ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    [ACC] Art of sports Thailand

    ลำดับตอนที่ #11 : ซุ้มข้อมูลดีๆ

    • อัปเดตล่าสุด 30 ก.ค. 58







    [สีเทา]

    "ข้อมูลดีๆ ที่สีเทานำมาให้อ่านค่ะ...."





    ว่าวไทย

    มีหลักฐานชัดเจนว่า คนไทยเล่นว่าวกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ไม้ไผ่ทำโครงว่าว  เพราะไม้ไผ่มีความยืดหยุ่นสูงและสามารถเหลาให้ได้ทุกขนาดตามความต้องการ องค์ประกอบที่สำคัญของการเล่นว่าวคือ แรงลมที่ทำให้ว่าวลอยตัวอยู่ในอากาศได้ รองลงไปก็คือ สายป่านที่เหนี่ยวสามารถต้านแรงลมได้อย่างดี ว่าวที่เล่นกันอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยมีหลายชนิด มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปตามลักษณะเฉพาะของว่าวชนิดนั้นๆ เช่น ว่าวอีลุ้ม ว่าวดุ๋ยดุ่ย ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า เป็นต้น แต่เฉพาะว่าวจุฬากับว่าวปักเป้า เท่านั้นที่คนไทยนำมาแข่งขันต่อสู้กันจนกลายเป็นประเพณี จึงทำให้ว่าวจุฬาและว่าวปักเป้า กลายเป็นสัญลักษณ์ของว่าวไทย
     
    ในการแข่งขันใช้ว่าวต่อสู้กันนั้นเป็นการแสดงฝีมือในการเล่นว่าวเพื่อเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง โดยการทำงานประสานกันเป็นกลุ่มเป็นพวก ต้องใช้ประสบการณ์และชั้นเชิงในการเข้าโจมตี และหลบหลีกจากการโจมตีของอีกฝ่ายหนึ่ง




    หมากกระดาน

    หมากกระดาน เป็นกีฬาเชิงปัญญา มีกระดานเป็นองค์ประกอบหลักในการเล่น  การเล่นหมากกระดานนั้นต้องใช้ความคิดอย่างเป็นระบบ ในการวางแผนและแก้ปัญหา จึงเป็นกีฬาที่ช่วยพัฒนาสมองและยังช่วยบรรเทาอาการสมองเสื่อมก่อนวัยอันควรได้อีกด้วย หมากกระดาน ที่นิยมเล่นกันในประเทศไทยมี ๓ ชนิดได้แก่ หมากรุกไทย หมากฮอส และหมากสกา






    หมากรุก

    คนไทยสมัยก่อนมักเล่นหมากรุกกันตามวัดและในราชสำนัก ตั้งแต่ชั้นพระมหากษัตริย์ลงมาจนถึงประชาชน นับว่าเป็นการเล่นที่ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ใครคิดเป็น รู้จักใช้สติปัญญาก็นับว่าสามารถเล่นหมากรุกได้สนุกเท่าเทียมกัน มีบันทึกว่าพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ทรงโปรดหมากรุก และมักใช้หมากรุกเพื่อการทดสอบสติปัญญาของข้าราชบริพาร หมากรุกสมัยก่อนเป็นที่นิยมมาก ดูได้จากเวลามีงานต่างๆ เช่น งานวัด งานบวช งานศพ เจ้าภาพจะหาหมากรุกมาให้เล่นกันอย่างสนุกสนานตลอดรุ่ง บางครั้งเป็นการเล่นเพื่อประชันกันระหว่างนักเลงหมากรุกเจ้าถิ่นกับต่างถิ่นก็มี
     
    ด้วยศิลปะเชิงชั้นการเล่นที่น่าทึ่ง หมากรุกกลายเป็นกีฬาประจำชาติไทยที่มีการจัดประลองแข่งขันอย่างเป็นทางการ ในระหว่างสถาบันการศึกษาหรืองานใหญ่ๆ ระดับจังหวัดมาจนถึงการแข่งขันระดับชาติ เช่น การประลองหมากรุกที่สนามหลวง เป็นต้น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการเล่นหมากรุกได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบวิธีเล่น การเดินหมากแต่ละตัว รวมทั้งกฎ กติกาการแข่งขันให้เหมาะสมกับการเป็นกีฬาที่สามารถบันทึกแต้มนับคะแนนกันได้อย่างชัดเจน และสร้างความสนุกสนานกาผู้ชมได้มากขึ้นมีการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลและการออกข่าวทางสื่อมวลชนกันอย่างมีสีสันยิ่งนัก
     
