จริยธรรมกับความเป็นครู - จริยธรรมกับความเป็นครู นิยาย จริยธรรมกับความเป็นครู : Dek-D.com - Writer

    จริยธรรมกับความเป็นครู

    จริยธรรมกับความเป็นครู เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับความเป็นครูกับสิ่งที่ครูควรเป็นในยุคปัจจุบันนี้

    ผู้เข้าชมรวม

    157

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    157

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  อื่นๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  18 พ.ย. 56 / 11:34 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      จริยธรรมกับความเป็นครู

       
                   อย่างที่รู้กันว่าในทุกสายอาชีพต่างก็มีจรรยาบรรณมีจริยธรรมในอาชีพด้วยกันทั้งนั้น แต่ที่สุดของวิชาชีพนั้นก็คือความเป็นครูเพราะครูคือผู้ที่สร้างคนให้เป็นคน หากครูไร้ซึ่งจริยธรรมนั้น ศิษย์ที่รับคำสอนนั้นจะเป็นเช่นไรก็โปรดคิดกันเอง วิชาชีพครูนั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่มีความจำเป็นในสังคมไทย แต่ในปัจจุบันนั้นเราก็ต่างเห็นข่าวออกมาเสมอว่าคุณไร้ซึ่งจริยธรรมความเป็นครู ไร้ซึ่งจรรยาบรรณ หากไม่มีข้อควรประพฤติหรือข้อควรปฏิบัติเหล่านี้ครูไทยก็จะยิ่งดูแย่ลงไปอีกในสังคมโลก แต่ถ้าหากครูไม่สามารถปฏิบัติตามข้อควรปฏิบัติเหล่านี้ได้แล้วนั้นก็ควรพินิจพิจารณาว่าตนนั้นจะเหมาะสมกับวิชาชีพชั้นสูงนี้หรือไม่ เพราะประเทศไทยเรานี้ต้องการผู้ที่ไม่ได้มีแต่ผู้ที่มีความรู้เพียงอย่างเดียว แต่ก็ต้องเป็นผู้ที่มีจริยธรรมที่ดีงามเป็นแบบอย่างให้เด็กและเยาวชนที่จะเติบใหญ่เป็นผู้ใหญ่ในอนาคตได้ เด็ก-นักเรียนตามสถานศึกษาต่างๆก็ยังมีกฎเกณฑ์ต่างๆที่ควรปฏิบัติเลย ครูก็สอนเด็กเสมอว่าควรปฏิบัติให้ตามกฎของโรงเรียน ตามกฎของสถานศึกษา ซึ่งมีเยอะกว่าจรรยาบรรณของวิชาชีพครูเสียอีก ครูซึ่งเป็นแบบอย่างให้แก่เด็กแต่ไม่สามารถประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีได้ ก็หาไม่ใช่ครูที่ดีพอ สอนนักเรียนได้แต่ตัวเองทำไม่ได้ เฉกเช่นที่ผมส่งเสริมว่าเราควรตัดวิชาแนะแนวออกจากกระบวนวิชาแล้วให้เปลี่ยนวิชานี้เป็นวิชาค้นหาตัวเองแทน แต่เมื่อบุคลากรทางการศึกษาบางคนก็ยังค้นหาตัวเองไม่พบ แก้ไขปัญหาชีวิตตนเองไม่ได้ มันก็เลยทำไม่ได้นั่นเอง หากคนเราไม่มีจริยธรรมนั้น ความเป็นคนดีมีคุณธรรมคงไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน จรรยาบรรณของครูตาม พรบ.ครูปี 2488 ที่มีอำนาจควบคุมและสอดส่องพฤติกรรมครูนั้นได้ กำหนดระเบียบว่าด้วยจรรยาบรรณ มารยาท และวินัย ตามระเบียบประเพณีของและประกาศใช้ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2539 มีข้อกำหนดจรรยาบรรณในวิชาชีพครูนั้นไว้ 9 ข้อดังนี้ 

      1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กาลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

      2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัย ที่ถูกต้องดีงาม ให้เกิดแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

      3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

      4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์

      5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ให้ศิษย์กระทาการใด ๆ อันเป็นการหาผลประโยชน์ ให้แก่ตนโดยมิชอบ

      - ในจรรยาบรรณข้อที่ 1-5 นั้นเป็นจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ 

      6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาชีพด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทาง วิทยาการ เศรษฐกิจสังคมและการเมืองอยู่เสมอ

