ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประเทศอังกฤษ

    ลำดับตอนที่ #11 : oOมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดกับเคมบริดจ์Oo

    • อัปเดตล่าสุด 25 ส.ค. 48


    มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดกับเคมบริดจ์



    เห็นเพื่อนๆหลายๆคน ถ้ามีโอกาสได้ไปศึกษาต่อต่างประเทศก็มักนิยมเลือกเรียนในอเมริกากัน และถ้ามีคุณสมบัติสูง คนส่วนมากก็มักเลือกเรียนในมหาลัยระดับ Ivy League กัน ตอนนี้เรยลองเล่าถึงมหาลัยในอังกฤษให้ฟังค่ะ เผื่อว่ามีใครสนใจลองสมัครไปเรียนบ้าง ขอยกตัวอย่างคู่แข่ง Ivy Leauge ค่ะ



    ในอังกฤษ มหาลัยที่คนรู้จักกันดีคือ ออกซ์ฟอร์ดกับเคมบริดจ์ ว่ากันจริงๆแล้ว เกีรยติประวัติและมาตราฐานด้านการศึกษาของทั้งสองมหาลัยไม่ได้ด้อยไปกว่า Ivy Leauge ในอเมริกาแม้แต่นิดเดียว ถ้าคนที่พอจะรู้ประวัติจะทราบว่า เคมบริดจ์มีชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์ระดับโลก เพราะการค้นพบทางด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมักเกิดขึ้นที่สถาบันแห่งนี้ เช่น ประจุนิวตรอน รวมถึงโครงสร้างดีเอ็นเอ นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายคนจบจากสถาบันแห่งนี้ เช่น ไอเเซ็ค นิวตัน ชาวร์ส ดานวิน ฯลฯ เกียรติประวัติที่มหาลัยทั่วโลกอิจฉาคือ เคมบริดจ์เป็นมหาลัยที่มีจำนวนคนได้รับรางวัลโนเบิลมากที่สุดในโลก สูงกว่ามหาลัยทุกแห่งในอเมริกา ถ้าจะนับเฉพาะจำนวนลูกศิษย์เท่านั้น (ไม่รวมคณาจารย์หรือนักวิจัยที่ได้รางวัล) ก็มีจำนวนมากถึง 70 คน ว่ากันว่าสาขาวิชาคณิตศาสตร์กับฟิสิกส์ ที่เคมบริดจ์ถือว่าดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

    ส่วนออกซ์ฟอร์ดเป็นมหาลัยที่มีชื่อเสียงในการสร้างคนให้เป็นผู้บริหารระดับโลก ลูกศิษย์ของออกซ์ฟอร์ดเป็นประธานาธิปดี นายกฯ นักการเมือง ทั่วทุกมุมโลก บุคคลที่มีชื่อเสียงและจบจากสถาบันนี้เช่น อินทิรา คานธี อองซาน ซูจี

    อดีตนายกของไทยก็มี ท่านเสนีย์กับท่านครึกฤทธ์ ผู้ว่าฮ่องกง นายกฯ 25 คนของอังกฤษ (รวมมากาแร็ต แท็คเชอร์และโทนี แบรล์) และอดีตประธานาธิปดิสหรัฐ บิล คลินตัน ยังไม่นับประธานาธิปดีหรือนายกของประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศ แม้แต่อธิการบดีของมหาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในอเมริกาอย่าง Harvard กับ Yale ก็ลูกศิษย์จาก ออกซ์ฟอร์ด สาขาวิชาที่อยู่ในระดับท็อปของโลกที่ออกซ์ฟอร์ด คือ English, Classics, Philosophy



    เหตุผลที่ลูกศิษย์ของทั้งสองสถาบันเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จระดับโลก น่าจะเป็นผลมาจากระบบการเรียนการสอนที่แต่งต่างจากมหาลัยโดยทั่วไป การเรียนในระดับปริญญาตรีที่ออกซ์ฟอร์ดกับเคมบริดจ์ ในแต่ละรายวิชาระบบการเรียนแบบ tutorial ซึ่งมี***ส่วนระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ 3 ต่อ 1 หรือ (2 ต่อ 1 ในบางสายวิชา) เป็นระบบการเรียนเสริม lectures/classroom/labs ระบบ tutorial เน้นการเขียนเรียงความ (Essays) และการอ่านค้นคว้าด้วยตนเองเพื่ออภิปรายกลุ่มย่อยระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งนักศึกษาต้องเขียน Essay เป็นรายสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษา (ซึ่งเป็นภาระการเรียนที่ค่อนข้างหนักพอควร) ระบบการเรียนแบบนี้เน้นการฝึกการเขียนซึ่งเกิดจากการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเองเป็นหลัก บวกหรือพึ่งตนเองเป็นหลักบวกกับการเน้นการคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นของตัวเอง โดยอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วย ผู้วิจารณ์หรือผู้ประเมิน ไม่ใช่คนป้อนข้อมูลหรือยัดเยียดข้อมูลที่มีให้เห็นทั่วไปในเมืองไทย เท่าที่ผมทราบมา แม้แต่การเรียนในระดับปริญญาโท ในบางสาขาวิชาที่ออกซ์ฟอร์ด ในระบบ tutorial ซึ่งเสริมเนื้อหาการเรียนจาก lectures/classroom ของแต่ละรายวิชา นักศึกษามีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์แบบตัวต่อตัว (***ส่วน 1 ต่อ 1) ด้วยซ้ำซึ่งดูเหมือนว่าระบบการเรียนแบบนี้ในระดับปริญญาโท อาจจะมีเพียงแค่ที่นี้เท่านั้น

    ระบบการเรียนการสอนของทั้งสองสถาบันมีส่วนช่วยสร้างมาตราฐานการศึกษาของทั้งสองมหาลัยจะอยู่ในระดับแนวหน้าของโลกและสามารถสร้างคนให้ประสบความสำเร็จได้



    นักวิชาการหรือนักการเมืองไทยหลายๆคนที่มีชื่อเสียง (รวมคุณอานันท์ ปันยารชุน) ก็จบจากสองสถาบันนี้ค่ะ



    ในแต่ละปี เด็กหัวกะทิระดับประเทศของอเมริกานับพันกว่าคน พยายามสอบแข่งชิงทุน Rhodes Scholarship หรือทุน Marshall Scholarship ซึ่งมีจำนวนแค่ 30/40 ทุน เพื่อเข้าเรียนต่อในมหาลัยออกซ์ฟอร์ดหรือเคมบริดจ์ของอังกฤษ ทั้งๆที่อเมริกาเองมีมหาลัยระดับโลกอยู่มากมาย



    เขียนเล่าให้อ่านเล่นๆนะค่ะ หากมีคนไทยคนใดอยากไปเรียนที่ออกซ์ฟอร์ดหรือเคมบริดจ์ ก็ลองสมัครดูได้นะค่ะ ที่สำคัญเมือง

    ออกซ์ฟอร์ดกับเคมบริดจ์สวยมากค่ะ เราเองก็คนหนึ่งค่ะที่อยากไปเรียนที่ออกซ์ฟอร์ด







    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×