ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เคล็ดลับนักเขียน โดย สนพ. Natty

    ลำดับตอนที่ #3 : ~ มาดู "การเล่าเรื่องโดยบุรุษที่ 1" กันเถอะ ~

    • อัปเดตล่าสุด 27 ก.ค. 54


     เอาล่ะ เมื่อเรารู้รูปแบบของเรื่องแล้ว เราก็มาเรียนรู้รูปแบบในการเล่ากันบ้างดีกว่าเนอะ ในที่นี้ แนตตี้ขอแยกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ อีกเหมือนกันค่ะ คือ “การเล่าโดยนักเขียน” กับ “การเล่าแบบบุรษที่ 1”

    การเล่าโดยนักเขียนนั้นแยกย่อยได้อีกหลายข้ออย่างไม่น่าเชื่อ เลยยาวไปสักหน่อย เพราะฉะนั้น แนตตี้จะขอแนะนำการเล่าแบบบุรษที่ 1 ก่อนแล้วกันนะคะ

    การเล่าแบบบุรุษที่หนึ่งก็ตรงตัวอยู่แล้ว คือให้ตัวละครเป็นผู้เล่าเรื่องทั้งหมด ซึ่งคำที่ใช้ในการแทนตัวก็มีหลักๆ อยู่ 3 คำคือ ฉัน / ผม / ข้า (ข้าพเจ้า...ก็เคยเห็นเหมือนกันนะเออ)

    ฉัน : ใช้สำหรับผู้หญิงที่มีชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบันค่ะ

    ผม : ถ้าเป็นผู้ชายที่อยู่ในยุคปัจจุบัน ต้องใช้คำนี้เท่านั้นค่ะ ไม่ว่าในเรื่องตัวละครจะแทนตัวเองว่าอะไร

    ข้า : อันนี้ใช้ได้ทั้งชายและหญิงค่ะ แต่จะเน้นไปทางเรื่องที่เป็นยุคโบราณ หรือออกแฟนตาซีจ๋าไปเลย

    คุณเคยสังเกตมั้ยเอ่ย ถึงจะเล่าโดยบุรุษที่หนึ่งเหมือนกัน แต่ถ้าจะแยกกันละเอียดจริงๆ มันแยกได้เป็น 3 รูปแบบนะคะ ทำไมต้องแยกน่ะเหรอ เพราะถ้าไม่แยก เราก็จะไม่รู้ว่าตัวเองกำลังสื่อแบบไหน และก็จะกลายเป็นว่าเล่าไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันค่ะ

    1. การเล่าไปเรื่อยๆ : ก็คือรูปแบบที่เราเห็นได้ทั่วไปในนิยายรักหวานแหววค่ะ เป็นการที่ให้ตัวเอกเล่าเรื่องไปเรื่อยๆ ตามสิ่งที่เขาเห็น สิ่งที่เขาเจอ ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐานค่ะ การเล่าเรื่องแบบนี้คือการเล่าในสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ตัวเอกจะไม่รู้อะไรที่เกิดขึ้นขึ้นในอดีตของคนอื่น

    2. การเล่าเรื่องที่จบไปแล้ว : การเล่าแบบนี้คือ การให้ตัวเอกเล่าเรื่องที่เกิดแล้ว จบไปแล้ว และเอามาย้อนความให้คนอ่านฟัง เพราะฉะนั้น ระหว่างเล่าเรื่อง เพราะฉะนั้น การเล่าเรื่องจึงมีข้อจำกัดน้อยกว่าการเล่าแบบที่ 1 เช่น เราอาจจะเล่าถึงการกระทำของคนอื่นได้ โดยที่คนเล่าไม่ได้อยู่ในฉาก เป็นต้น (งงมั้ยเนี่ย ^^”)

    3. การเล่าให้คนอ่านฟัง : อันนี้รูปแบบหลักๆ ก็เหมือนข้อ 1 กับ 2 ค่ะ แต่ว่าจะเป็นการเล่าให้คนอ่านฟัง ซึ่งก็จะมีการใส่ลูกเล่นในภาษาลงไปได้ หรือคุยกับคนอ่านได้นั่นเอง อย่างเช่น คุณรู้มั้ยว่า... เอาล่ะ ถ้าคุณเป็นฉัน... (ว่าไปจ้า...)

    แต่ไม่ว่าจะเลือกรูปแบบไหน ก็ต้องใช้แบบเดียวกันให้สม่ำเสมอนะจ๊ะ

    นิยายแบบไหนที่เหมาะกับเล่าการแบบบุรุษที่ 1 ?

    คำตอบคือ

        1. เรื่องราวแนวรักหวานแหวว ซึ่งมีจุดขายอยู่ที่ความสดใสน่ารัก การเล่าแบบนี้จะทำให้เรื่องเป็นธรรมชาติ และทำให้อ่านแล้วอินได้มากกว่าจ้ะ

        2. การเล่าเรื่องที่เน้นเรื่องของคนเล่าแบบจริงๆ เลยและก็ต้องการเน้นความรู้สึกอันลึกซึ้งของคนเล่าด้วย เพราะถ้าเลือกแบบนี้ เราจะไม่สามารถสื่อความรู้สึกที่แท้จริงของตัวละครอื่นได้

    ต่อไปก็เป็นกฎเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการเล่าโดยบุรุษที่ 1

    1. การเล่าโดยบุรษที่ 1 ไม่ควรมีการเล่าแบบอื่นปนเข้ามาจ้ะ ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่แนะนำแนวนี้ แต่ถ้าจะทำจริง ก็ต้องทำให้ตลอดทั้งเรื่องค่ะ

    2. ภาษาที่ใช้จะเป็นกึ่งทางการกึ่งภาษาพูด ต้องเขียนให้อ่านแล้วรู้สึกว่าลื่นไหล เป็นธรรมชาติ เหมือนกับกำลังเล่าเรื่องให้เพื่อนคนหนึ่งฟัง แล้วระดับภาษาที่ใช้ก็ใช่ว่าจะจัดเต็มอย่างเดียวหมดนา มันก็ต้องขึ้นอยู่กับแนวเรื่องของเราด้วย ว่าเราควรจะภาษาแบบไหน

    3. การคงคาแรกเตอร์คนเล่า อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมากกกกจ้ะ เพราะภาษาที่ใช้ในเล่าเรื่อง อ่านไปแค่ตอนเดียวก็จับได้แล้วว่าคนเล่านิสัยและบุคลิกอย่างไร ดังนั้น ภาษาที่ใช้ในการเล่า กับคาแรกเตอร์ของคนเล่าต้องตรงกัน ห้ามหลุด ห้ามเพี้ยน เว้นแต่คนเล่าจะเป็นพวกปากไม่ตรงกับใจจ้ะ


    *************************

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×