      - ในจรรยาบรรณข้อที่ 6 นั้นเป็นจรรยาบรรณต่อตนเอง 

      7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรวิชาชีพครู

      - ในจรรยาบรรณข้อที่ 7 นั้นเป็นจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ 

      8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

      - ในจรรยาบรรณข้อที่ 8 นั้นเป็นจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบอาชีพ

      9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นาในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา และ วัฒนธรรมไทย

      - ในจรรยาบรรณข้อที่ 9 นั้นเป็นจรรยาบรรณต่อสังคม

       

      ข้อควรปฏิบัติเหล่านี้ไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่จะต้องบังคับกัน แต่เป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติเพื่อให้ วิชาชีพชั้นสูงนี้ยังคงอยู่กับประเทศนี้ต่อไปอีกยาวนานไม่ใช่แค่เป็นครูแค่อาชีพแต่ควรเป็นครูโดยบทบาท ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ หากครูไม่ดีแล้วนั้น ประเทศจะดีได้อย่างไรกัน ปัญหาทางการศึกษาส่วนมากครูมักโทษ ตัวระบบการศึกษา ซึ่งมันก็แค่ส่วนหนึ่ง โทษเด็ก-นักเรียนว่าไม่พัฒนา แต่ที่ผมอยากจะบอกที่มีปัญหาจริงๆ ไม่ใช่แค่เด็กนักเรียน ไม่ใช่แค่ตัวระบบการเรียนการสอน การสอบ แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงยากที่สุดคือ การพัฒนาระบบบุคลากรทางการศึกษาให้มีมาตรฐานและคุณภาพอย่างแท้จริง เพราะเหตุผลอะไรนั้นทุกคนที่อยู่และเคยผ่านระบบแบบนี้มาก็จะเข้าใจดีว่าทำไม ผมมีความเห็นว่า สถานศึกษาแต่ละที่ควรมีองค์กรเพื่อตรวจสอบความประพฤติครูบ้างเพื่อความยุติธรรมระหว่างครูกับ นักเรียน นักศึกษา ทำแบบจริงจังไม่ใช่แบบผักชีโรยหน้า มันก็คงไม่ยากเย็นอะไรนัก ก็เหมือนๆกับที่ครูตั้งห้องปกครอง หรือ ฝ่ายพัฒนาบุคลากรนักเรียน นั่นเองครูควบคุมความประพฤติเด็กได้แต่หารู้ไม่ครูเหล่านั้นก็ใช่ว่าจะมีมีความเป็นกลาง และเข้าใจเด็ก ใช้เหตุผลคุยกับเด็ก แต่ที่ผมเคยผ่านมาเห็นหลากหลายสถานศึกษาต่างๆที ครูมักใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา ผมจึงใคร่ขอให้บุคลากรทางการศึกษาเหล่านี้โปรดพิจารณาตนเองให้มากครับ ผมเป็นแค่เด็กและเยาวชนคนนึงที่อยากจะให้การศึกษาไทยนั้นพัฒนาไปได้อย่างดีและเต็มรูปแบบ ทุกคนเท่าเทียมกันและใช้ระบบการสอนแบบเด็กเป็นจุดศูนย์กลางไม่ใช่ใช้ครูเป็นจุดศูนย์กลาง ครูต้องสอนให้เด็กได้คิดได้ทำอะไรเอง ไม่ใช่สั่งๆ แล้วเด็กก็ไม่ได้คิดอะไรเลย โรงเรียน ครู สถานศึกษามีหน้าที่อะไรโปรดพิจารณาให้ดี หากบทความนี้ไม่มีความจริงอันใดแย้งได้ครับ  ผมอยากเห็นคุณภาพจริงๆ ไม่ใช่แค่ไร่ผักชี หยุดสร้างภาพให้กับสถานศึกษา หันมาสร้างคุณภาพ มาตรฐานให้กับการศึกษาไทยดีกว่า หยุดปลูกผักชีไว้ในสถานศึกษา เวลาใครมาประเมินสถานศึกษาก็ขยันโรย.........

       

       

        By       : Natheepat  Akkharabowornsit

                     เลขาธิการกลุ่มแนวคิดเสรีปฏิวัติการศึกษา

      เขียนวันที่ : 17/11/2556

          เวลา    :  17:09 น.

      www.facebook.com/page/แนวคิดเสรีปฏิวัติการศึกษา (ERIC)


      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×