ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมเรื่อง ผี ตำนาน ความเชื่อ เรื่องประหลาด เร้นลับ

    ลำดับตอนที่ #8 : [เรื่องประหลาด] พบDNAมนุษย์ต่างดาว!!?

    • อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 54


    เครดิต: http://www.thenightshock.com/detail.php?id=5

    จากพันธุกรรมที่พบในสะเก็ดดาวที่ตกในออสเตรเลีย อาจอธิบายได้ว่า
    1. มนุษย์มีต้นกำเนิดมาจากที่ใด
    2. เข้ามาอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 4,000 ล้านปีก่อนได้อย่างไร
    นางซีต้า มาร์ตินส์ นักวิทยาศาสตร์จากวิทยาลัยอิมพีเรียล กรุงลอนดอน ผู้ทำการศึกษา กล่าวไว้ว่า
    "พบรหัสพันธุกรรมที่เรียกว่า "นิวคลีโอเบสเซส" (Nucleobases) จำนวน 2 รหัสพันธุกรรมคือ "ยูเรซิล" และ "แซนทีน" บนสะเก็ดดาว "เมอร์ชิสัน" ที่ตกลงมายังโลกเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว ซึ่งทั้งสองรหัสนี้พบในดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอของมนุษย์ เรายังทราบว่าสะเก็ดดาวตกอื่นๆ นั้นมีลักษณะคล้ายกับเมอร์ชิสันที่เรานำมาวิเคราะห์ ดังนั้น สะเก็ดดาวที่นำชีวิต เช่น พืช คน สัตว์ มาสู่โลก อาจตกลงมายังโลกเมื่อ 3,800-4,000 ล้านปีก่อน จากนั้นจึงมีการวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนเป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ อย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน" นักวิทยาศาสตร์ยังพบ ว่า โมเลกุลของ 2 รหัสพันธุกรรมมี "คาร์บอน 13" จำนวนมาก ซึ่ง "คาร์บอน 13" ก่อตัวได้ในอวกาศเท่านั้น ส่วนประกอบที่สำคัญของชีวิต รวมทั้งนิวคลีโอเบสเซสจึงอาจอยู่ในอวกาศมากมาย ด้านนายมาร์ก เซพห์ตัน หนึ่งในคณะที่ทำการศึกษา มีความเห็นว่า "จากสิ่งที่พบในวัตถุที่ตกลงมายังโลก เป็นไปได้ว่า ชีวิตอาจเกิดขึ้นเมื่อมีสารประกอบทางเคมีรวมเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม" สำหรับ "ยูเรซิล" คือส่วนประกอบออร์แก นิกที่พบในอาร์เอ็นเอ ขณะที่ "แซนทีน" ไม่ได้เป็นส่วนประกอบของดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ แต่มีส่วนร่วมในการเกิดปฏิกิริยาในอาร์เอ็นเอของเซลล์ ส่วนสะเก็ดดาว เมอร์ชิสัน ตั้งชื่อตามเมืองเมอร์ชิสัน รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ที่สะเก็ดดาวตกลงมายังเมืองนี้เมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1969 สะเก็ดดาวมี
    ส่วนประกอบของคาร์บอนเนเชียส คอนไดรต์ และมีน้ำหนักรวมกว่า 100 กิโลกรัม โดยชิ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุดมีน้ำหนัก 7 กิโลกรัม

    -------------------
    โอ๊ยโหย่ว!! บอกแล้วอย่าลืมใช้วิจารณญาณนะ ^^

    ว้า ไม่มีกำลังใจเลยอะ T_T
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×