คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : ค้นพบเพื่อนแคระๆ
เนื่องจากเทคโนโลยีด้านอวกาศในยุคปัจจุบัน ก้าวหน้าไปมาก ทำให้มีการค้นพบวัตถุในแถบไคเปอร์ ที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโตอีกเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น ซีนา อีริส เซดนา วารูนา เป็นต้น อย่างไรก็ตามวัตถุเหล่านี้มิได้มีวงโคจรอยู่ในสุริยะวิถี แต่กลับมีวงโคจรเป็นรูปวงรีเฉียงกับระนาบสุริยะวิถีดังเช่น วงโคจรของดาวพลูโตที่เอียงทำมุม 17 องศา กับระนาบสุริยะวิถี
ภาพที่ 1 ดาวเคราะห์แคระที่พบในแถบไคเปอร์ (ที่มา: NASA, JPL)
ดาวพลูโตถูกลดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ เนื่องจากมีวงโคจรเป็นรูปวงรีบางส่วน ซ้อนทับวงโคจรของดาวเนปจูน ส่วนดาวเคราะห์น้อยเซเรสถูกยกระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ เพราะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีรูปร่างค่อนข้างเป็นทรงกลม
ภาพที่ 2 ขนาดของดาวเคราะห์แคระเปรียบเทียบกับโลก (ที่มา: NASA, JPL)
หากพิจารณาดูจะพบว่า ดาวเคราะห์แคระตามนิยามใหม่นั้นมี 2 ประเภท คือ ดาวเคราะห์แคระที่เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ เช่น เซเรส เวสตา พัลลาส มีวงโคจรอยู่ในแถบเข็มขัดดาวเคราะห์น้อย ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ส่วนดาวเคราะห์แคระที่เป็นวัตถุไคเปอร์ซึ่งถูกเพิ่งค้นพบใหม่ มีขนาดใหญ่กว่า และมีวงโคจรรูปรีมาก มีวงโคจรถัดจากดาวเนปจูนและดาวพลูโตออกไป
ภาพที่ 3 วงโคจรของดาวเคราะห์แคระอีริส (2003UB213) เปรียบเทียบกับดาวพลูโต
(ที่ มา: http://web.gps.caltech.edu/~mbrown/planetlila)
ความคิดเห็น