ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ

    ลำดับตอนที่ #6 : ระบบย่อยอาหารของสัตว์ [ 2 ]

    • อัปเดตล่าสุด 26 ก.ย. 51


                    ลำไส้เล็ก  (Small  intestine)  แบ่งออกเป็น  3  ส่วน  ลำไส้เล็กตอนต้น  (Duodenum)  ส่วนกลาง(Jejunum)  และส่วนปลาย  (Ileum) หน้าที่ของลำไส้เล็กคือ  ย่อยและดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วเข้าสู่กระแสเลือด   ซึ่งลำไส้เล็กส่วนต้นจะมีบทบาทมากที่สุดเพราะจะมีติ่งเยื่อออกมาเรียก  Villi  เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว  

    ในช่วง  2-3  วันแรกคลอดลูกสัตว์จะมีผนังลำไส้ที่สามารถดูดซึมโปรตีนตามธรรมชาติได้ดียิ่ง  จึงเป็นช่วงที่สัตว์สามารถถ่ายทอดภูมิคุ้มกันจากแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  (g-globulin)  ผ่านทางน้ำนมสู่ลูกที่เกิดใหม่  และความสามารถนี้จะลดลงอย่างรวดเร็ว  การทำงานของเอนไซม์เปปซิน   แอลฟาอมิเลส    มอลเทส  และซูเครส  จะมีบทบาทน้อย  ในขณะที่เอนไซม์แลคเตสจะมีบทบาทสูง  และค่อย ๆ  ลดบทบาทการทำงานลง  เมื่อสัตว์โตขึ้นเรื่อย ๆ  จนโตเต็มวัย

                    ไส้ติ่ง  (Cecum , Ceca)  อยู่ตรงรอยต่อระหว่างลำไส้ใหญ่กับลำไส้เล็ก  สัตว์ทั่วไปจะมีเพียงข้างเดียว  ในสัตว์ที่กินหญ้าเป็นอาหารไส้ติ่งจะมีขนาดใหญ่และช่วยในการหมักอาหาร  ในไก่ไล้ติ่งมีลักษณะเป็นถุงคู่ยาวประมาณ  6  นิ้ว  แยกออกสองข้างภายในจะมีของเหลวและอาหารที่ยังไม่ย่อย  หน้าที่ที่แท้จริงยังไม่ทราบชัด  เพราะสามารถตัดทิ้งได้โดยไม่ทำให้เกิดผลเสียแก่ร่างกาย     การย่อยอาหารในส่วนนี้เกิดขึ้นโดยการหมักของจุลินทรีย์  (Fermentation)  ทำให้กากอาหารที่ถูกขับถ่ายออกมาจากในส่วนนี้มีกลิ่นเหม็น

                    ลำไส้ใหญ่  (Large  intestine) แบ่งออกเป็น  2  ส่วน  คือ  Colon  กับ  Rectum อยู่ระหว่างลำไส้เล็กกับส้วงทวารหนัก  มีขนาดใหญ่กว่าลำไส้เล็กประมาณ  2  เท่า  ในสัตว์ที่กินหญ้าเป็นอาหารลำไส้ใหญ่จะยาวกว่าสัตว์กินเนื้อเพราะในช่วงนี้จะยังคงมีการหมักและดูดซึมอาหารได้อีกเล็กน้อย  ลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่หลักคือรับกากอาหารจากลำไส้เล็กส่งไปยังส้วงทวารหนัก  และทำหน้าที่ดูดซึมน้ำกลับ 

     

    ในไก่มีขนาดใหญ่กว่าลำไส้เล็กประมาณ  2  เท่า  มีความยาวประมาณ  4-5  นิ้ว 

     

                    ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง  ก็แบ่งออกเป็นสองส่วน   ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำ  และให้จุลินทรีย์ย่อยอาหารพวกเยื่อใยต่อไป  และยังมีการสังเคราะห์ไวตามิน  จุลินทรีย์สังเคราะห์ไวตามินบีรวมและไวตามินเค  มากน้อยตามระดับไวตามินที่มีในอาหาร  ไวตามินบี  12  จะสังเคราะห์ได้เมื่อในอาหารมีธาตุ  Co  อยู่ด้วย  เพราะ  Co  เป็นส่วนประกอบสำคัญของบี  12

