ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Xyirx's Music Stuff

    ลำดับตอนที่ #1 : FL Studio - Edirol Orchestral Automation Tutorial

    • อัปเดตล่าสุด 26 มี.ค. 52


    สไตล์การเขียนของผมในเรื่องนี้คงเป็นภาษาพูดเอาเสียมาก
    อย่าใส่ใจอะไรนักนะครับ ที่จริงอยากเขียนลงบล็อกอยู่แต่ว่า
    ดันไม่มีบล็อกอะไรกับชาวบ้านเขาเลยเอามาลงในนี้แทน

    ยังไงก็คิดว่าคงจะอยู่บนเว็บได้นาน และทำให้ผู้คนในเด็กดี
    ที่กำลังศึกษาวิธีการแต่งเพลงและการชื่อโปรแกรมได้รู้จัก
    อะไรมากขึ้นอีกสักหน่อย

    แต่เกริ่นไว้อีกสักนิดหนึ่งว่า ที่ๆ ผมจะเขียนนี้เหมาะสำหรับ
    คนที่ทำความรู้จักกับ FL Studio มาได้ระดับหนึ่งแล้ว
    ผมไม่ค่อยอยากอธิบายพื้นฐานมากสักเท่าไหร่ เพราะ
    เซิร์ชหาใน Google ก็เด้งออกมาเยอะ ยิ่งใน youtube
    ยิ่งเกลื่อน ฉะนั้นใครที่เพิ่งเริ่มใช้ FL Studio ก็ลองศึกษา
    ให้คุ้นเคยกับ Interface ก่อนนะครับ

    ----------------

    เอาละเมาท์มามากพอแล้ว เราก็จะเริ่มเข้าสู่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
    ในโปรแกรม Edirol Orchestral VST ที่ผมเริ่มใช้ได้ไม่กี่เดือนมา
    นี่เอง แต่ก็ชอบเพราะมีคุณภาพเสียงที่ดี และมีลูกเล่นให้ปรับ
    จนเหมือนฟังเพลงจากวงออเคสตร้าจริงๆ

    วันนี้ผมจะมาแนะนำเรื่องและวิธีการทำ Automation ของค่าต่างๆ ที่ปรับได้
    ในแต่ละ Channel ครับผม

    ก่อนอื่นเราก็ต้องเปิดโปรแกรม EO ขึ้นมาก่อน� มีท่าน Captain Stadium
    เขาพิมพ์ Tutorial ไว้แล้วผมก็โยนให้เขาเลยละกัน อิอิ (ขี้เกียจพิมพ์สอน)


    วิธีการเปิดและวางโน้ต Edirol Orchestral VST ใน FL Studio

    ไปที่นี่ได้เลยครับ :)

    http://glubdemons.exteen.com/20090320/edilrol-orchestral

    Credit: Captain Stadium
    ------------------------------------


    วิธีการปรับ Automation ของ Controller ใน Edirol Orchestral VST

    คราวนี้เราจะสังเกตได้ว่าเวลาเรากดคลิกขวาที่ Controller ตัวใดก็ตามในหน้า Normal Part Editor
    (กดปุ่ม Edit ที่ช่อง Channel ใดก็ได้ใน 16 Channel) มันจะไม่มีให้เราเลือก Create�Automation Clip
    เหมือน Controller ใน FL Studio ทั่วไป

    ยกตัวอย่างเช่นถ้าผมคลิกขวาที่ลูกบิดของ Filter: Cutoff
    ผมก็จะเห็นหน้าต่าง Control Change Assign เด้งขึ้นมา




    แต่หน้าต่างนี้ล่ะครับจะเป็นส่วนสำคัญมากในการทำ Automation Clip ของเรา
    ให้สังเกตหมายเลขของ Controller และ MIDI Channel ให้ดีๆ

    Controller คือ รหัสของตัวลูกบิดนั้นๆ ในกรณีของ Filter: Cutoff ก็คือ�74 นั่นเอง

    MIDI Channel คือ รหัสประจำ Channel เครื่องดนตรีซึ่งจะเท่ากับเลข Channel ที่เรากำลังแก้ไขอยู่
    เช่นถ้าผมกำลังเลือก Flute ที่อยู่ Channel 1 เลข MIDI Channel ก็จะเป็น 1

    ---

    คราวนี้เราจำเลขทั้งสองตัวนี้ไว้ กด OK ปิดหน้าต่างไป
    แล้วไปที่ Channel Settings Window ของ MIDI Out ที่ตั้งให้ Link Channel 1

