ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประเทศอังกฤษ

    ลำดับตอนที่ #7 : +~+นักเรียนนอกใช่ดี-วิเศษ-เลิศ~+~

    • อัปเดตล่าสุด 10 ส.ค. 48


    นักเรียนนอกใช่ดี-วิเศษ-เลิศ



    คนไปเรียนเมืองนอกใช่ว่าจะดี วิเศษอะไร ที่เค้าดีกว่าก็ตรงที่มีโอกาสดีกว่าอีกหลายๆคน ก็เท่านั้นเอง โอกาสอะไรล่ะที่ดีกว่า จะปฏิเสธมั้ยค่ะ? คนไทยมักตีคุณค่าคนจบนอกว่าแน่กว่า โอ้โฮ! จะดูเด่น ดูเก๋ไปซะหมด ยิ่งยุค IMF อย่างนี้ ยิ่งน้อยคนที่จะมีปัญญาไปใครกันนะที่สร้างค่านิยมอันนี้ขึ้นมา เราเห็นด้วยถ้าจะบอกว่า ความสามารถของคนวัดกันที่ผลของงาน ไม่ใช่ปริญญา จากสถาบันไหนๆ



    แต่ก็คงปฎิเสธไม่ได้อีกนั่นแหละ...ถ้าจะบอกว่า ถ้าอยากได้งานดีเงินดี ก็ต้องทำงานในองค์กรที่ต้องติดต่อกับต่างชาติ ด้วยเหตุนี้ ภาษาอังกฤษจึงเด่นขึ้นมามีบทบาทในสังคมไทย ค่านิยมเกิดขึ้นที่ตรงนี้ มันเป็นแฟชั่นไปซะแล้ว สำหรับพ่อแม่ที่พอจะมีปัญญาส่งเสียลูกเต้าไปเรียนต่อนอก ถ้าเค้าส่งเสียได้ เค้าส่งแน่นอน เพราะคนแวดล้อมรอบข้างสมัยนี้ล้วนแต่เป็น degree นอกกันทั้งนั้น คนที่โอกาสยังมาไม่ถึงก็คงมาถึงสักวัน อาจจะได้ทุนอย่างที่หลายๆคนเค้าได้กัน



    “ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน คนจะดี ดีที่ใจ ใช่ degree”

    ฉันยอมรับนะว่า กำลังฝืนเขียนวลีที่สวยงามนี้เพื่อเป็นกำลังใจให้อย่านึกน้อยเนื้อ จริงๆแล้วในสังคมการทำงานจะมีการเชิดใส่กัน คนที่จบนอกมาดูเหมือนจะมีความมั่นใจสูง ต้องบอกว่า.....ซู้ง...สูง บางทีสูงจนกลายเป็น over ให้เพื่อนร่วมงานได้หมั่นไส้นินทา



    ความจริงพวกจบนอกก็น่าจะมีความมั่นใจมากกว่าคนจบในนี้ อย่างเช่นเวลาเค้าติดต่อกับลูกค้าแล้วเราได้ยินเค้าพูดภาษาอังกฤษเป็นไฟอย่างนั่น หากเราพูดไม่ได้เลย จะไม่ได้คิดมันก็ต้องคิดล่ะนะ...ว่าทำไมเราถึงพูดไม่ได้ ความมั่นใจที่มีอยู่ในตัวเองที่ว่ามากแล้วมันก็เลยลดหดหายไป



    มีเพื่อนบางคนจบปริญญาโทจากเมืองไทยแล้วยังไม่พอใจเลยไปเรียนเพื่อเอาปริญญาโทจากเมืองนอกอีกใบ เช่น นุ้ย แกบอกว่า “กว่าพี่จะจบนิด้า พี่ก็เกือบจะเป็นบ้า เพราะเรียนโครตหนักเลย พอไปสมัครงาน พี่กลับได้เงินเดินน้อยกว่ารุ่นน้องที่จบโทมาจากอังกฤษ อเมริกา เค้าบอกว่ามันเป็นระเบียบของการให้เงินเดือน เค้าจะแบ่งเป็เกรดๆ เอาไว้เลย รู้อย่างนี้พี่มาเรียนที่นี่ตั้งแต่แรกซะก็ดี ไม่ต้องเสียเวลาไปตั้งหลายปี” อันนี้ปรับเข้ากับกลอนยอดฮิตของชาวธรรมศาสตร์ที่แต่งโดยรุ่นพี่ วิทยากร เชียงกูร ได้เหมาะสม เค้าบอกว่า





    ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง

    ฉันจึง มาหา ความหมาย

    ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย

    สุดท้าย ให้กระดาษ ฉันแผ่นเดียว






    กระดาษแผ่นนั้นก็คือ ใบปริญญานั่นเอง ซึ่งบางใบเป็นใบเบิกทางให้เราได้ แต่บางใบค่าของมันก็เป็นเพียงแค่กระดาษ ยิ่งถ้าต้องไปฟาดฟันกับกระดาษจากต่างแดน



    ในแวดวงการทำงาน คนที่ดีจริง เก่งจริง เค้ามักไม่อวดหรอก ไอ้คนที่เชิดใส่คนรอบข้าง มันมักมีจุดบกพร่อง จึงต้องสร้างปมเด่นกลบปมด้อยของตัวเอง (นี่เอาหลักทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ มาปรับด่าเลยนะนี่)



    ไอ้คนพวกนี้จะส่อสันดานพร่องให้เห็นตั้งแต่แรกพบ ไอ้พวกนี้ขนาดกำลังเรียนอยู่ ทั้งๆที่ยังเรียนไม่จบ มันยังเชิดใส่คนอื่นเลย อย่างเช่น ... สมมติว่าเธอชื่อ L ละกัน ต้องใช้ชื่อสมมติเพราะเดี๋ยวจะผิดข้อหาหมิ่นประมาทด้วยข้อความตัวอักษร ใครๆจะรู้จักสันดานของ อี L ดี มันชอบดูถูกพวกที่กำลังเรียนภาษาอังกฤษ เพราะพวกนี้ยังเข้าเรียนมหาวิทยาลัยไม่ได้ ยังสอบภาษาอังกฤษไม่ผ่าน ไม่เหมือนอี L ซึ่งเรียนโท...เวลาแนะนำน้องใหม่ให้รู้จัก มันจะชิงถามเค้าว่า มาเรียนอะไรหรอ....พอเค้าตอบว่า ภาษาอังกฤษ มันก็จะชูหน้าแล้วเชิดใส่ทันที พร้อมกับพูดว่า “เรียนภาษาอังกฤษเหรอ นี่ต้องเรียนกี่ปีละนี่ คุ้มหรือคะ มาเสียเงินเพื่อเรียนภาษาอังกฤษอย่างเดียว โดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน” ไอ้การ์ด เพื่อนผมโดนถากถางมาแล้ว มันเคยมาเล่าให้ฟัง ก็เลยบอกมันไปว่า “ช่างแม่งเถอะ นังนี่....ใครๆ ก็เกลียดมันทั้ง suburb จิงโจ้ขี้เรื้อนเห็นมันแล้วยังอ้วกเลย ....อี L อี Low



    นอกจากนี้ มันยังเชิดใส่คนที่เรียนในมหาวิทยาลัยที่ดังน้อยกว่ามหาวิทยาลัยที่มันเรียนอีกด้วย บางคนเรียนแค่วิทยาลัยมันก็ไปดูถูกเค้า หาว่าโง่บ้างล่ะ ไม่ฉลาดเหมือนมันบ้างล่ะ นึกภาพตอนที่อี L กลับ กทม. ไปทำงาน หากมันกลับไปหน้าทุเรียน มันคงถูกตบด้วยเปลือกชะนี



    เคยได้ข่าวมั้ยค่ะ ฝรั่งรับจ้างทำรายงาน มีคนไทยเป็นลูกค้าเป็นล่ำเป็นสัน มีเพื่อนที่จบ MBA จาก USA เล่าให้ฟัง เวลาอาจารย์ให้ assignment แล้วกำหนดให้ส่ง เราก็มีหน้าที่ส่งให้ทันเวลาเท่านั้นเอง ไม่มีอาจารย์คนไหนเรียกตัว กลับไปจิกถามว่า You ทำมาได้ยังไง หรือใครทำให้ You .... เพราะนักเรียนมีเป็นร้อยๆคน



