คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : บทเพลงแห่งความผูกพัน
บทเพลงแห่งความผูกพัน
แม้วันวานจะัผ่านไป
สายใยความเอื้ออาทร
ผูกรัดความเป็น แม่โจ้ ให้คงอยู่นิรันดร์
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 ผมไปร่วมพิีธีฌาปนกิจศพเพื่อนร่วมรุ่น
คุณเจริญ บัวคงดี อายุ 70 ปี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2549
ที่บ้านสระยายโสมอำเ้ภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี คุณเจริญ มีลูกชายจบจากแม่โจ้ รุ่น 53
ผมหารือกับเพื่อนร่วมรุ่นบางคน และรุ่นพี่ที่ไปร่วมงาน พร้อมทั้งบุตรชายคุณเจริญว่า ลูกแม่โจ้ที่ไปร่วมงานจะร่วมกันร้องเพลงชาติแม่โจ้ ก่อนจะมีพิธีประชุมเพลิง
โดย คุณวรรณจิต ชุ่มจิตร์ รุ่น 20
รับหน้าที่เป็นต้นเสียง
เพื่อนบางคนแย้งว่าไม่เคยทำและไม่เคยเข้าร่วมในพิธีฌาปนกิจศพ
ที่มีการร้องเพลงชาติแม่โจ้มาก่อน
***
สำหรับผม..ได้เคยเเข้าร่วมพิธีร้องเพลงชาติแม่โจ้
ในงานฌาปนกิจศพลูกแม่โจ้ครั้งแรก
ในปี พ.ศ 2514 ที่สุสานช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
แต่จำไม่ได้ว่า เป็นงานฌาปนกิจศพใคร รุ่นไหน
คณะประเพณีที่ดำเนินการทำนั้นมีใครบ้าง
แต่จำได้มีธงเขียวขาวเหลือง คลุมหีบศพด้วย
เป็นบรรยากาศเศร้าซึมมากสำหรับผมที่ได้เข้าร่วมพิธีในงานศพในปีนั้น
บรรยากาศตอนจบของการร้องเพลง เศร้า ซึม
และทำให้คิดถึงวันเวลา ที่พวกเราต้องช่วยกันทำงาน
เพื่อก้าวเดินไปสู่จุดหมาย
ช่วยกันด้วยใจ และมุ่งมั่นที่จะช่วยกันตลอดไป..
เชื่อเถิด..เชื่อเถิด เราไม่ให้ต่ำลง
เชื่อเถิด.. เชื่อเถิด เราก้าวหน้าตรงไป
จรรยา วิชา และกิฬาใดๆ เราต้องประคองเอาไว้ระดับที่ดี...
(จบโดยไม่มีเสียง ไชโย)
ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับงานพิธี 2514
เป็นพิธีฌาปนกิจศพ คุณพี่อนันต์ ปักษานนท์ แม่โจ้รุ่น2(2478)
หลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมรุ่น 1(มก.1)
โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมข้างล่าง
********
หลังจาก ปี พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา
ผมมีโอกาสไปร่วมงานฌาปนกิจ พี่น้องลูกแม่โจ้ หลากหลาย หลายรุ่น
อีกหลายครั้งจนนับและจดจำจำนวนครั้งไม่ได้
ได้ทำหน้าที่เป็นต้นเสียงก็หลายครั้ง
แล้วแต่โอกาสและความเหมาะสมของสถานการณ์
สรุปวาระที่พวกเราจะร้องเพลงชาติแม่โจ้นั้น มีวาระดังต่อไปนี้
1)ร้องเป็นครั้งแรกด้วยความพากพูมิใจที่ ลูกแม่โจ้ จำนวน 266คน
ขุดสระเกษตรสนานเสร็จตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ใหญ่โดยใช้เวลาขุดเพีย7วัน
คุณแผ่พืชน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นต้นเสียงเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2478 เวลา 15.00 น.
