าขึ้น ในวัตถุทั้งสองนั้น 
                ลมซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลของแก๊สชนิดต่าง ๆเมื่อพัดด้วยความเร็วสูงจะทำให้เกิดการขัดสีกับผิวพื้นโลกและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ จึงทำให้โมเลกุลของลมได้รับประจุลบ (อิเล็กตรอน) เมื่อลมได้รับอิเลคตรอน และไปถ่ายเทให้กับด้านล่างของก้อนเมฆ เมื่ออิเล็กตรอน รวมตัวกันที่ด้านล่างของก้อนเมฆมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขนาดหนึ่ง แรงผลักระหว่างอิเลคตรอนบนก้อนเมฆ จะผลักให้อิเลคตรอนที่ผิวโลกแยกตัวออกจากประจุบวก จนทำให้ผิวโลกมีประจุเป็นบวกเพิ่มมากขึ้น ประจุลบบนก้อนเมฆจะผลักกันเองและขณะเดียวกันจะถูกดูดโดยประจุบวกจากพื้นโลก จึงทำให้มีประจุลบเคลื่อนที่ลงสู่ผิวโลก เนื่องจากแรงผลักจากด้านบนและแรงดูดจากด้านล่าง ซึ่งการที่ประจุเคลื่อนที่จากก้อนเมฆไปสู่ผิวโลกจะเรียกว่า ฟ้าผ่า 
                ถ้าประจุเคลื่อนที่จากก้อนเมฆไปยังก้อนเมฆเรียกว่า ฟ้าแลบ 
                ในขณะที่ประจุไฟฟ้าแหวกผ่านไปในอากาศด้วยอัตราเร็วสูงมันจะผลักดันให้อากาศ แยกออกจากกัน แล้วอากาศก็กลับเข้ามาแทนที่โดยฉับพลันทันที ทำให้เกิดเสียงดังลั่นขึ้น เราเรียกว่า ฟ้าร้อง

                ฟ้าแลบและฟ้าร้องในพายุเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน แต่มนุษย์เรามองเห็นฟ้าแลบก่อนต่อมาจึงได้ยินฟ้าร้องทั้งนี้ เพราะเหตุว่าแสงมีความเร็วมากกว่าเสียง แสงมีอัตราเร็ว 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ส่วนเสียงมีอัตราเร็วประมาณ 1/3 กิโลเมตรต่อวินาทีเท่านั้นเพราะเหตุนี้ เมื่อมีฟ้าแลบและฟ้าร้อง เราจึงได้เห็นฟ้าแลบหรือประกายไฟได้ทันทีและได้ยินเสียงฟ้าร้องทีหลัง 
                ถ้าเราต้องการทราบว่าฟ้าแลบอยู่ห่างจากเราเท่าใดเราก็จับเวลาตั้งแต่เมื่อเรา เห็นฟ้าแลบจนถึงเมื่อเราได้ยินเสียงฟ้าร้องว่าเป็นจำนวนกี่วินาที แล้วเอาจำนวนวินาทีคูณด้วย 1/3 ก็จะได้เป็นระยะกิโลเมตร เช่นเราจับเวลาระหว่างฟ้าแลบกับฟ้าร้องได้ 6 วินาที เราก็จะทราบได้ว่า ฟ้าแลบอยู่ห่างจากเราประมาณ 1/3 x 6 = 2 กิโลเมตร

                ฟ้าผ่านั้นจะผ่าแต่สิ่งที่เป็นสื่อไฟฟ้าและอยู่สูงขึ้นไปในท้องฟ้ามากกว่าสิ่งอื่น ในบริเวณข้างเคียงเสมอเพราะไฟฟ้านั้นต้องเดินทางลัดระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดิน ถ้ามีสื่ออะไรอยู่สูงมันก็จะผ่านลงมาทางสื่อนั้นจึงมีข้อห้ามกันว่า อย่าเดินกลางทุ่งโล่งในขณะที่ท้องฟ้าคะนอง อย่าถือโลหะออกอยู่กลางฝนขณะที่ฟ้าคะนองและอย่าอยู่ใต้ต้นไม้ที่สูงๆ ขณะที่ฟ้าคะนอง ฯลฯ เพราะจะทำให้ฟ้าผ่าได้ 
                การป้องกันฟ้าผ่าอาคารสถานบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างทำได้โดยเอาโลหะปลาย แหลมขึ้นไปปักไว้ บนส่วนสูงที่สุดของสิ่งก่อสร้างนั้น แล้วต่อสื่อลงมาผูกกับแผ่นทองแดงฝังลงไปในดินให้ลึก ๆซึ่งจะเป็นทางเดินผ่านของกลุ่มอนุภาคไฟฟ้าจากอากาศ 

     

    http://science009.blogspot.com/2009/06/blog-post.html

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×