ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เล่าเรื่องถิ่นเมืองเหนือ

    ลำดับตอนที่ #11 : พระญาณกิตติเถระ

    • อัปเดตล่าสุด 29 ก.ย. 54


     

    พระญาณกิตติเถระ นักปราชญ์ล้านนาที่รจนาวรรณกรรมมากกว่าผู้อื่น

                   พระญาณกิตติเถระ เป็นชาวเชียงใหม่ มีอาวุโสกว่าพระสิริมังคลาจารย์ จำพรรษาอยู่วัดปนสาราม (สวนต้นขนุน) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของนครเชียงใหม่ จากผลงานของท่านที่รจนาไว้ ทำให้ทราบว่าท่านเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าติโลกราชเชื่อว่าท่านเคยไปศึกษาที่ประเทศลังกา ในรัชกาลกษัตริย์กรุงลังกาปรักกรมพาหุที่ ๖ และพระเจ้าภูวเนกพาหุที่ ๖ (พ.ศ. ๑๙๕๕-๒๐๒๔ครั้งนั้นศาสนสัมพันธ์ระหว่างเชียงใหม่ อยุธยา ลังกา และพม่า ดำเนินไปด้วยดี พระสงฆ์ล้านนาเดินทางไปประเทศเหล่านี้ได้อย่างเสรี ท่านมีชีวิตอยู่ในสมัยพระเจ้าติโลกราชและพระเจ้ายอดเชียงราย งานที่ท่านรจนาขึ้นหลังจากสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๘ พ.ศ. ๒๐๒๐ล้วนแต่เป็นภาษาบาลีทั้งสิ้น

                    ผลงานของพระญาณกิตติเถระรจนาคัมภีร์อธิบายเรื่องเกี่ยวกับพระวินัย และพระอภิธรรมและบาลีไวยากรณ์  มีทั้งหมด ๖ เรื่อง แบ่งตามหมวดดอันมีชื่อตามลำดับดังนี้

    พระวินัย

    ๑.สมันตปาสาทิกา อัตถโยชนา อธิบายศัพท์ คำ ข้อความยากในอรรถกถาวินัยปิฏกชื่อ สมันตปาสาทิกา ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทบัญญัติ ข้อแนะนำตักเตือนและบทลงโทษ สำหรับพระภิกษุผู้ผิดวันัย เป็นต้น

    ๒. ภิกขุปาฎิโมกขคัณฐีทีปนี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระปาฏิโมกข์ หรือศีลของพระภิกษุโดยเฉพาะ เช่น สงฆ์ควรปฏิบัติอย่างไรก่อนพิธีสวดปกฏิโมกข์ และอธิบายขยายความในประปาฏิโมกข์ รจนาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๕

    ๓.สีมาสังกรวินิจฉัย วินัยปิฏกกล่าวถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และสำคัญที่สุดของพระสงฆ์ คือ สีมา ซึ่งคู่กับพระอุโบสถ หรือโบสถ์เป็นที่ทำสังฆกรรม กิจกรรมที่ต้องทำโดยความสามัคคีเป็นเอกฉันท์ มีเสียงคัดค้านเพียงเสียงเดียว สังฆกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะ

    พระอภิธรรม

    ๔. อัฏฐสาลินีอัตถโยชนา คัมภีร์อธิบายอัฏฐสาลินี อรรถกถาอภิธรรมธัมมสังคณีโดยพระพุทธโฆสาจารย์

    ๕. สัมโมหวิโนทนี อัตถโยชนา คัมภีร์อธิบายอรรถกถาอภิธรรมวิภังค์ โดยพระพุทธโฆสาจารย์

    ๖.     ปัญจกรณัฏฐกถา อัตถโยชนา และเชื่อว่าท่านญาณกิตติเถระคงรจนาคู่มืออธิบายอภิธรรมที่เหลืออีก ๕ คัมภีร์ คือ ธาตุกถา ปุคคลปัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน รวมเรียกว่า ปัญจปกรณัฏฐกถา ที่ท่านพุทธโฆสาจารย์รจนาไว้

    ท่านพุทธทัตต์เถระชาวลังกาได้กล่าวว่า คัมภีร์เหล่านี้และคัมภีร์อื่นๆ อีกหลายคัมภีร์จารด้วยอักษรขอม ส่งจากประเทศไทยไปถวายเป็นบรรณาการแก่พระมหาเถรปุรัตคามธัมมลังสิริกาสุมนติสส แห่งปรมานันทวิหาร เมืองกอลเล ประเทศลังกาโดยผ่านราชทูตไทย

    ๗. อภิธัมมัตถวิภาวินี ปัญจิกา อัตถโยชนา คัมภีร์อธิบายอภิธัมมัตถวิภาวินี ซึ่งรจนาโดยพระสุมังคล ชาวลังกา ท่านรจนาเรื่องนี้ที่วัดปนสาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๕

    ไวยากรณ์

    ๘.มูลกัจจายนอัตถโยชนา คู่มืออธิบายบาลีไวยากรณ์สายกัจจนะ ซึ่งพระกัจจายนเถระ ภิกษุรุ่นหลังท่านพุทธโฆสาจารย์ (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒รจนามูลกัจจายนวยากรณ 

    วรรณกรรมทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ท่านญาณกิตติเถระได้รจนาระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๒๘-๒๐๔๓ ท่านเป็นนักปราชญ์ล้านนาที่รจนาวรรณกรรมไว้มากกว่าผู้อื่น





    ขอบคุณข้อมูลจาก
    -http://www.lannapoem.com(ประคอง นิมมานเหมินท์2517:31,(ลิขิต ลิขิตานนท์, 2527 : 478-480),(ลิขิต ลิขิตานนท์2523 : 106)
    -http://server.thaigoodview.com
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×