ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    [ACC] Art of sports Thailand

    ลำดับตอนที่ #4 : ซุ้มที่ ๒ ตะกร้อ

    • อัปเดตล่าสุด 30 ก.ค. 58






    [สีเทา]

    สีเทาเดินเข้ามาภายในซุ้มที่สองอย่างเงียบงัน ก่อนจะโยนสิ่งๆหนึ่งให้กับเหล่ารุ่นน้องปีหนึ่งดู

    "ทายสิ ว่าสิ่งๆนี้คืออะไร"


    ประวัติตะกร้อ กีฬาระดับภูมิภาคเอเชีย


    "ใช่แล้ว นี่คือลูกตะกร้อ"

    สีเทาโยนลูกตะกร้อไปมา แต่แล้วก็กลับเหล่สายตามามองน้องๆอย่างรู้งาน

    "ประวัติของตะกร้อ มีดังนี้..."




     ------------------------------------- 

          ประวัติเซปักตะกร้อ กีฬาตะกร้อ
     
    การแข่งขันตะกร้อตะกร้อ เป็นการละเล่นของไทยมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด แต่คาดว่าราว ๆ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศอื่นที่ใกล้เคียงก็มีการเล่นตะกร้อ คนเล่นไม่จำกัดจำนวน เล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ตามลานที่กว้างพอสมควร ตะกร้อที่ใช้เดิมใช่หวายถักเป็นลูกตะกร้อ ปัจจุบัน นิยมใช้ลูกตะกร้อพลาสติก
    การเตะตะกร้อเป็นการเล่นที่ผู้เล่นได้ออก กำลังกายทุกสัดส่วน ฝึกความว่องไว ความสังเกต มีไหวพริบ ทำให้มีบุคลิกภาพดี มีความสง่างาม และการเล่นตะกร้อนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง
    ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
    ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า "ชิงลง"
     
              ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
     
             ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak
             ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K'au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
             ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
             ประกาศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด

      กีฬาเซปักตะกร้อ หรือ ตะกร้อ ยังไม่มีหลักฐานระบุที่แน่ชัดว่ามีจุดกำเนิดจากประเทศใด เพราะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง ไทย มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ ต่างคนต่างบอกว่าตนเองเป็นต้นกำเนิดขึ้นมาทั้งนั้น


     
     
    วิวัฒนาการการเล่นกีฬาตะกร้อ
     
        การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญและหลีกหนีความจำเจ ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร
    ตะกร้อนั้นมีมากมายหลายประเภท เช่น
    - ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง – ตะกร้อพลิกแพลงเป็นต้น
    เมื่อมีการวางกติกาและท่าทางในการเล่นอย่างลงตัวแล้วก็เริ่มมีการแข่งขันกันเกิดขึ้นในประเทศไทยตาม
    ประวัติของการกีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ได้บันทึกไว้ดังนี้
    พ.ศ. 2472 กีฬาตะกร้อเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกภายในสมาคมกีฬาสยาม
    พ.ศ. 2476 สมาคมกีฬาสยามประชุมจัดร่างกติกาในการแข่งขันกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายและเปิดให้มีการแข่งขันในประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก
    พ.ศ. 2479 ทางการศึกษาได้มีการเผยแพร่จัดฝึกทักษะในโรงเรียนมัธยมชายและเปิดให้มีแข่งขันด้วย
    พ.ศ. 2480 ได้มีการประชุมจัดทำแก้ไขร่างกฎระเบียบให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ เจ้าพระยาจินดารักษ์ และกรมพลศึกษาก็ได้ออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ
    พ.ศ. 2502 มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงเทพฯ มีการเชิญนักตะกร้อชาวพม่ามาแสดงความสามารถในการเล่นตะกร้อพลิกแพลง
    พ.ศ. 2504 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 2 ประเทศพม่าได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน นักตะกร้อของไทยก็ได้ไปร่วมแสดงโชว์การเตะตะกร้อแบบพลิกแพลงด้วย
    พ.ศ. 2508 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการบรรจุการเตะตะกร้อ 3 ประเภท เข้าไว้ในการแข่งขันด้วยก็คือ
    - ตะกร้อวง – ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง
    อีกทั้งมีการจัดประชุมวางแนวทางด้านกติกาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสะดวกในการเล่นและการเข้าใจของผู้ชมในส่วนรวมอีกด้วย
    พอเสร็จสิ้นกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 กีฬาตะกร้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก บทบาทของประเทศมาเลเซียก็เริ่มมีมากขึ้น จากการได้เข้าร่วมในการประชุมตั้งกฎกติกากีฬาตะกร้อประเภทข้ามตาข่าย หรือที่เรียกว่า ” เซปักตะกร้อ ” และส่งผลให้กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 จนถึงปัจจุบัน

     ------------------------------------- 


    "ประวัติก็ประมาณนี้ อีกทั้งตะกร้อนี้ก็ยังเกี่ยวกับเครื่องทรมาณชนิดหนึ่งของไทยด้วยล่ะจ้ะ... นั่นก็คือตะกร้อช้างเตะนั่นเอง...





