ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พรีเซ้น - พุทธปรัชญา

    ลำดับตอนที่ #5 : สำนักมาธยามิกะ - อภิปรัชญา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 549
      3
      23 ก.พ. 54

    อภิปรัชญาของมธยมิกะ

    พุทธปรัชญาสำนักมาธยมิก

             หลักปรัชญาของมาธยมิกะ หรือศูนยวาทนับว่าแปลกไปจากปรัชญาอื่นๆ เพราะไม่สามารถแยกออกได้เด็ดขาดว่า ส่วนไหนเป็นญาณวิทยา ส่วนไหนเป็นอภิปรัชญา และส่วนไหนเป็นจริยศาสตร์ ทั้งนี้เพราะผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญานี้ประสงค์เพียงแต่แสดงให้เห็นว่า บรรดาสังขตธรรมทั้งหลายล้วนเป็นศูนยตา คือไม่จริงแท้ และอสังขตธรรมก็เป็นศูนยตา คือไม่อาจพรรณนาด้วยภาษามนุษย์ให้ถูกต้องครอบถ้วนได้ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงคัดค้านทฤษฏีทางปรัชญาทั้งหลายว่าเป็นศูนยตาทั้งสิ้น หมายความว่าหาได้ถูกต้องครบถ้วนอย่างที่เจ้าของทฤษฏีเข้าใจไม่วิธีการที่ท่านใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิเสธทฤษฏีอื่นๆ และในการอธิบายทฤษฏีของท่านนั้นเรียกว่า วาทวิจารณ์ หรือวภาษวิธี (จตุกโกฏิ) (dialectic method)

              จากการยึดหลักคำสอนเรื่องทางสายกลาง และตีความหมายไปยังแนวคิดหลักของมัธยมกะก็ คือศูนยตา ดังนั้นสำนักมัธยมกะจึงได้รับการเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่าศูนยวาทะหรือศูนยวาทโดยนัยนี้ ศูนยวาทคือการยืนยันความเป็น ”สูญ” หรือ “ศูนย์” เป็นคำที่มีหลากความหมาย และอาจจะถูกตีความในเชิงปรัชญาไปยังแนวคิดหรือปรัชญาที่เรียกว่าอุจเฉนทิฏฐิ คือ แนวคิดที่ว่าทุกสิ่งไม่มีอยู่จริง เป็นความลวงทั้งสิ้น ล้วนแต่สิ้นไป แต่ความจริงแล้วศูนยตาไม่ได้มีความหมายดังกล่าว แต่หมายถึงความว่างจากอคติทั้งปวง ,การไม่ยึดต่อทัศนะใดๆ

    ศูนยตากับความจริง 2 ระดับ

             แนวคิดทางปรัชญาอินเดียในยุคก่อนนาคารชุน โดยรวมแล้วได้ให้ความหมายของความจริงหรือสัจจะ โดยแบ่งออกเป็นสองระดับที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจนและให้คุณค่าของสัจจะทั้งสองประการแตกต่างกันออกไป คือ

    1)      สมมติสัจจะ ความจริงในระดับนี้เป็นความจริงเบื้องต้น เป็นภาพลวงตาหรือมายา จึงเป็นสิ่งที่ปราศจากความสำคัญและคุณค่า

    2)      ปรมัตถสัจจะ ความจริงในระดับนี้เปฯความจริงสูงสุด เป็นความจริงแท้ที่ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่สำคัญ มีคุณค่าที่จะเข้าใจและเข้าถึง

    3)      โกฏิซึ่งมีลักษณะเป็นเครื่องมือวิภาษวิธี ในการทำหน้าที่วิเคราะห์และจัดระบบตรวจสอบเหตุผลของมุมมองทั้ง 4 ทางปรัชญา

    4)           1. It is A (Positive Thesis-Affirmation)

    5)           2. It is not A (Negative Counter-Thesis-Negation)

    6)           3. It is both A and not A (Conjunctive Affirmation of the first two)

    7)           4. It is neither A nor not A (Disjunctive Denial of the first two)

    8)            โกฏิที่ ๑ เป็นบทตั้งยืนยัน

    9)            โกฏิที่ ๒ เป็นบทตั้งแย้งปฏิเสธ

    10)        โกฏิที่ ๓ เป็นบทตั้งโดยการรวมโกฏิที่ ๑ และ ๒ เพื่อสร้างข้อเลือกที่ ๓

    11)        โกฏิที่ ๔ เป็นบทตั้งที่ปฏิเสธทั้งหมด เพื่อสร้างข้อเลือกที่ ๔

    12)  ประเด็นสำคัญอยู่ที่โกฏิที่ ๔ ซึ่งมุ่งที่จะทำให้หมดหนทางที่เราอาจจะกล่าวถึงบางสิ่งบางอย่างต่อไป (It is meant to exhaust the ways) อยู่ในฐานะเป็น อุตตระหมุนกลับไปลบล้างแบบที่ ๑-๓ ได้ทั้งหมด ทฤษฎีจตุษโกฏิถูกสร้างขึ้นมา เพื่อที่จะบอกว่า การตอบปัญหาเกี่ยวกับโลกและชีวิตโดยใช้คำว่า ใช่(Yes)” หรือ ไม่ใช่(No)” นั้นเป็นการให้คำตอบที่ไม่ยุติธรรมต่อสัจภาวะ ไม่สามารถให้เข้าถึงคำตอบที่ถูกต้องได้ ยิ่งอธิบายความมากก็ยิ่งห่างไกลจากสัจภาวะ จตุษโกฏิของนาคารชุนเพื่อจะพิสูจน์ว่าทรรศนะใด ๆ ก็ตามที่ใครก็ตามแสดงออกมาล้วนไม่ถูกต้อง นาคารชุนสร้างจตุษโกฏิขึ้นมาไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะพิสูจน์ทรรศนของตนเอง ดังข้อความว่า

    13)  "ถ้าข้าพเจ้าสร้างสมมติฐาน (หรือบทตั้ง)ขึ้นมา พวกคุณอาจจะพบความบก พร่องเกี่ยวกับสมมติฐานนั้นได้ เนื่องจากข้าพเจ้าไม่มีสมมติฐานที่จะสร้าง ปัญหาที่จะพิสูจน์ว่ามันจริงหรือไม่จริง จึงไม่เกิดขึ้น"

    14)  นาคารชุนถือคติว่า เมื่อไม่มีแผลบนฝ่ามือ ยาพิษก็ไม่สามารถซึมซาบเข้าไปได้และท่านได้นำวิภาษวิธีแบบจตุษโกฏิไปใช้ตอบโต้คน ๒ พวก คือ

    15)  ๑. พวกยึดถือคัมภีร์หรือศรัทธาโดยไม่ต้องพิสูจน์ (Dogmatist=พวกสิทธันตนิยม)
    ๒. พวกเหตุผลนิยมที่ยืนยันทรรศนะที่แน่นอนเกี่ยวกับสัจภาวะ (Rationalist)


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×