      ตำราหมากรุกที่เกิดจากนักเลงหรือเซียนหมากรุกหลายรุ่น ต่างก็ได้บันทึกกลเม็ดเด็ดพราย
    ไว้ถ่ายทอดแก่ลูกหลาน แต่ละรุ่นละท่านก็มีเทคนิคการเล่นที่น่าสนใจต่างกัน หากสนใจจริงๆ เราสามารถหาตำราหมากรุกมาศึกษาได้ไม่ยาก และสามารถติดตามชมการแข่งขันหมากรุกได้ในสนามหลายแห่ง เช่น 
    ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือหมากรุกออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น



    วิ่งควาย

    ความนำ: วิ่งควาย เป็นกีฬาเก่าแก่ดั้งเดิมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นชนิดหนึ่งของไทย เป็นการแสดงออกถึงความผูกพันแน่นแฟ้นระหว่างคนกับควายไทยซึ่งเป็นสัตว์ใช้งานเกษตรกรรมสารพัดประโยชน์ที่ทรงคุณค่าคู่บ้านคู่เมือง เมื่อยามว่างจากงานก็นำควายมาประลองแข่งขันกันเป็นการพัฒนาบำรุงสายพันธ์ควายไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นโดยให้คนขี่หลังควายควบคุมควายให้วิ่งแข่งขันกัน ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มมีการเล่นวิ่งควายตั้งแต่เมื่อใด แต่พบหลักฐานว่ามีการเล่นวิ่งวัว วิ่งควายกันแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (ชัชชัย โกมารทัต, ๒๕๒๗) ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นประมาณรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ พบหลักฐานการเล่นวิ่งควายในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ตอนงานสมโภชอภิเษกศรีสุวรรณกับนางเกษรา มีความกล่าวถึงการเล่นวิ่งควายว่า "...พอกลองหยุดจุดดอกไม้ไฟสว่าง แสงกระจ่างแจ่มเหมือนดังเดือนหงาย ดอกไม้กลคนชิงกันวิ่งควาย พวกผู้ชายสรวลเสเสียงเฮฮา..." (สุนทรภู่, ๒๕๑๔) ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พบว่าวิ่งควายนิยมเล่นในเชิงการพนันด้วย ถึงขนาดทางราชการต้องกำหนดให้เสียภาษีอากรบ่อนเบี้ย (กรมศิลปากร, ๒๕๐๗) ในปัจจุบันวิ่งควายยังมีนิยมเล่นกันอยู่ โดยเฉพาะประเพณีวิ่งควายที่จังหวัดชลบุรีนั้นจัดเล่นกันในช่วงก่อนออกพรรษาสืบทอดต่อเนื่องกันมายาวนาน จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก

    ลักษณะเฉพาะที่แสดงอัตลักษณ์: ๑.ควายไทยเป็นสัตว์ใช้งานเกษตรกรรมสารพัดประโยชน์ที่ทรงคุณค่าคู่บ้านคู่เมืองไทย วิ่งควายจึงเป็นการแสดงออกถึงความผูกพันแน่นแฟ้นระหว่างชาวนาไทย ควายไทย และอาชีพเกษตรกรรมทำนาของไทย ๒. การเล่นวิ่งควายของไทยมีประวัติยาวนานกว่า๒๕๐ปี อย่างน้อยมีการเล่นแล้วในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งปรากฏหลักฐานชัดเจน ๓. ลักษณะวิธีการเล่นวิ่งควายเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของไทย ที่ไม่เหมือนชาติอื่นๆ ๔. ในปัจจุบันยังมีนิยมเล่นกันอยู่ โดยเฉพาะประเพณีวิ่งควายที่จังหวัดชลบุรีมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก

    วิธีการเล่น: มีลักษณะเป็นการเล่นขี่ควายแข่งขันวิ่งเร็วกัน โดยผู้เล่นแต่ละคนจะขึ้นขี่หลังควายของตนเองอยู่หลังเส้นเริ่ม เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มเล่นก็จะควบคุมควายให้วิ่งไปให้เร็วที่สุดแข่งขันกันไปให้ผ่านเส้นชัย ควายใครวิ่งผ่านเส้นชัยก่อนจะเป็นผู้ชนะ

