ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

    ลำดับตอนที่ #6 : มหาทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

    • อัปเดตล่าสุด 14 ส.ค. 51


    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร

    โครงการมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับการจัดตั้งตามประกาศของสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อ ปี พ.ศ. 2547
    โดยเป็นหน่วยงานเทียบเท่า คณะ มีภารกิจสำคัญในการจัดการการศึกษาและผลิตบัณฑิต
    ดำเนินการวิจัย บริการวิชาการ และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานของหน่วยงานต่อสาธารณชน

    กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ มีเหตุการณ์สำคัญหลายครั้ง มีบุคคล เกี่ยวข้องหลายท่าน
    มีสิ่งแวดล้อมและเรื่องราวมากมายที่เปลี่ยนแปลงและที่ควรกล่าวถึง ถือเป็นตำนานแม่โจ้ อีกตอนหนึ่ง
    ของพวกเราที่ควรเก็บเรื่องราวเหล่านี้ไว้เป็นประวัติสาสตร์แม่โจ้ต่อไป

    บทความนี้เรียบเรียงมาจากหนังสือ โครงการมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร 2549 (Maejo University – Chumphon, from the mountains to the sea of Chumphon 2006)
    โดยมี ผศ.ดร. ศิริชัย อุ่นศรีส่ง เป็นบรรณาธิการ
    และมีคณะทำงานที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นทีมงาน มี รศ.ดร. เทพ พงษ์พานิช เป็นที่ปรึกษ
    า และ รศ. นคเรศ รังควัต เป็นฝ่ายศิลปกรรมจัดรูปเล่ม หนังสือมีภาพ 4 สี สวยงาม มี จำนวน 96 หน้า

    ****

    ประวัติความเป็นมาจากอดีตและกว่าจะมาเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีดังนี้

    วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2523 ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นาย บุญนาค สายสว่าง) ได้ลงนามในคำสั่งจังหวัดชุมพรที่ 18/2523 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาเขตชุมพร

    วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2523 นาย บุญนาค สายสว่างผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรทำหนังสือถึงสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ขอให้พิจารณาจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทางการเกษตรในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เขตอำเภอละแม
    จังหวัดชุมพร โดยการสนับสนุนจัดหาพื้นที่โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นาย ประมวล กุลมาตย์ และนาย วิรัตน์ เอื้ออารีย์ประธานสภาจังหวัด
    ในสมัยนั้น ได้ช่วยเหลือประสานงานการขอใช้พื้นที่ป่าไม้เคี่ยมติดชายทะเลในท้องที่ตำบลละแม อำเภอละแม
    ซึ่งได้มีการหารือและติดต่อประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายและ
    ไม่กระทบกระเทือนกับขาวบ้านในชุมชนที่มีที่ดินใกล้เคียงและอาศัยอยู่มาก่อนแล้ว

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2523 สภาสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร ได้พิจารณารับหลักการ
    และแต่งตั้งกรรมการเพื่อกำหนดแผนการดำเนินงาน ในระยะแรกให้จัดตั้งดำเนินงานเป็น
    ศูนย์ไร่ฝึกนักศึกษาและการศึกษาต่อเนื่องเพื่อให้เป็นสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา
    และการอบรมหลักสูตรระยะสั้นและงานวิจัยทางการเกษตรท้องถิ่น

    วันที่ 27 มิถุนายน 2523 ศาสตราจารย์ ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีสถาบันการเกษตร
    ได้มีหนังสือถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร แจ้งเรื่อง สภาสถาบันฯ
    มีมติรับหลักการการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรตามที่จังหวัดส่งเรื่องไป

    ต่อมาได้มีการติดต่อประสานงานระหว่างจังหวัดชุมพรและกระทรวงเกษตรและสหกรณ
    ์ได้อนุมัติให้สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้เข้าใช้พื้นที่ป้าไม้เคี่ยม ในท้องที่ตำบลละแม อำเภอละแ
    ม จังหวัดชุมพร พื้นที่ 1,750 ไร่ เพื่อจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร

