ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Nb1 :)

    ลำดับตอนที่ #12 : ศิลปะการพิมพ์ภาพ

    • อัปเดตล่าสุด 30 ก.ค. 55


    ศิลปะการพิมพ์ภาพ

     

                การพิมพ์ภาพ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากแม่พิมพ์ออกมาเป็นผลงานที่มีลักษณะเหมือนกันกับแม่พิมพ์ทุกประการ และได้ภาพที่เหมือนกันมีจำนวนตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป 
                การพิมพ์ภาพเป็นงานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากการวาดภาพ  ซึ่งการวาดภาพไม่สามารถสร้างผลงาน 2 ชิ้น ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการได้ จึงมีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นมา ชาติจีน ถือว่าเป็นชาติแรกที่นำเอาวิธีการพิมพ์มาใช้อย่างแพร่หลายมานานนับพันปี จากนั้นจึงได้แพร่หลายออกไปในภูมิภาคต่างๆของโลก ชนชาติทางตะวันตกได้พัฒนาการพิมพ์ภาพขึ้นมาอย่างมากมาย มีการนำเอาเครื่องจักรกลต่างๆ เข้ามาใช้ในการพิมพ์ ทำให้การพิมพ์มีการ พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน 

     


              การพิมพ์ภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
    1.  แม่พิมพ์  เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิมพ์ 
    2.  วัสดุที่ใช้พิมพ์ลงไป 
    3.  สีที่ใช้ในการพิมพ์ 
    4.  ผู้พิมพ์ 
               ผลงานที่ได้จากการพิมพ์  มี  2  ชนิด คือ 
     1.  ภาพพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่เป็นภาพต่างๆ  เพื่อความสวยงามหรือบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ อาจมีข้อความ  ตัวอักษรหรือตัวเลขประกอบหรือไม่มีก็ได้ 
    2.  สิ่งพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เป็นตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข อาจมีภาพประกอบหรือไม่มีก็ได้ 
                ประเภทของการพิมพ์ การพิมพ์แบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะต่างๆ ดังนี้ 
                1.  แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการพิมพ์ ได้  2 ประเภท  คือ 
                1.1  ศิลปภาพพิมพ์ (GRAPHIC ART) เป็นงานพิมพ์ภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามเป็นงานวิจิตรศิลป์ 
                1.2  ออกแบบภาพพิมพ์ (GRAPHIC DESIGN) เป็นงานพิมพ์ภาพประโยชน์ใช้สอยนอกเหนือไปจากความสวยงาม ได้แก่ หนังสือต่างๆ บัตรต่างๆ ภาพโฆษณา  ปฏิทิน  ฯลฯ จัดเป็นงาน ประยุกต์ศิลป์

                2.  แบ่งตามกรรมวิธีในการพิมพ์  ได้  2  ประเภท  คือ 
                2.1  ภาพพิมพ์ต้นแบบ  ( ORIGINAL   PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์และวิธีการพิมพ์ที่ถูก สร้างสรรค์และกำหนดขึ้นโดยศิลปินเจ้าของผลงาน  และเจ้าของผลงานจะต้องลงนามรับรองผลงานทุกชิ้น  บอกลำดับที่ในการพิมพ์  เทคนิคการพิมพ์ และ วันเดือน   ปี  ที่พิมพ์ด้วย 
                2.2  ภาพพิมพ์จำลองแบบ   (  REPRODUCTIVE   PRINT  ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์หรือวิธี การพิมพ์วิธีอื่น  ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดิมแต่ได้รูปแบบเหมือนเดิม บางกรณีอาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น

                3.  แบ่งตามจำนวนครั้งที่พิมพ์  ได้  2  ประเภท  คือ 
                3.1  ภาพพิมพ์ถาวร  เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ  ที่ได้ผลงานออกมามีลักษณะเหมือนกันทุกประการ  ตั้งแต่  2  ชิ้นขึ้นไป 
                 3.2  ภาพพิมพ์ครั้งเดียว  เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว  ถ้าพิมพ์อีกจะได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม

                4.  แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์  ได้  4  ประเภท  คือ 
                4.1  แม่พิมพ์นูน  ( RELIEF   PROCESS  ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูนขึ้นมาของแม่พิมพ์  ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรกภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่  ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT )  ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT )  ตรายาง ( RUBBER  STAMP ) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ 
                4.2  แม่พิมพ์ร่องลึก  ( INTAGLIO  PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลงไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ (แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดยชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือพระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ  แสตมป์  ธนบัตร  ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะและธนบัตร 
                4.3  แม่พิมพ์พื้นราบ  (PLANER  PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย  ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน  ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET ) ภาพพิมพ์กระดาษ  ( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว  ( MONOPRINT ) 
                4.4  แม่พิมพ์ฉลุ  ( STENCIL PROCESS) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไปสู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้ายเป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL )  ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×