    คุณค่า: ด้านร่างกายจะช่วยพัฒนาความแข็งแรงของแขน ลำตัว สะโพก ขา เสริมสร้างการทรงตัวที่ดี ด้านจิตใจจะช่วยส่งเสริมความร่าเริงแจ่มใส ความสนุกสนาน ด้านอารมณ์จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ ด้านสติปัญญาจะช่วยส่งเสริมการใช้ความคิด การวางแผน การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ ด้านสังคมจะช่วยฝึกการเคารพกฎกติกา การยอมรับความสามารถผ็อื่น การเป็นมิตรสร้างสัมพันธ์ ความมีน้ำใจนักกีฬา ด้านวัฒนธรรมจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้วิถีชีวิตของคนกับควาย ความสำคัญของควายกับอาชีพเกษตรกรรมของไทย




    วิ่งวัว

    จุดกำเนิดและประวัติ

    เป็นการวิ่งแข่งขันความเร็ว ระยะทาง ๑๐๐ เมตร ส่วนใหญ่เพศชาย อายุ ๑๕ – ๒๐ ปี เล่นตามงานวัด เทศกาลตรุษสงกรานต์ ตามลานวัด หรือทุ่งนา ที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้ว นิยมเล่นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

    ลักษณะเฉพาะ

    เป็นการวิ่งแข่งขันความเร็วครั้งละ ๒ คน ไม่สวมรองเท้า แบ่งทางวิ่งเป็น ๒ ช่องทาง ใช้ไม้ไผ่ทำช่องทาง ระยะยาว ๑๐๐ เมตร ปลายทางจะมีธงสามเหลี่ยมสวมอยู่ปลาย กระบอกไม้ไผ่ เอนประมาณ ๔๕ องศา เป็นจุดปลายทาง ผู้วิ่งวัวจับธงได้ก่อน เป็นผู้ชนะ ก่อนปล่อยตัว จะใช้เชือกปอยาวประมาณ ๖ เมตร ผู้ไว้ที่เอวของผู้วิ่งวัวสองคน ดึงเชือกมาไว้ที่เขียงด้านหลัง แล้วใช้มีดสับให้เชือกขาด ผู้วิ่งวัวจะค่อยฟังเสียงมีดกระทบกับเขียงเป็นสัญญาณว่าออกวิ่งได้

    วิธีเล่น

    ฝ่ายจัดสถานที่จะทำลู่วิ่งไว้สองช่องทาง ทุบดินให้เรียบใช้ไม้ไผ่แบ่งลู่เป็นแนวยาว และกันไม่ให้ผู้ชมล้ำเข้ามาในทางวิ่ง ยาวไปตลอด ๑๐๐ เมตร เมื่อผู้ปล่อยตัว สับมีดบนเขียงเพื่อตัดเชือกให้ผู้วิ่งวัวออกวิ่งโดยทันที่ เพื่อไปคว้าธงที่อยู่ปลายไม้ไผ่ ใครได้ธงคนนั้นเป็นผู้ชนะ ถ้าผู้วิ่งวัวมีฝีเท้าใกล้เคียงกัน อาจจับธงพร้อมๆ กัน ให้ดูว่ามือใครอยู่เหนือกว่า ให้ผู้นั้นชนะ ก่อนการวิ่ง วัว จะมีการเปรียบผู้วิ่งโดยยืนบนโต๊ะสูง ให้ผู้ชมเลือกว่าจะเชียร์ผู้ใดเป็นผู้ชนะ บางครั้งความสูงและอายุต่างกัน ถ้าเจ้าของวัวยินดีที่จะให้วิ่งวัว ก็จะมีการต่อรอง โดยมีฝ่ายที่ตัวเตี้ย เป็นรอง ฝ่ายตัวสูงจะเป็นต่อ

    คุณค่า

    เป็นการออกกำลังกาย เป็นการวัดฝีเท้าว่าใครวิ่งเร็วกว่ากัน และเป็นการแสดงความสามารถเฉพาะตัว

    สภาพปัจจุบัน

    ไม่มีการวิ่งวัว แต่เป็นการวิ่งแข่งขัน ๑๐๐ เมตร ๒๐๐ เมตร มีอุปกรณ์ เช่น รองเท้าวิ่ง ลู่วิ่ง การปล่อยตัว ใช้เสียงปืนหรือนกหวีด การตัดสิน ให้ออกแตะเชือกที่ปลายทาง



    -----------------------------------------------------------

    โรลเพลย์เล็กน้อยว่ารู้สึกอย่างไร  (ไม่จำเป็น...มากนัก)






    [กลับซุ้มอื่นๆ]

     


    © themy  butter
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×