ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พรีเซ้น - พุทธปรัชญา

    ลำดับตอนที่ #6 : สำนักมาธยามิกะ - ญาณวิทยา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 767
      0
      18 ก.พ. 54

    บทที่ ๒ ญาณวิทยา

    ๑.ญาณวิทยา ความหมายและขอบเขต

    ๑.๑ ความหมายของญาณวิทยา       

            ญาณวิยา หรือ ทฤษฎีความรู้ (Epistemology) คือ ปรัชญาสาขาที่ว่าด้วยเรื่องของบ่อเกิด ลักษณะหน้าที่ ประเภท ระเบียบวิธีการและความสมเหตุสมผลของความรู้ ปัญหาทางญาณวิทยาเป็นปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับมนุษย์ เราจะรู้ความจริงของโลกได้อย่างไร? ปัญหาในเรื่องญาณวิทยาคือความรู้ที่ใช้เพื่อการพิสูจน์ความจริงนั้นว่าเป็นอย่างไร ?

            ตัวอย่างเช่น ถ้าบุคคลเชื่อว่าความจริงแท้คือวัตถุ สิ่งที่จะใช้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าวัตถุมีจริงหรือไม่ก็คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

            การพิสูจน์เรื่องนิพพานต้องใช้การตรัสรู้หรือการบรรลุธรรมอันเป็นเรื่องของจิต

            การพิสูจน์เรื่องพระเจ้าก็ต้องใช้มหากรุณาของพระเจ้าในการเปิดเผยตัวเองให้ผู้ที่เชื่อพระองค์ได้รับรู้

    ๑.๒ขอบเขตในการแสวงหาความรู้

            ๑. ผัสสะ สามารถรู้ได้โดยประสาทสัมผัส

            ๒. ความเข้าใจ สามารถรู้ได้โดยการอนุมาน

            ๓. อัชฌัตติกญาณ สามารถรู้ได้โดยสามัญสำนึก

            ๔. การตรัสรู้  สามารถรู้ได้โดยญาณวิเศษ หรือการบรรลุธรรม

            ๕. วิวรณ์  สามารถรู้ได้โดยการเปิดเผยตัวเองของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ

     

     

     

     

    ๒. ญาณวิทยา ของสำนักมาธยมิกะ

    ๒.๑ ระดับของความรู้[1]

                มหาวิทยา

            ท่านนาคารชุนกล่าวว่า สารัตถะแห่งสรรพสิ่งคือ ศูนยตา อวิทยาทำให้เรามองเนสรรพสิ่งเหมือนมีอยู่จริงและเที่งแท้ถาวร การรู้แจ้งสรรพสิ่งว่าเป็นศูนยตา เรียกว่า มหาวิทยา

            มหาวิทยา เป็นความรู้ขั้นประจักษ์พิเศษที่แทงตลอดศูนยตาซึ่งเป็นสัจจธรรมขั้นสูงสุดได้ มหาวิทยาเป็นความรู้บริสุทธิ์ เกิดจากการปฏิบัติสมถกรรมฐานจนได้อัปปนาสมาธิ และใช้สมาธินั้นเป็นฐานปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนบรรลุโพธิสัตวภูมและพุทธภูมิ

            มรรคาไปสู่จุดหมายสูงสุดเชิงญาณวิทยาในทรรศนะของมาธยมิกะจึงไม่แตกต่างไปจากมรรคาที่ฝ่ายเถรวาทถือปฏิบัติกัน ซึ่งเริ่มต้นด้วยสมถะแล้วจบลงด้วยวิปัสสนามหาวิทยาของท่านนาคารชุนจึงเป็นสิ่งเดียวกับสัมมสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าไม่ใช่โพธิยาณทั่วไปของพระสาวก นัยที่ดูเหมือนจะต่างออกไปเล็กน้อยคือ สถานะของมหวิทยา

            ลักษณะการบรรยายสิ่งสูงสุดในแต่บะเรื่องของมหายานคือ การโน้นเอียงไปเชิงรูปธรรม โยคาจารบรรยายอาลยวิชญานโดดเด่นมากกระทั่งมีสถานะเหมือนพรหมัน มาธยมิกะบรรยายศูนยตาในลักษณะเดียวกัน สถานะของศูนยตาจึงเหมือนพรหมัน มหวิทยาก็เช่นกัน ลักษณะที่มหาวิทยารู้แจ้งศูนยตา (รู้แจ้งสรรพสิ่ง) จะบอกว่าเหมือนกับการที่ชีวาตมันรู้แจ้งปรมาตมันก็มีส่วนถูกอยู่ไม่น้อยเพราะฉะนั้น ถ้าจะสรุปว่า มหาวิทยาก็คือพิญาณ หรือสัมมาสัมโพธิญาณ อาจจะถูกระดับหนึ่ง แต่ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของมาธยิมะทั้งหมด