เป็นบรรยากาศที่สดชื่นตื้นตันอย่างไม่สามารถจะบอกกันได้
2)ร้องในพิธีต้อนรับน้องใหม่ ลูกแม่โจ้ รุ่น 3 (เป็นครั้งแรก) จำนวน 156 คน
เมื่อเช้าตรู่วันที่ 7 มิถุนายน 2479 และกระทำเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน
3)พิธีกรรมอำลาอาลัยแก่อาจารยพนม สมิตานนท์ ์ที่จะจากลาไปศึกษาดูงานที่อมเริกา
เป็นการลาที่ต้องจดจำ ที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ ในปี พ.ศ 2494
นักเรียนแม่โจ้ร้องเพลงชาติแม่โจ้ด้วยเสียงอันดังก้องกังวาลท่ามกลางญาติสนิทมิตรสหาย
รวมทั้งเพื่อนข้าราชการที่พากันไปชุมนุมส่งอย่างหนาแน่นบริเวณชานชาลาสถานี
ยังความตื้นตันปิติแก่ผุ้ที่ได้ได้ฟังกันทุกคน
แสดงถึงความรักและห่วงใยที่มีต่ออาจารย์้และผู้มีพระคุณ
4)บุคคลากรที่มีความผูกพันกับแม่โจ้มานาน ลูกแม่โจ้หลายรุ่นให้ความเคารพนับถือ
เสมือน " ครู " ูผุ้ให้ความรู้เป็นที่ รักนับถือของ ลูกแม่โจ้
ได้รับการยอมรับให้มีการร้องเพลงชาติแม่โจ้
้ก่อนพิธีประชุมเพลิง
ต้องหารือกับเจ้าภาพก่อนกำหนดพิธีกรรม
5)งานครบรอบปีแห่งการเฉลิมฉลอง งานพบปะสังสรรของลูกแม่โจ้
ที่มีประจำปี ต้องมีการร้องเพลงชาติแม่โจ้
หากมีบุคคลอื่นอยู่ด้วยต้องแสดงเจตน์จำนง
ความผูกพันทางครอบครัวและแสดงน้ำใจการยอมรับเข้ามาอยู่ในวงล้อม
ความอบอุ่นของความเป็นแม่โจ้
6)งานฌาปนกิจศพที่เป็นศิษย์เก่าแม่โจ้
หากผู้เสียชีวิตหรือเจ้าภาพประสงค์จะให้มีการร้องเพลงชาติแม่โจ้
ศิษย์เก่าอาวุโส หรือผุ้ที่เคยทำกิจกรรมประเพณีต้องหารือกับเจ้าภาพและศิษย์เก่า
เพราะต้องคำนึงถึงจำนวนศิษย์เก่าแม่โจ้ที่จะเข้าร่วมพิธีกรรมร้องเพลงชาติด้วย
7)งานพระราชทานเพลิงศพ ที่เป็นศิษย์เก่าแม่โจ้ พิธีกรรมการร้องเพลงชาติแม่โจ้ ต้องกระทำล่วงหน้าก่อนที่ประธานในพิธี
จะเดินทางมาถึง และต้องมีการหารือกับเจ้าภาพก่อนกำหนดพิธีกรรม
8) ในงานมงคลสมรสของคู่บ่าวสาวที่้ป็นศิษย์เก่าก็มีการร้องเพลงในช่วงสุดท้ายของพิธี
หากเจ้าเจ้าสาวหรือเจ้าบ่าวไม่ได้เป็นศิษย์เก่าก็จะมีการสอบถามความพร้อมใจจริงใจ
ที่จะเข้ามาอยู่ในครอบครัวลูกแม่โจ้ แล้วก็จะร้องเพลงชาติแม่โจ้เป็็้นการปิดพิธีด้วยความสุขสามัคคีของทุกคนที่มาร่วมงาน
(จากการสนทนากับคุณสมหวัง วงษ์โพธิ์หอม รุ่น 61 เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2549)
***
นี่เป็นข้อเขียนที่ได้มาจากการได้เคยเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมของลูกแม่โจ้ เขียนมาเท่าที่จะจำถ้อยความได้
อนึ่ง ต้นเสียงเพลงชาติแม่โจ้ ท่านแรก คือ คุณแผ่พืชน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (รุ่น 2)
ผมได้พบท่านหลายครั้งและเคยได้ยินเสียงท่าน
ท่านที่สองที่ผมได้พบท่านและได้ฟังน้ำเสียงท่านด้วย (20 ม.ค. 2548)
คุณประทีป อุตตมะโยธิน (รุ่น 5)
ท่านได้รับการทดสอบเสียงและฝึกท่วงทำนองมาจาก คุณแผ่พืชน์ ฯ โดยตรง
ต้นเสียง จะะขึ้นนำเพียง 2 ครั้ง แล้วตามด้วย...ใหม่เก่าพวกเราไชโย ..
คณะศิษย์เก่าอาวุโส 10 ท่าน(รุ่น 3 รุ่น 5 รุ่น 10 และ 11)ได้ทำการบันทึกเสียง
เพลงชาติแม่โจ้ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548 ที่ห้องอัดเสียง มก. กรุงเทพฯ
ผมได้ทำสำเนาแจกจ่ายให้ศิษย์เก่าแม่โจ้ไปหลายท่าน
พร้อมทั้งเก็บไว้ที่สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ เชียงใหม่
่ และ ม.แม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และ ม.แม่โจ้ ชุมพร (ต.ค. 48)
และที่ห้องสมุดวิภาต บุญศรี วังซ้าย
ไม่ทราบแน่ชัดว่า ต้นเสียง นำขึ้นเป็น 3 ครั้ง ในปี พ.ศ.ใด เพราะสอบถาม
พี่ๆ รุ่นก่อนผม ก็รับสืบทอดมา ขึ้นต้นเสียง 3 ครั้ง และปฎิบัติมาตราบทุกวันนี้
ผมประมาณว่าน่าจะเริ่มมาตั้งแต่รุ่น 15
หากผิดพลาดก็ขออภัยด้วย เพราะช่วงปี พ.ศ. 2490-2491
คณะทำงานประเพณีอาจขาดช่วงทบทวนพิธีการกับรุ่นพี
เพราะเป็นช่วงที่ไม่มีการรับนักเรียนใหม่เข้าเรียน
นี่คือความผูกพัน สายใยที่มัดความเป็น แม่โจ้ ของพวกเรา
ทุกคนจำเนื้อร้อง ทำนอง และพิธีกรรม ของความเป็นเพื่อน
ความเป็นพี่ และความเ็ป็้นน้อง
"ลูกแม่โจ้"
ด้วยจิตคารวะและผูกพันตลอดไปส.จันทร
3 พฤศจิกายน 2549
***
ความคิดเห็น