ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

    ลำดับตอนที่ #3 : ตำนานแม่โจ้...” แม่.....โจ้ ” เพลงชาติแม่โจ้

    • อัปเดตล่าสุด 14 ส.ค. 51


    ุณ ไสว บุณยปรัตยุษ (แม่โจ้ รุ่น 2 พ.ศ. 2478/ผู้เรียบเรียง) นักเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมรุ่น 1 ผู้ประพันธ์เพลงนี้ทั้งเนื้อร้องและทำนอง ได้เกิดจินตนาการแต่งเพลงนี้ขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2478 ในคืนวันขึ้น 15ค่ำ (ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2478 /ผู้เรียบเรียง) ธรรมชาติรอบข้างปลุกความรู้สึกของคุณไสวให้หายง่วง และเกิดอารมณ์อ่อนไหวไปกับธรรมชาติ คุณไสวครวญเพลง Love Song of the Nile และคิดคำนึงอยู่หลายเที่ยว เพลงนี้เป็นเพลงที่มีลีลาโหยหวนเร้าใจ น่าจะนำมาเป็นทำนองเพลงเชียร์ของโรงเรียนได้ จึงคิดสรรหาเนื้อเพลงเข้าประกอบทำนอง คิดฮัมเพลงอยู่พักใหญ่ก็ได้เนื้อเพลงที่พอดีกับทำนอง ในบรรยากาศของเสียงธรรมชาติรอบข้าง กลิ่นหอมของดอกไม้ และแสงสกาวของแสงจันทร์ในคืนเดือนเพ็ญ

    เนื้อเพลงที่คิดได้มีดังนี้

    แม่....โจ้ ... ไชโย... พวกเรา
    แม่โจ้....ไชโย...พวกเรา

    ใหม่....เก่า พวกรา...ไขโย
    ช่วยกันโห่... เพื่อแม่โจ้ของเรา.. ”

    เท่านี้ยังไม่พอ เนื้อเพลงสั้นไป วันต่อมาจึงคิดหาเนื้อและทำนองเพิ่มเติมเข้าไป คุณไสวเป็นนักเรียนเก่าโรงเรียนอำนวยศิลป์มาก่อน จึงนำเพลงเชียร์ของโรงเรียนอำนวยศิลป์บางตอนมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับแม่โจ้ ได้เนื้อเพลงใหม่ดังนี้

    คณะเราไม่ยอมให้ด้อยถอยลง
    ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี

    เขียว ขาว เหลือง อยู่ที่ใด ชัยต้องมี
    เขียว ขาว เหลือง สามสีนี้ คือดวงใจ

    เชื่อเถิด เชื่อเถิด เราไม่ให้ต่ำลง
    เชื่อเถิด เชื่อเถิด เราก้าวหน้าตรงไป

    จรรยา วิชา และกิฬาใดๆ
    เราต้องประคองเอาไว้ระดับที่ดี ”

    (ต้นเสียง) แม่โจ้.. (รับ) ไชโย..
    (3ครั้ง) แล้วตามด้วย ...สามัคคี...สามัคคี อันดีเลิศ..(อีก 3 ครั้ง)(ผู้เรียบเรียง...)

    ใช้ทำนองเพลงเชียร์ของโรงเรียนอำนวยศิลป์ในส่วนที่คิดได้ใหม่นี้ และใช้เนื้อทำนองที่คิดได้ครั้งแรกเป็นตอนต้นเสียงและร้องนำ ส่วนที่คิดได้ตอนหลังใช้เป็นเนื้อร้องของลูกคู่

    คุณไสวได้นำเพลงนี้ไปเสนอแก่นักเรียนฝึกหัดครูรุ่นพี่ ปีที่ 2 (รุ่น 1/ผู้เรียบเรียง) ซึ่งทุกคนก็เห็นดีด้วย ได้นำเสนอไปยังอาจารย์ ใหญ่ คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ (ซึ่งท่านชอบดนตรีอยู่ก่อนแล้ว/ผู้เรียบเรียง) ท่าน มีความเห็นว่า เหมาะสมดี ใช้ได้ เพลงนี้จึงได้ถูกนำเสนอที่ประชุมนักเรียนในเวลาต่อมา

    คุณ แผ่พืช เทพหัสดิน ณ อยุธยา (รุ่น 2/ผู้เรียบเรียง) เป็นต้นเสียง

    เมื่อนักเรียนส่วนใหญ่รับรองเห็นชอบแล้ว ก็เริ่มฝึกซ้อมจนร้องกันได้ทั่วกัน ต่อมาได้นำไปร้องเชียร์ในการแข่งขันกิฬา ทั้งในกิฬานักเรียนและกิฬาประชาชน ในโอกาสต่างๆตลอดมา

    ลูกแม่โจ้รุ่นน้องๆ ได้ยกย่องให้เกียรติ “ เพลงแม่โจ้ ” เป็นเพลงสำคัญประจำโรงเรียน ในงานพิธีสำคัญๆ และมีเกียรติทั้งที่เป็นพิธีการของโรงเรียน หรืองานพิธีที่นักเรียนจัดขึ้นตามโอกาสและสถานที่ต่างๆ เพลงนี้จะถูกอัญเชิญมาร้อง แล้วลูกแม่โจ้ทุกรุ่น ทุกวัย จะร่วมกันร้องด้วยความพร้อมเพรียง ด้วยความเคารพและภาคภูมิใจ

    “ จริงสิ.. ถึงแม้ผมจะออกจากโรงเรียนมานานหลายปีแล้วก็ตาม ผมก็เห็นชอบด้วยกับความดำริของน้องๆ เป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจเป็นได้ว่า เพลงนี้เป็นเพลงแรกของแม่โจ้ และเป็นเพลงเดียวที่ได้รับความนิยมจากลูกแม่โจ้ทุกรุ่น ทุกคนร้องได้แม่นยำ ไม่หลงลืม จึงนับเป็นเพลงอมตะของแม่โจ้อย่างแท้จริง ซึ่งเราลูกแม่โจ้ทุกคนเชื่อและหวังว่า เพลงนี้จะยังคงยืนอยู่คู่แม่โจ้ของเรา ตลอดไปจนชั่วกาลนาน ”

    +++++

    เรียบเรียงจาก “ ความเป็นมาของเพลงแม่โจ้ ” โดย ปราโมทย์ บัวชาติ รุ่น 2
    หนังสือ เกษตร-แม่โจ้ ที่ระลึกเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิดครบรอบปีที่ 82 อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปะการ (ช่วง โลจายะ) 20 กรกฎาคม 2524

    *คุณ ปราโมทย์ บัวชาติ รุ่น 2 ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2538
    * เป็นศิษย์เก่า คนเด่น หนึ่ง ใน “ คนเด่น 70 ปี แม่โจ้ หนังสืออนุสรณ์ 70 ปี แม่โจ้
    นักส่งเสริมเกษตรและนักเขียนผู้ปิดทองหลังพระเพื่อประวัติศาสตร์งานเกษตร.

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×