            มหาวิทยาของมาธยมิกะคือโลกุตตรปัญญาในฝ่ายเถรวาท หรือจะเรียกว่าอาสวักขยญาณก็ได้ มหายานถือว่า ในเชิงจริยศาสตร์ มหาวิทยาอยู่ในระดับเดียวกับโลกุตตรปัญญาหรืออาสวักขยญาณ แต่ในเชิงอภิปรัชญาอยู่ระดับสูงกว่า เพราะมหาวิทยาคือโลกุตตรตมปัญญา กล่าวคือ ในเชิงจริยศาสตร์ หมายถึงปัญญาที่ไม่ได้ทำลายเฉพาะม่านคือกิเลสเท่านั้น (กิเลสาวรณะ) แต่ทำลายม่านคือญาณด้วย(ชเญยวรณะ) ในเชิงอภิปรัชญา หมายถึงปัญญาที่ไม่ได้แทงตลอดเฉพาะปุทคลศูนยตาเท่านั้น แต่งตลอดธรรมศูนยตาด้วย

            อวิชชา

            อวิชชา หรือ อวิทยา ไม่ใช่ปฏิบัติการแยกจากการเกิดขึ้นแห่งปรัชญาทั้ง ๒ อย่างเป็นไปในขณะเดียวกัน เป็นด้านที่แตกต่างกันทั้ง ๒ ของกิริยามี่เหมือนกัน เป็นหลักการเดียวกัน ในลักษณะสูงสุดแห่งปรัชญากับอวิชชา ไม่มีความแตกต่างกัน

    ๒.๒ ระดับของความรู้

            ระดับของความรู้ตามที่ท่านนาคารชุนได้กล่าวไว้นั้น มีอยู่ ๒ ระดับอันได้แก่ ๑.ปรมัตถสัจจะ คือ ความจริงของอริยะบุคคล มีแต่อริยะบุคคลเท่านั้นจึงจะเข้าถึงและมองเห็นความแตกต่างระหว่างระดับของความเป็นจริงต่างๆ ๒. สมมติสัจจะ คือ สัจจธรรมที่มนุษย์ปุถุชนธรรมดารู้เข้าใจ และมองเห็น

            ปรมัตถสัจซึ่งอยู่เบื้องหลังโลกแห่งปรากฏการณ์นั้นมีอยู่และทรงอยู่ชั่วนิรันดร์อย่างไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีสิ่งใดเป็นเหตุและเป็นปัจจัย และไม่มีคุณลักษณะทางปรากฏการณ์อื่นใด มาเป็นเหตุของความจริงข้อนี้ย่อมสมกับที่ท่าน นาคารชุน พูดว่า สัจจธรรมนั้นมีสองอย่าง และพรระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์นั้นก็ตั้งอยู่บนสัจธรรมทั้งสองนี้ อย่างหนึ่ง เป็นสมมติสัจจะ คือหมายถึงที่ประชาชนคนธรรมดาเข้าใจได้ และอีกอย่างหนึ่งเป็นปรมัตถสัจจะ คือเป็นความจริงของอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้ใดยังไม่เห็นแจ้งถึงความแตกต่างระหว่างความจริงทั้วสองประการนี้แล้วผู้นั้นย่อมไม่สามารถจะเข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์อย่างลึกซึ้งได้[2]

     ๒.๒ วิธีการเข้าถึงความรู้

            ท่านนาคารชุนเป็นนักประสบการณ์ยอดเยี่ยม(Empiricist par excellence) เห็นว่า แหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้ มีอย่างเดียวคือประสบการณ์ (experience) ความรู้มีแต่ประเภทภายหลังประสบการณ์ (a posteriori knowledge)

            พระพุทธเจ้าเป็นนักประสบการณ์นิยมแบบเอหิปัสสิกะ (Verifications) คือเห็นเฉพาะตนแล้วเรียกให้มาดู ความรู้ต้องเป็นการรู้เห็นและต้องเป็นการรู้เห็นซึ่ง (seeing of) ไม่ใช่รู้เห็นเกี่ยวกับ (seeing about) และปรากฏการณ์มีลักษณะเป็นสันทิฏฐิกะ คือต้องเห็นด้วยตัวเอง เป็นปัจจัตตัง เวทิตัพพะคือเห้นเฉพาะตน ท่านนาคารชุนเป็นนักประสบการณ์นิยมแบบสมัตตเสฏฐะ (par excellence) ซึ่งเหทือนพระพุทธเจ้าไม่จำกัดตัวเองอยู่กับแนวคิดแบบนามธรรม (Abstract idea) แต่จะไปยึดแนวคิดแบบการพิสูจน์ให้เห็นจริง (Identification)