    พ.ศ. 2525 เริ่มมีการจัดสรรตั้งงบประมาณเพื่อ บุกเบิกพื้นที่เพาะปลูก สร้างอาคารฝึกอบรม
    บ้านพัก เรื่อนเพาะชำ ระบบไฟฟ้า ประปา ใช้เป็นศูนย์ฝึกงานภาคสนามและอบรมระยะสั้น ของนักศึกษา ปีสามและปีสี่

     พ.ศ. 2536 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร นาย สุวโรช พะลัง
    ได้ช่วยเหลือสนับสนุนการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อดำเนินการตามโครงการ
    และท่านก็รับเป็นที่ปรึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการจัดตั้งเป็นวิทยาเขตชุมพร

     10 ปี ที่คณะทำงานต้องพัฒนาพื้นที่ด้วยงบประมาณจำกัด ปัญหาต่างๆมีมากมาย
    ทั้งงบประมาณและจำนวนบุคลากร เครื่องมือที่จะใช้ในการพัฒนาพื้นที่ แต่ คณะทำงานก็ไม่ย่อท้อ
    ได้พยายามแก้ปัญหาต่างๆให้ลุล่วงไปด้วยการขอการสนับสนุนจากศิษย์เก่า เสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์กับชุมชน
    คัดเลือกบุคคลากรที่มีความอดทนและสู้งาน ตามปณิธานที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมา โดยเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โ
    จ้ที่เคยทำงานอยู่กับโครงการหลวงบนพื้นที่สูงที่เชียงใหม่ หลายท่านอาสาไปทำงานและมีความตั้งใจจริง มีมนุษยสัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่น
    ท่านเหล่านั้นได้อาสาเข้ามาทำงานกับโครงการพัฒนาพื้นที่-ละแม และผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่เป็น
    ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาพื้นที่ละแม จังหวัดชุมพร ในยุคบุกเบิก ก็คือ ดร. บุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ (รุ่น 22)
    และท่านก็ทำหน้าที่พัฒนาโครงการแม่โจ้-ละแมตลอดมา ด้วยความอดทน ทำจริง แก้ปัญหาต่างๆ ด้วยความมีมนุษยสัมพันธ์เป็นยี่ย
    ม แม้ว่าท่านจะมีปัญหาด้านสุขภาพ ท่านก็ไม่ย่อท้อ ทำและสู้งานด้วยความจริงใจ
    แม้ในการเดินทางครั้งสุดท้ายของท่านมาทำงานที่ละแมในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2542
    ท่านล้มป่วยเพราะสุขภาพ ต้องเดินทางกลับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร
    และได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ด้วยโรคเนื้องอกทับเส้นประสาท
    ชื่อของท่านได้รับเกียรติตั้งเป็นชื่อของอาคารอำนวยการ คือ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ
    เพื่อรำลึกถึงคุณความดีและเกียรติประวัติการทำงานของท่านที่มีต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ

    วันที่ 29 ตุลาคม 2543 สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีประกาศ การแบ่งหน่วยงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นการภายใน
    โดยเพิ่มเติมโครงการจัดตั้งสำนักสหวิชาการละแม และให้มีสำนักงานเลขานุการสำหรับดำเนินงาน
    โครงการ สำนักสหวิชาการละแม “ โดยตรง

    วันที่ 31 ธันวาคม 2546 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับหนังสือจากสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ ฝ่ายจัดประโยชน
    ์ เรื่องการเพิกถอนป่าไม้เคี่ยมจังหวัดชุมพร ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 104 ตอนที่ 9
    7 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2530 เพื่อจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร
    (โครงการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร) จำนวน 6 แปลง รวมเนื้อที่ประมาณ 2,005 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา (มากขึ้นกว่าเดิมที่เคยสำรวจไว้มีเพียง 1,750 ไร่)

    วันที่ 21 มีนาคม 2547 สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีการประชุมครั้งที่ 2/2547
    ได้พิจารณาเห็นสมควรให้สำนักสหวิชาการละแม จังหวัดชุมพร มีฐานะเป็นส่วนราชการระดับคณะ
    และให้จัดการบริหารเป็นแบบวิทยาเขต ให้ชื่อว่า “ โครงการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร”
    จัดการบริหารงานแบบวิทยาเขต อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาท้องถิ่นของภาคใต้ตอนบน

