ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บริวารดาวเคราะห์

    ลำดับตอนที่ #3 : บริวารดาวพฤหัสบดี

    • อัปเดตล่าสุด 27 ส.ค. 54



    ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์เท่าที่ค้นพบและยืนยันแล้ว
    62 ดวง ขณะนี้มันจึงเป็นดาวเคราะห์ที่มีบริวารมากที่สุดในระบบสุริยะ ดวงจันทร์ที่มีมวลมากที่สุด 4 ดวงหรือดวงจันทร์ของกาลิเลโอ (Galilean moons) ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1610 ถือเป็นวัตถุในระบบสุริยะกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกค้นพบว่าโคจรรอบดาวดวงอื่นที่ไม่ใช่โลกหรือดวงอาทิตย์ นับตั้งแต่สิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีดวงจันทร์ขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมากที่ถูกค้นพบและได้รับการตั้งชื่อตามชื่อคนรักหรือธิดาของเทพเจ้าจูปิเตอร์ของโรมัน (หรือเทพเจ้าซุสของกรีก)

    ดวงจันทร์ 8 ดวงของดาวพฤหัสบดีเป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ กล่าวคือ มีวงโคจรเกือบเป็นวงกลมไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดีไม่มากนัก ดวงจันทร์ของกาลิเลโอทั้ง 4 ดวงมีลักษณะเป็นทรงกลม ดังนั้นดวงจันทร์เหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหาก พวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง ส่วนดวงจันทร์อีก 4 ดวงมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีมากกว่าดวงจันทร์ของกาลิเลโอ เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นซึ่งคอยเสริมความหนาแน่นให้กับวงแหวนของดาวพฤหัสบดี

    ดวงจันทร์อื่น ๆ อีก 54 หรือ 55 ดวงเป็นบริวารขนาดเล็กซึ่งอยู่ห่างไกลจากดาวพฤหัสบดีมากกว่า จัดเป็นดาวบริวารผิดปกติ คือ มีความเอียงและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรสูง (วงโคจรไม่มีจุดศูนย์กลางจุดเดียวกันสม่ำเสมอ) บางดวงโคจรไปในทางเดียวกันและบางดวงโคจรสวนทางกับบริวารดวงอื่น ๆ ดวงจันทร์เหล่านี้อาจเคยเป็นดาวเคราะห์น้อยที่โคจรรอบดวงอาทิตย์มาก่อน แต่ถูกอำนาจแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีจับไว้ในภายหลัง มีดวงจันทร์ที่เพิ่งถูกค้นพบ 13 ดวงในกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อ บวกกับดวงที่ 14 ที่ยังไม่พบวงโคจรแน่ชัด ซึ่งหากค้นพบเมื่อใด จำนวนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีที่แน่นอนก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 63 ดวง

    อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×