     

                    ส้วงทวารหนัก  (Cloaca)  เป็นท่อทางเดินอาหารที่ขยายขนาดขึ้นในไก่  ซึ่งเป็นทางร่วมระหว่างอุจจาระจากลำไส้ใหญ่  ปัสสาวะจากไต  ไข่จากท่อนำไข่และน้ำเชื้อและน้ำเชื้อจากท่ออสุจิ  สิ่งต่าง ๆ  เหล่านี้จะผ่านส้วงทวารหนักไปสู่ทวารหนัก

                    ทวารหนัก  (Anus)  ประกอบด้วยกล้ามเนื้อหูรูด  เป็นส่วนปลายสุดของท่อทางเดินอาหาร  ทำหน้าที่ปล่อยสิ่งต่าง ๆ  ที่ผ่านส้วงทวารหนักออกไปสู่นอกร่างกาย      ในไก่ก่อนถึงทวารหนักจะเป็นส้วงทวารหนัก  (Cloaca)  เป็นท่อทางเดินอาหารที่ขยายขนาดขึ้น  ซึ่งเป็นทางร่วมระหว่างอุจจาระจากลำไส้ใหญ่  ปัสสาวะจากไต  ไข่จากท่อนำไข่และน้ำเชื้อจากท่ออสุจิ  สิ่งต่าง ๆ  เหล่านี้จะผ่านส้วงทวารหนักไปสู่ทวารหนัก

    อวัยวะประกอบระบบย่อยอาหาร

              เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหาร  โดยที่อาหารซึ่งสัตว์กินเข้าไปไม่ได้ผ่านอวัยวะเหล่านี้โดยตรง  ประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้

     

    1.       ตับ  (Liver)    มี  2  ชิ้น  ในไก่จะอยู่ข้างกึ๋นกับบ่วงลำไส้เล็ก  เป็นที่สร้างน้ำดีซึ่งมีสีเขียว  มี

    ฤทธิ์เป็นด่าง  นอกจากนี้ตับยังมีหน้าที่กลั่นกรองอาหารที่ย่อยแล้วก่อนผ่านเข้าสู่กระแสเลือด  เป็นที่เก็บ  glycogen  หรือแป้งในสัตว์  และเป็นที่เปลี่ยนสภาพโปรตีนให้เป็นกรดยูริค  รวมทั้งจากสิ่งต่าง ๆ  อีก  เพื่อให้สะดวกต่อการขับถ่ายของไต

     

    2.       ตับอ่อน  (Pancreas)  มีลักษณะเป็นแผ่นเล็กเรียวยาว  ในไก่อยู่ที่บ่วงลำไส้เล็กทำหน้าที่

    สร้างน้ำย่อย  Amylase ,  Trypsin , และ  Lipase  ส่งไปยังลำไส้เล็กส่วนต้น  เพื่อย่อยอาหารพวกแป้ง  โปรตีนและไขมัน  นอกจากนี้ตับอ่อนยังสร้างฮอร์โมน  Insulin  ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยรักษาระดับของการใช้ประโยชน์จากน้ำตาล  (Sugar  metabolism)  

     

    3.       ถุงน้ำดี  (Gall  bladder)  ทำหน้าที่เก็บน้ำดีที่สร้างขึ้นโดยตับ  แล้วส่งไปช่วยย่อยอาหารใน

    ลำไส้เล็กส่วนต้น  โดยทำให้อาหารไขมันเกิดการแตกตัว  ทำให้การย่อยอาหารอาหารไขมันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

     

    4.       ม้าม  (Spleen)  มีลักษณะเป็นก้อนกลมสีน้ำตาลแกมแดง  ทำหน้าที่แยกเม็ดเลือดแดงที่เสีย 

    เป็นที่เก็บธาตุเหล็กและเม็ดเลือดเสียในตัวไก่  หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×