ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    กำเนิดสุริยจักรวาล

    ลำดับตอนที่ #10 : โครงสร้าง

    • อัปเดตล่าสุด 24 ส.ค. 54


     โครงสร้าง


     


    องค์ประกอบหลักที่สำคัญของระบบสุริยะคือ ดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักประเภท G2 ซึ่งมีมวลคิดเป็น 99.86% ของมวลรวมทั้งระบบเท่าที่เป็นที่รู้จัก และเป็นแหล่งแรงโน้มถ่วงหลักของระบบ โดยมีดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ซึ่งเป็นวัตถุในวงโคจรใหญ่ที่สุดสองดวงครอบครองมวลอีก 90% ของมวลส่วนที่เหลือ



    วัตถุใหญ่ๆ ในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่อยู่บนระนาบใกล้

    เคียงกับระนาบโคจรของโลก ที่เรียกว่า ระนาบ
    สุริยวิถี ดาวเคราะห์

    ทั้งหมดจะเคลื่อนที่ใกล้เคียงกับระนาบนี้ ขณะที่
    ดาวหางและวัตถุ

    ใน
    แถบไคเปอร์มักเคลื่อนที่ทำมุมกับระนาบค่อนข้างมาก


    ดาวเคราะห์ทั้งหมดและวัตถุส่วนใหญ่ในระบบยังโคจรไปใน

    ทิศทางเดียวกับการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ (ทวนเข็ม

    นาฬิกา เมื่อมองจากมุมมองด้านขั้วเหนือของดวงอาทิตย์) มีเพียง

    บางส่วนที่เป็นข้อยกเว้นไม่เป็นไปตามนี้ เช่น 
    ดาวหางฮัล

    เลย์
     เป็นต้น



    ตามกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์ อธิบายถึง

    ลักษณะการโคจรของวัตถุต่างๆ รอบดวงอาทิตย์ กล่าวคือ วัตถุ

    แต่ละชิ้นจะเคลื่อนที่ไปตามแนว
    ระนาบรอบดวงอาทิตย์โดยมี

    จุด
    โฟกัสหนึ่งจุด วัตถุที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า (มีค่ากึ่งแกน

    เอก
    น้อยกว่า) จะใช้เวลาโคจรน้อยกว่า บนระนาบสุริยวิถีหนึ่งๆ

    ระยะห่างของวัตถุกับดวงอาทิตย์จะแปรผันไปตามเส้นทางบนทาง

    โคจรของมัน จุดที่วัตถุอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเรียกว่า "
    จุดใกล้

    ดวงอาทิตย์ที่สุด
    " (perihelion) ขณะที่ตำแหน่งซึ่งมันอยู่ห่างจาก

    ดวงอาทิตย์ที่สุด เรียกว่า "
    จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด" (aphelion)

    วัตถุจะเคลื่อนที่ได้ความเร็วสูงที่สุดเมื่ออยู่ในตำแหน่งใกล้ดวง

    อาทิตย์ที่สุด และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำสุดเมื่ออยู่ในตำแหน่ง

    ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ลักษณะของวงโคจรของดาวเคราะห์มีรูปร่าง

    เกือบจะเป็นวงกลม ขณะที่
    ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย และวัตถุ

    ใน
    แถบไคเปอร์ มีวงโคจรค่อนข้างจะเป็นวงรี



                เมื่อศึกษาถึงระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์ในที่ว่าง

    มหาศาลของระบบ เราพบว่า ยิ่งดาวเคราะห์หรือแถบต่างๆ อยู่ไกล

    จากดวงอาทิตย์เท่าไร มันก็จะยิ่งอยู่ห่างจากวัตถุอื่นใกล้เคียงมาก

    เท่านั้น ตัวอย่างเช่น 
    ดาวศุกร์มีระยะห่างจากดาวพุธประมาณ

    0.33
    หน่วยดาราศาสตร์ ส่วนดาวเสาร์อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดีไป

    4.3 หน่วยดาราศาสตร์ และ
    ดาวเนปจูนอยู่ห่างจากดาวยูเรนัสออก

    ไปถึง 10.5 หน่วยดาราศาสตร์ เคยมีความพยายามศึกษาและ

    อธิบายถึงระยะห่างระหว่างวงโคจรของดาวต่างๆ (ดูรายละเอียด

    ใน 
    กฎของทิเทียส-โบเด) แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีทฤษฎีใดเป็นที่

    ยอมรับ



    ดาวเคราะห์ส่วนมากในระบบสุริยะจะมีระบบเล็กๆ ของตัวเองด้วย โดยจะมีวัตถุคล้ายดาวเคราะห์ขนาดเล็กโคจรไปรอบตัวเองเป็นดาวบริวาร หรือ
    ดวงจันทร์ ดวงจันทร์บางดวงมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์เสียอีก ดาวบริวารขนาดใหญ่เหล่านี้จะมีวงโคจรที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ คือจะหันหน้าด้านหนึ่งของดาวเข้าหาดาวเคราะห์ดวงแม่ของมันเสมอ ดาวเคราะห์ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ 4 ดวงยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวด้วย เป็นแถบบางๆ ที่ประกอบด้วยเศษชิ้นส่วนเล็กๆ โคจรไปรอบๆ อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×