    ตรงกลางๆ ของหน้าต่าง เราจะเห็นลูกบิดทั้งหมด 8 อันด้วยกัน เราจะใช้พวกนี้เป็นตัวกำหนด Automation
    ของเรา ให้คลิกขวาที่ลูกบิดอันซ้ายบนสุดแล้วจัดการเลือก Configure... ครับ




    ---

    คราวนี้จะมีหน้าต่าง Control Settings เล็กๆ ขึ้นมาให้เราปรับ

    Full Name: ชื่อรายละเอียดเต็มของลูกบิดนี้

    Short Name: ชื่อย่อของลูกบิดนี้ (จะโชว์ในหน้าต่าง Channel Settings)

    Controller# : รหัสของ Controller ที่ต้องการ Link (พิมพ์ -1 เพื่อปิดการ Link)

    รูปแบบ Controller: CC, RPN, NRPN, AFT

    Min/max: ปรับระดับต่ำสุดและสูงสุดของค่าลูกบิด (ปรับเป็นติดลบไม่ได้)

    เราก็จัดแจงเปลี่ยน Full Name เป็น Cutoff Frequency แล้วก็ Short Name เป็น Cutoff
    เพื่อให้ง่ายและสั้นต่อการเข้าใจ หลังจากนั้นก็ใส่ Controller # ให้ตรงตามที่เราจำเมื่อกี้ (74)
    ส่วนรูปแบบ ทิ้งไว้เป็น CC เหมือนเดิม� ค่า Min/Max ก็ 0/128




    เพียงเท่านี้ลูกบิดตัวนี้ก็จะทำงานเชื่อมกับลูกบิดใน Normal Part Editor เป็นที่เรียบร้อย
    แล้วเมื่อเราลองคลิกขวาที่ตัวลูกบิดนี้ โอ้! จอร์จ! ก็จะมีคำสั่ง Create Automation Clip
    ให้เราได้ใช้ตามอัธยาศัยได้อย่างปกติ ^_____^




    ------------

    วิธีนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับลูกบิดตัวอื่นๆ ได้หมด (แม้กระทั่ง Switch off/on ในบางหมวด)
    และไม่ต้องห่วงว่าลูกบิดของเราจะหมดเพราะในหน้าต่าง Channel Settings เราสามารถเปลี่ยนหน้า
    เพิ่มได้มากถึง 8 หน้า เท่ากับว่าเรามีลูกบิด (บวกกับแถบเลื่อนขึ้นลงด้านขวา) ใช้มากกว่า 60-70 อัน
    ต่อเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว

    เกล็ดน่ารู้

    1. ค่าปรับของลูกบิดใน EO บางตัวนั้นสามารถปรับจาก -63 ถึง 63 ได้ แต่ใน Channel Settings
    ของเราไม่สามารถตั้งค่าติดลบได้ ฉะนั้นค่า 0 ของใน EO จะมีค่าเท่ากับ 64 ในลูกบิด Channel Settings
    และ -63 จะเท่ากับ 0(และ1), และเช่นเดียวกัน 63 จะเท่ากับ 127

    2. และสำหรับตัวที่ปรับได้น้อยกว่า -63 ถึง 63 (เช่น Low Gain ในหมวด EQ ที่ปรับได้ -12 ถึง 12) ก็จะ
    ยึด 64 ใน Channel Settings เป็นค่า 0 ใน EO เช่นกัน� ฉะนั้นสมมุติว่าเราต้องการปรับ Low Gain เป็น
    -5 ก็จะต้องปรับไปที่ 59

    3. ความแตกต่างระหว่าง CC, RPN, NRPN, AFT ดูได้ที่ http://www.2writers.com/eddie/MidiGlossary.htm


    ยังมีเรื่อง MIDI Learn ที่ผมยังไม่ค่อยแน่ใจอยู่สักเท่าไหร่ครับ มีจะมีให้ติ๊ก learn ในหน้าต่าง Control Change Assign

    http://www.spectrasonics.net/instruments/rmxfeatures/archives/2004/10/09/feature-16/

    อ่านตัวนี้แล้วลองทำความเข้าใจดูหน่อยละกัน

    ----------

    จบแล้วครับ ขอบคุณครับที่อ่านจนจบ
    มีคำถามอะไรให้ E-mail มาหาผมที่
    wyrm_dragon@hotmail.com นะครับ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×