    ประวัติกีฬาตะกร้อในประเทศไทย
     
       ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้
    โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า , หนังสัตว์ , หวาย , จนถึงประเภทสังเคราะห์ ( พลาสติก )
    ความหมาย คำว่าตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ . ศ . 2525 ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า ” ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ “

     ------------------------------------- 

    "ส่วนการเล่นนั้นมีหลากหลายวิธีการ เดี๋ยวเทาๆจะสอนวิธีเล่นๆคร่าวนะคะ"

    สีเทายิ้มขึ้นมา ก่อนจะหยิบลูกตะกร้อออกมา

    "วิธีเล่นมีดังนี้"


    ขั้นตอนการฝึกการเล่นตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านใน
     
    1.  ผู้เล่นเตรียมรับลูกที่ลอยมา  โดยยืนทรงตัวแยกขาทั้งสองข้างย่อตัวลงเล็กน้อยตามองตรงไปยังลูกตะกร้อ  ยกเท้าที่จะเตะให้ข้างเท้าด้านในขนานกับพื้นแล้วเตะลูกเป็นแนวตรงและเอนตัว ไปด้านหลัง
    2.  เมื่อลูกที่เตะลอยขึ้น  ผู้เล่นย่อเข่าข้างที่ไม่ได้เตะ  ให้เท้าที่จะใช้เตะอยู่ด้านหลังเหวี่ยงเท้าข้างที่จะเตะสัมผัสลูกด้วยข้าง เท้าด้านในเพื่อส่งลูกไปตามทิศทางที่ต้องการ 
     
    การเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า
    1. การเดาะลูกด้วยหลังเท้า ปลายเท้าที่เดาะลูกจะกระดกขึ้น และลูกตะกร้อจะถูกหลังเท้าค่อนไปทางปลายเท้าบริเวณโคนนิ้วเท้าทั้งห้า ใช้ปลายเท้าตวัดลูกตะกร้อให้ลอยขึ้นมาตรง ๆ
      2.  ยกเท้าที่เดาะลูกให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
      3. ขณะที่เดาะลูกควรก้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
      4. ควรฝึกเดาะลูกตะกร้อด้วยหลังเท้าให้ได้ทั้งสอง 
     
    การเดาะตะกร้อด้วยเข่า
             ยืนในท่าเตรียมพร้อม มือถือลูกตะกร้อโยนแล้วเดาะด้วยเข่าข้างถนัดต่อเนื่องกันจนกว่าลูกตะกร้อจะ ตกพื้น แล้วหยิบลูกตะกร้อขึ้นมาเดาะใหม่ ปฏิบัติเหมือนเดิมหลาย ๆ ครั้ง เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า การเดาะด้วยเข่าข้างที่ถนัดดีแล้ว ให้เปลี่ยนเดาะด้วยเข่าข้างที่ไม่ถนัดบ้าง หรืออาจจะสลับการเดาะด้วยเข่าทั้งสองข้างก็ได้
     
    การเล่นตะกร้อด้วยศีรษะ
    เป็นทักษะพื้นฐานที่มีความสำคัญสำหรับการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อเป็นอย่างมาก นิยมใช้ในการเปิดลูกเสิร์ฟ การรุกด้วยศีรษะ ( การเขก ) การรับ การส่ง การชงลูก หรือการตั้งลูกตะกร้อ และการสกัดกั้นหรือการบล็อกลูกจากการรุกของฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นจะต้องฝึกหัดการเล่นตะกร้อด้วยศีรษะได้หลาย ๆ ลักษณะ โดยเฉพาะผู้เล่นตำแหน่งหน้าซ้ายและหน้าขวา จะต้องเล่นตะกร้อด้วยศีรษะได้เป็นอย่างดี 

     ------------------------------------- 

    "ประมาณนี้ค่ะ..."

    สีเทาหันมามองน้องๆหลังจากสาธิตการเล่นเสร็จ

    "ให้น้องๆลองหัดเตะเล่นกันดูก่อนนะคะ แล้วเราค่อยไปซุ้มต่อไปกัน"


    ----------------------------------------------------

    สิ่งที่ทุกคนต้องทำ!!!

    ให้โรลเพลย์เกี่ยวกับการฝึกเตะตะกร้อค่ะ

    .

    .

    .

    .


    [ซุ้มที่ ๓]
     

    © themy  butter
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×