การยับยั้งเซลล์มะเร็ง ด้วยสารสกัดจากองุ่นแดง - การยับยั้งเซลล์มะเร็ง ด้วยสารสกัดจากองุ่นแดง นิยาย การยับยั้งเซลล์มะเร็ง ด้วยสารสกัดจากองุ่นแดง : Dek-D.com - Writer

    การยับยั้งเซลล์มะเร็ง ด้วยสารสกัดจากองุ่นแดง

    ผู้เข้าชมรวม

    864

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    864

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  นิยายวาย
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  1 ก.ค. 50 / 22:17 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ...โดย นภาพร แก้วดวงดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา



      โรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้คนและทำให้เกิดโศกนาฏกรรมอย่างใหญ่หลวงแก่ประชาชนทุกชาติทุกภาษา ในวงการแพทย์พบว่าโรคที่มีอัตราการตายสูงมาก คือ โรคมะเร็ง

      โรคมะเร็ง ก่อกำเนิดมาจากเซลล์มะเร็งที่เกาะตามอวัยวะต่างๆ เปลี่ยนสภาพในร่างกายแล้วเปลี่ยนไปเป็นเนื้อร้าย เจริญเติบโตและขยายตัวในหลอดเลือด และน้ำเหลือง จนในที่สุดกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายจนยากแก่การรักษา โดยเฉพาะหากกระจายไปที่ส่วนสำคัญ เช่น ปอด ตับ และสมอง เป็นต้น ซึ่งอวัยวะดังกล่าวเป็นจุดอ่อนที่เซลล์มะเร็งสามารถเข้าไปทำลายได้ง่ายก็จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

      การรักษาโรคหรือเนื้อร้ายนี้ในวงการแพทย์ได้พยายามวิวัฒนาการการรักษาและเยียวยามาเป็นเวลาช้านาน ปัจจุบันมีหลายวิธี คือ การผ่าตัด เคมีบำบัดและรังสีรักษา ซึ่งวิธีการดังกล่าวก็เป็นเพียงแต่ยับยั้งหรือจำกัดการแพร่กระจายได้ในส่วนหนึ่งเท่านั้น

      โดยเฉพาะในทางเคมีบำบัด และรังสีรักษา อาจมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากอักเสบ ผมร่วง เป็นต้น ซึ่งสร้างความเจ็บปวดหรือทุกขเวทนาแก่ผู้ป่วยจนอาจยุติการรักษาและนำไปสู่การสูญเสียชีวิตในที่สุด

      ปัจจุบันนี้วงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ได้พยายามค้นคว้าวิจัยการยับยั้งเซลล์มะเร็ง โดยสารสกัดจากพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ มากมายและเป็นที่สนใจแพร่หลายในระดับนานาประเทศเนื่องจากในพืชสมุนไพรมีสารสำคัญในการออกฤทธิ์หลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน เห็ดหลินจือ ขิง และองุ่น (Chung and Mi, 2006; John et al., 2005; Pezzuto, 1997)

      บางชนิดสามารถออกฤทธิ์ได้กว้างและมีรายงานว่ามีศักยภาพป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็ง เช่น phenolic compounds, dlkaloids, flavonoids, terpenoids, caratenoids, cureumin เป็นต้น

      นอกจากนี้ยังมีรายงานข้อมูลยืนยันถึงความพยายามที่จะค้นหาสารหรือยาจากพืชเพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง โดยพบว่าสารหลายตัวอยู่ในระหว่างการศึกษาระดับคลีนิค และมีการยอมรับให้ผลิตเป็นยาแผนปัจจุบันและใช้รักษามะเร็งอย่างแพร่หลาย เช่น vinblastin, podophyllotoxin, camptothecin, และ paclitaxel และอื่นๆ ถูกนำมาใช้ในการรักษาตามแนวทางการแพทย์แต่ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้

      จึงเกิดการค้นคว้าวิจัยหาสารสกัดจากสมุนไพรอื่นๆ ต่อมา

      ในฐานะผู้เขียนที่ศึกษาทางด้านพิษวิทยาและได้ทำการทดลองหาปริมาณสารประกอบฟินอลิก (phenolic compounds) ในพืชชนิดอื่นๆ พบว่า กากองุ่นแดงที่ผ่านการแปรรูปเป็นน้ำผลไม้และไวน์แดงแล้ว มีปริมาณสารประกอบฟินอลิกมากถึง 4,407.33=13.65 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าในน้ำองุ่นและไวน์

      ในการวิจัยครั้งนี้จึงเลือกใช้ กากองุ่นแดง (ประกอบด้วย เมล็ด เนื้อ และเปลือก) มาใช้ในการศึกษาฤทธิ์ความเป็นพิษ ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งเป็นมะเร็งตับที่มีอุบัติการณ์สูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

      พบว่าสารสกัดจากกากองุ่นแดงสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งและหยุดการกระจายจนตายไปในที่สุด ที่ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า อะพอพโตซิส (apoptosis)

      ขณะเดียวกันยังสามารถยับยั้งวัฏจักรเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ทั้งนี้ เพราะในองุ่นแดงจะมีสารใยอาหารที่ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง สารเม็ดสีโดยเฉพาะแอนโทไซยานินสามารถต้านการอักเสบของเนื้อเยื่อ และต้านอนุมูลอิสระทั้งยังเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน

      นอกจากนี้ยังมีสาร Ellagic acid ที่สามารถจับและทำลายพิษของสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะสาร resveratrol ที่พบมากในผิวจากเปลือกองุ่นแดงซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ขณะเดียวกันก็เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันและยังเป็นสารป้องกันและต้านมะเร็งได้

      นอกจากนี้ยังมีรายงานจากต่างประเทศว่า สามารถใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสันและเอดส์ได้อีกด้วย

      ดังนั้น หากเรานำเอาสารสกัดที่ได้จากการแปรรูปขององุ่น มาใช้ให้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะนำมาสกัดเอาสาร polyphenol เป็นสารที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและเป็นสารต้านมะเร็ง โดยสกัดมาทำยาซึ่งเราสามารถใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคร้ายนี้ได้ในอนาคต

      ปัจจุบันได้มีความพยายามใช้สมุนไพรในการรักษาโรคร้ายแรงอยู่หลายชนิด ซึ่งถือว่าเป็นการรักษาด้านการแพทย์ทางเลือกทางหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุข

      การศึกษาวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในการไปทำวิจัยที่ Johns-Hopkins University, School of Medicene, Baltomre, MD. ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมี ผศ.ดร.เบญจมาศ จิตรสมบูรณ์ ผศ.ดร.จริยา หาญวจนวงษ์ รศ.ดร.บรรจบ ศรีภา และศาสตราจารย์ ดร.โกวิท พัฒนาปัญญาสัตย์ เป็นที่ปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย

      ซึ่งทำให้ผลการวิจัยครั้งนี้นอกจากจะส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ในทางการแพทย์ทางเลือกแล้ว ผู้วิจัยใคร่ชี้ให้เห็นสรรพสิ่งที่เราเห็นว่าน่าจะหมดประโยชน์แล้ว แต่แท้จริงแล้วยังอาจมีสิ่งมหัศจรรย์ที่ยังหลงเหลืออยู่อันจะเป็นประโยชน์ซึ่งนักวิจัยไม่ควรละเลย

      มติชน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×