    ปัจจุบัน โครงการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เป็นหน่วยงานเทียบเท่า คณะ
    สังกัดสำนักงาน อธิการบดีโดยมีรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ปฎิบัติราชการแทนอธิการบดี และมี ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยแม่โจ้
    – ชุมพร เป็นผู้บริหาร
    *****

    ที่ตั้ง – บ้านแหลมสันติ ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

    มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีพื้นที่ในการดำเนินงาน 2,005 ไร่

    ทิศเหนือ ติดต่อที่ราษฎรหมู่ที่ 1 และปากคลองละแม

    ทิศตะวันออก ติดต่อ ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย

    ทิศตะวันตก ติดต่อ ที่ราษฎร หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 5

    ทิศใต้ ติดต่อ ที่ราษฎร หมู่ที่ 5 และคลองหนองบัว

    ความยาวของพื้นที่ในแนวเหนือ – ใต้ ประมาณ 4 ก.ม. ตลอดแนวชายฝั่ง
    ***

    อาคารสำนักงานโครงการมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

    ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ที่ 5 บ้านแหลมสันติ ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 86170

    โทรศัพท์ 077-559111, 77-559000 และ 077-549238

    เว็บไซท์ www.chumphon.mju.ac.th .
    ในปี การศึกษา 2549 ได้จัดการศึกษาเป็น 4 หลักสูตร

    หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิตการท่องเที่ยวเชิงนิเวศฯ

    หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต การจัดการทั่วไป

    หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต การเพาะเลี่ยงสัตว์น้ำ

    หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต พืชศาสตร์

    ได้ผลิตบัณฑิตไปแล้ว 3 รุ่น รวม 251 คน ปัจจุบัน มีนักศึกษา รวม 250 คน

    ****

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิริชัย อุ่นศรีส่ง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและเทคโนโลยีสารสนเทศ รักษาราชการ
    ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

    นาย สมพร มีแสงแก้วรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและฟาร์มมหาวิทยาลัย

    นาย บุญสิน จิตตะประพันธ์รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิขาการและประกันคุณภาพการศึกษานางสาว วีรภรณ์ โตคีรี รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษาและองค์กรสัมพันธ์

    มีบุคลากร รวม 31 คน อาจารย์พิเศษ 42 คน

    อาคารอำนวยการ ชื่อ อาคาร บุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ มีการให้บริการสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ รวมทั้งบริการห้องสมุด

    มีสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา “ เสียงจากแม่โจ้-ชุมพร”เอฟ. เอ็ม. 90 เมกะเฮิร์ท
    ออกอากาศตั้งแต่เวลา 9.00-22.00น.ทุกวัน ซึ่งได้มีพิธีเปิดสถานีโดย รศ.ดร. เทพ พงษ์พานิช
    อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548
    มี ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ เป็นผู้ควบคุมสถานีและดำเนินรายการวิทยุเพื่อการศึกษาและเป็นสื่อประสานสัมพันธ์กับชุมชน
    ในอำเภอละแมและชุมชนใกล้เคียงที่สามารถรับฟังรายการได้ นับเป็นบริการการศึกษาอีกกระบวนการหนึ่ง
    ที่มีความสำคัญในการส่งเสริมให้โครงการมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้และเป็นสื่อสำคัญที่จะรับใช้ชุมชนตลอดไป เรียบเรียง จาก 1)หนังสือ โครงการมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร 2549
    Maejo University – Chumphon .. from the mountains to the sea of Chumphon.
    ผศ.ดร. ศิริชัย อุ่นศรีส่ง บรรณาธิการ

    2 )เทปรายการ ย้อนอดีต 70ปี แม่โจ้ รายการพิเศษ เปิดสถานีเสียงแม่โจ้-ชุมพร
    วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548

    โดย สงวน จันทร์ทะเล
    บทความนี้สำหรับออกอากาศ รายการแม่โจ้เมื่อวันวาน ตำนานแม่โจ้-16
    ********

    สงวน จันทร์ทะเล
    ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านกิจการศิษย์เก่าสัมพันธ์

    23 สิงหาคม 2549

    *********

    Maintained page by Sanguan Chantalay
    August 26, 2006

    Last updated: August 27, 2006

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×