    ๒.๓  ความรู้ ๒ ประเภท

            ๑ . สัจปรัชญา (Prajna as Reality)[3]

            สัจปรัชญาเป็นอสังขตธรรม และอสังวิภาคภาวะ ตั้งชื่อไม่ได้แต่กล่าวถึงได้โดยอาศัยชื่อ สัจจปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นลักณะ(Nature) แท้จริงของสรรพสิ่ง เป็นอปฏิเสธิตธรรม เป็นอภินนธรรม ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติหรือไม่ก็ตาม ลักษณะแท้จริงของสรรพสิ่งนี้ก็คงเป็นอยู่อย่างนั้น ธุวลักษณะของสิ่งทั้งหลาย (ธรรมสถานะ) ไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสร้างขึ้น หรือไม่ใช่สิ่งที่ใครสร้างขึ้น

            สัจปรัชญาเป็นอันติมตัจฉลักษณะของสิ่งที่ถูกแบ่งแยกและสิ่งสุดท้าย(อณูและปรมาณู-Atom and Molecule) ในระดับสมมติสัจจะ มีการกำหนดชื่อ เช่น เมื่อพูดถึงโลกและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แต่ในระดับปรมัตถสัจจะ ไม่มีความต่างกันระหว่างความรู้และสัจภาวะ (ผู้รู้กับสิ่งทีถูกรู้) การรู้กับภาวะ (Knowing and Being) หรือแม้กระทั่งวิชชาและอวิชชา (Knowledge and Ignorance)

            ๒. ญาณปรัชญา(Prajna as Knowledge)

            ญาณปรัชญา อยู่ในฐานะเป็นหลักการสูงสุดแห่งความรู้ และเป็นกิริยาแห่งความรู้ มีความจำเป็นในการกล่าวถึงโลกแห่งสิ่งต่างๆซึ่งยังมีความต่างกันระหว่างความรู้กับสัจภาวะ การรู้กับภาวะ และวิชชากับอวิชชา

            ญาณปรัชญาแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ๑. สถานปรัชญา (Eternal, Substantial) และ อสถานปรัชญา (Functional, Impermanent)

            สถานปรัชญาเป็นสัจภาวะสูงสุดในตัวเองก็เฉพาะที่เรียกว่า ปรัชญาเท่านั้นกล่าวคือ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับโลกแห่งวัตถุ (Objective World) ซึ่งเป็นสิ่งสัมพัทธ์และเปลี่ยนแปลง ส่วนอสถานปรัชญาเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของจิต เป็นสวสังเวทนา (Self-Conscious Intellect) เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอวิชชา และในส่วนที่เกี่ยวกับสัจภาวะเชิงวัตถุวิสัย (Objective Reality) ซึ่งเผชิหน้าอยู่เท่านั้น

     

    ๒.๔ ความรู้เป็นสิ่งสัมพัทธ์

            ความรู้เป็นสิ่งสัมพัทธ์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เลื่อนไหลอยู่ตลอกเวลา แหล่งที่มาของความรู้จากแหล่งเดียวกันอาจได้ความรู้ไม่เหมือนกัน

            ...ลักษณะแท้จริงของความโง่คือปรัชญา แต่ถ้าบุคคลเข้าใจผิด ยึดติดปรัชญาปรัชญาเองนี่แหละกลายเป็นความโง่ โดยสรุปจึงไม่มีความต่างกันระหว่างปรัชญากับความโง่ เพราะข้อเท็จจริงคือว่า ความโง่เกิดจากการมองปรากฏการณ์ ความฉลาดก็เกิดจากการมองปรากฏการณ์เช่นกัน ถามว่า ปรากฏการณ์ทำให้เกิดความโง่ หรือความฉลาด?

            ตอบว่า ไม่ใช่ ปรากฏการณ์หนึ่งทำให้เกิดได้ทั้งความโง่และความฉลาดอยู่ที่วิธีการมอง การอ่านหนังสือทำให้เกิดความฉลาด แต่คนอ่านหนังสือทุกคนฉลาดจริงหรือไม่? คำตอบคือ อาจจะไม่ใช่... [4]

     



    [1] พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์), พุทธปรัชญา สาระ และ พัฒนาการ, (กรุงเทพมหานคร), หน้า ๑๘๘

    [2] สนั่น ไชยานุกุล, ปรัชญาอินเดีย, ลัทธิมาธยมิกของสุญญวาท, (โรงพิมพ์การศาสนา ๒๕๒๔), หน้า ๒๖๗

    [3] พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์), พุทธปรัชญา สาระ และ พัฒนาการ, (กรุงเทพมหานคร), หน้า ๑๙๓

    [4] พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์), พุทธปรัชญา สาระ และ พัฒนาการ, (กรุงเทพมหานคร), หน้า ๑๙๕


    ....จบ....

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×