ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Nb1 :)

    ลำดับตอนที่ #6 : เทคโนโลยีชีวภาพ(โดยสรุปมากๆ)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 14.49K
      57
      24 ก.ค. 55

    เทคโนโลยีชีวภาพ(โดยสรุปมากๆ)

     

    คำเตือน : เหมาะสำหรับคนที่ต่อการย่อจริงๆ -0-

     

     ความหมายของเทคโนโลยีชีวภาพ

                เทคโนโลยีชีวภาพ (อังกฤษ: Biotechnology) คือ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้สิ่งมีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น เอนไซม์ หรือโปรตีนชนิดต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติ

                ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาจก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ส่งผลให้เกิดกระบวนการสร้าง กระบวนการทำลาย หรือการก่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดำเนินอยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งกระบวนการ ทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เป็นผลมาจากการทำงานของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ และหน่วยพันธุกรรมหรือยีน การศึกษางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพจึงต้องอาศัยความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับสารพันธุกรรม และพฤติกรรมของสารพันธุกรรม รวมทั้งวิธีการสำคัญต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

     

    การตัดต่อยีน

                การตัดต่อยีน หมายถึง การเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง หรือยีนที่สังเคราะห์ขึ้นใส่เข้าไปในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ทางพันธุกรรมได้

     

    การโคลนนิ่ง

                การโคลนนิ่ง (Cloning) คือ กระบวนการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศชนิดหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตที่ถูกโคลนออกมาจะมีลักษณะทางพันธุกรรม โดยรวมถึงมีลักษณะทางกายภาพ เหมือนกับสิ่งมีชีวิตต้นแบบ หรือ สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ก่อนแล้วทุกประการ

     

    เด็กหลอดแก้ว

                เป็นการรักษาภาวะการมีบุตรยากด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์โดยนำไข่ที่ดีและตัวอสุจิที่แข็งแรงมาช่วยทำการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ในห้องปฏิบัติการ (IVF) เพื่อให้เกิดตัวอ่อน (EMBRYO) ของทารก จากนั้นย้ายตัวอ่อนกลับเข้าโพรงมดลูกเพื่อการฝังตัว

     

    การทำกิฟท์

                คือการนำไข่และอสุจิมารวมกัน และฉีดเข้าท่อนำไข่โดยผ่านทางปลายของท่อให้มีการปฏิสนธิ การแบ่งตัวของตัวอ่อนและการฝังตัวเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 

     

    การทำซิฟท์

                วิธีการทำซิฟท์จะคล้ายกับการทำกิ๊ฟร่วมกับการทำเด็กหลอดแก้ว คือ มีการเจาะเก็บไข่และนำมาปฏิสนธิกับอสุจิภายนอกร่างกาย  แล้วเลี้ยงตัวอ่อนในจานแก้วอีก 1-2 วันจากนั้นแพทย์จะทำการนำตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่โดยการเจาะผ่านทางหน้าท้อง  

     

    สเต็มเซลล์

                สเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือที่เรียกว่าเซลล์ต้นกำเนิด เป็นเซลล์อ่อนที่พร้อมจะเจริญเติบโต แบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่ และเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง 

     

    การถ่ายฝากตัวอ่อน

                 เป็นการนำตัวอ่อนที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างตัวอสุจิของพ่อพันธุ์และไข่ของแม่พันธุ์ที่คัดเลือกไว้ แล้วเก็บออกมาจากมดลูกของแม่พันธุ์ ต่อจากนั้นนำไปฝากใส่ไว้ให้เติบโตในมดลูกของตัวเมียอีกตัวหนึ่งจนคลอด

     

    อิ๊กซี่

                คือ การฉีดตัวอสุจิเพียงตัวเดียวเข้าไปในไข่ โดยไม่รอให้เกิดการปฏิสนธิกันเอง ทำให้ช่วยเพิ่มอัตราการปฏิสนธิ ส่วนขั้นตอนอื่นเหมือนกับการทำเด็กหลอดแก้ว การทำดังกล่าวต้องทำผ่านเครื่องมือพิเศษที่ประกอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ และเข็มขนาดเล็กมาก เพื่อจับไข่และฉีดตัวอสุจิเข้าไปในไข่ ด้วยการเคลื่อนไหวที่ละเอียดอ่อนนุ่มนวลมาก เป็นวิธีที่เลือกใช้ในรายที่
                           - เชื้ออสุจิฝ่ายชายคุณภาพไม่ดีอย่างมาก
                            - ไข่กับเชื้ออสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกันเองได้ในหลอดทดลอง
                            - เช่น เปลือกไข่หนาเหนียวในสตรีอายุมาก

     

    การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

                คือ การเพาะเลี้ยงพืช เฉพาะบางส่วนของพืชเพื่อให้ได้พืชชนิดนั้นทั้งต้น ทำให้มีขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมาก ทั้งที่พืชที่ถูกนำชิ้นส่วนมาขยายพันธุ์ต่อนั้นมีจำนวนน้อยต้น

     

    สิ่งมีชีวิต GMOs

                GMOย่อมาจากGeneticallyModifiedOrganismหมายถึงจุลินทรีย์พืชและสัตว์ที่มีการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมโดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมคือมีการตัดต่อและปลูกถ่ายยีนจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งหรือชนิดเดียวกันและยีนที่ถูกถ่ายทอดไปนั้นสามารถทำงานสร้างโปรตีนได้เช่นเดิม

     

    การผสมเทียม

                การทำให้เกิดการปฏิสนธิโดยไม่ต้องมีการร่วมเพศกันตามธรรมชาติ โดยมนุษย์เป็นผู้ฉีดน้ำเชื้อของตัวผู้เข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์ตัวเมียที่กำลังเป็นสัดเพื่อให้ตัวอสุจิผสมกับไข่  ทำให้เกิดการปฏิสนธิ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×