    ที่ออสเตรเลียยังไม่เคยได้ข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้นะ แต่มีอยู่ตัวอย่างนึง พี่ไช้ เรียนคอมพิวเตอร์แกไปให้พี่เปี๊ยกซึ่งเรียนอยู่ชั้นสูงกว่าทำการบ้านให้ พี่เปี๊ยกดันทำอีท่าไหนไม่ทราบ ให้อาจารย์จับได้ เพราะพี่เปี๊ยกเรียนมามากกว่า สิ่งที่ทำให้พี่ไช้เลยอยู่ในขั้นสูงกว่า ซึ่งอาจารย์ยังไม่เคยสอน ปรากฎว่าพี่ไช้ยถูกเรียกไปพบ แล้วถูกซักสัมภาษณ์อยู่นานทีเดียว อาจารย์เลยปรับให้ตกไปเลยในรายงานชิ้นนั้น



    อีกครั้งนึงคือน้องตา เธอจดสูตรเลขใส่ดิกฯ เพราะนักเรียนต่างชาติจะได้รับอนุญาตให้เอาดิกชันนารี่เข้าสอยได้ อาจารย์จับได้อีกเหมือนกัน ชื่อเสียงคนไทยเลยเน่าไปเลย ฝรั่งที่นี่จะดูถูกการโกงข้อสอบอย่างมาก อาจารย์ให้น้องตาตกแล้วตักเตือน “หวังว่าคงไม่เกิดขึ้นอีก ที่ประเทศ You เป็นยังไง I ไม่ทราบ แต่ที Australia การโกงข้อสอบคือ อาชญากรรม”



    น้องตาตัดสินใจลาออกย้ายโรงเรียนเลย เพราะทนสู้สายตาประณามจากพวกออสซี่อยู่ต่อไม่ไหว เธอบอกว่า “หนูไม่เอาอีกแล้ว คนไทยด้วยกันหนูยังมองหน้าไม่ติด ถ้าป้าหนูไม่อยู่ที่ Canberra หนูย้ายไปรัฐอื่นแล้วล่ะ”



    สำหรับผมเอง ที่มาต่อนอกก็เพราะตัวเองไม่ชอบนิติศาสตร์ แต่ก็เลือก Ent’…ตามใจพ่อแม่ (คงเหมือนกับอีกหลายๆคน) ก็ติดธรรมศาสตร์ พอให้พ่อแม่คุยกับชาวบ้านไปได้ระยะนึง จริงๆแล้ว ในใจไม่อยาก Ent’ ติดเลย จะได้ไปสมัครเรียนนิเทศศาสตร์ ที่ม.กรุงเทพ ตามที่ตัวเองชอบ แต่ทำไงได้ล่ะ มันติดไปแล้ว



    ลองสอบปริญญาโทวารสารฯอยู่ 2 ปี ไม่ติด เพราะโง่! เลยต้องไปเรียนต่อเมืองนอก แปลกดีนะ ระบบการศึกษาไทย ที่เรียนทำไมถึงน้อยจัง น่าจะให้คนที่อยากเรียนๆ ได้ ก็เก็บตังค์เข้าไปสิ ถ้าเรียนได้ก็เอา degree ไป เงินทองจะได้ไม่ต้องรั่วไหลออกนอกประเทศ





    ปริญญาโทเมืองไทยสอบเข้ายากกว่าต่างประเทศ นี่คือเรื่องจริง ต่างประเทศเค้าโปรดปรานนักเรียน Oversea Students ใจจะขาด เพราะรายได้ที่ได้รับจากพวกเรา คิดดูนะ ระดับมัธยมออสซี่เสียปีละ 150 เหรียญ แต่คนต่างชาติเสียปีละ 7,500 เหรียญ แพงกว่ากันกี่ร้อยเท่าตัว... ลองคิดดู (นี่แค่ระดับมัธยมเท่านั้นนะ) สำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของออสเตรเลีย เพียงแค่คุณสอบข้อสอบ TOEFL หรือ IELTS ผ่าน ตามคะแนนที่เค้ากำหนด แค่นี้คุณก็ได้เรียนแล้ว ไม่ต้องแย่งกันเรียนอย่างเมืองไทย



    ภูมิใจเถอะค่ะ หากใครจบโทในเมืองไทยได้....คุณเก่งกว่านักเรียนนอกอีกตั้งหลายคน





    Credit:  หนังสือ : แฉชีวิตนักเรียนนอก เล่ม 1 Australia











    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×