ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    music vdo

    ลำดับตอนที่ #6 : ตอนพิเศษ

    • อัปเดตล่าสุด 7 พ.ย. 50



     ۞ ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)

                     

                    คอมพิวเตอร์ (Computer) หมายถึง เครื่องจักรทางอิเลคโทรนิคที่สามารถรับข้อมูลประมวลผลและแสดง

            ข่าวสารได้

                    องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ (computer system) มี 3 ส่วน

                    1. HARDWARE

                    2. SOFTWARE

                    3. PEOPLE WARE

                    ข้อมูล (DATA) หมายถึง วัตถุดิบหรือข้อเท็จจริง ซึ่งถูกรวบรวมและใช้เป็น input ของคอมพิวเตอร์

                    การบันทึกข้อมูล หมายถึง กรรมวิธีของการใส่ข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เช่น การพิมพ์ การสแกน เป็นต้น

                    สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลซึ่งมีการประมวลผล (process) แล้ว และจัดระเบียบให้อยู่ใน

            รูปแบบที่เป็นประโยชน์

            1. HARDWARE (ฮาร์ดแวร์) ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ

                    1. INPUT DEVICE หน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่รับข้อมูลจากโลกภายนอก เพื่อส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์

                    2. CPU (Central Processing Unit) หน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ

            ตามที่ต้องการ

                    3. OUTPUT DEVICE หน่วยแสดงผลข้อมูล ทำหน้าที่แสดงข่าวสารที่ส่งมาจาก CPU ให้มนุษย์รับรู้

     

                    นอกจากนั้น ยังมีอุปกรณ์ที่ใช้เป็นสื่อในการรับ-ส่งข้อมูล โดยใช้เก็บข้อมูลไว้ภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์

            อุปกรณ์นี้เรียกว่า SECONDARY STORAGE  เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก DISKETTE

            ข้อความจำ    อุปกรณ์  HARDWARE  ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เราเรียกว่า PERIPHERAL EQUIPMENT

                                    เช่น Ports (พอร์ท) เป็นจุดติดต่อกับอุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ ปกติพอร์ท

                                    จะเป็น Plug หรือ  Socket  นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ส่วนมากที่ใช้งานทางธุรกิจจะมีส่วนขยาย

                                    (Expansion slots) นี้ไว้ เพื่อเพิ่มฮาร์ดแวร์ในงานพิเศษ เช่น ต่อกับเมาส์ขยายหน่วยความจำและ

                                    แสดงกราฟฟิค

     

            2. SOFTWARE  (ซอฟท์แวร์) แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ

                    1. SYSTEM  SOFTWARE  ชุดคำสั่งระบบ ใช้ควบคุมระบบปฏิบัติการ

                    2. APPLICATION  SOFTWARE  ชุดคำสั่งประยุกต์ หรือชุดคำสั่งผลิตผล (Productivity software)

            ใช้งานได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์

     

            3. PEOPLE  WARE

                    1. ผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ (Information System Manager)  มีอำนาจสูงสุด กำหนดนโยบาย

                    2. นักวิเคราะห์ระบบ  (System analyst) รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาออกแบบการทำงานด้วยคอม ฯ

                    3. นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นำแบบมาเขียนในรูปคำสั่งของคอมฯ เป็นคนเขียนโปรแกรม

                    4. Operator  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมฯ และอุปกรณ์ต่าง ๆ

                    5. พนักงานบันทึกข้อมูล (Data entry) ผู้ที่มีความสามารถทางด้านการพิมพ์ข้อมูลด้วยความเร็วสูง

            ตำแหน่งนี้เล็กสุด

                    ปัจจุบันมีการเพิ่มตำแหน่ง

                    6. ผู้บริหารฐานข้อมูล (Data Base Management System : DBMS) ดูแลการทำงานในแผนกต่าง ๆ

                    7. ที่ปรึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์

     

            ประวัติบุคคลสำคัญ

            1.  Hollerith                               คิดค้นบัตรเจาะรูขึ้นมาใช้

            2.  Eckert and Mauchly           สร้างคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่เป็นอิเลคโทรนิคคอมพิวเตอร์ ชื่อ ENIAC

            3.  Babbage                             เป็นบิดาคอมพิวเตอร์ ได้ออกแบบเครื่องคำนวนทางคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้

                                                              ประดิษฐาน เพราะอุปกรณ์ไม่พร้อม

            4.  ADA                                     เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

            5.  John Von Nueman              ผู้คิดค้น Software เป็นระบบเลขฐานสองคนแรกสร้าง EDVAC ซึ่งเป็น

                                                               เครื่องแรกที่สามารถเก็บข้อมูลและคำสั่งในตัวเอง

            6.  Passcal                                เป็นผู้สร้างเครื่องบวกเลขและทดเลขได้ เป็นเครื่องแรกของโลกที่เป็นแบบจักรกล

     

     

    ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

     


     

            องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

                    คอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้คือ

                                1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง

            (Input/Output Devices) ของระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                                2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Instruction or Program) ที่เขียนขึ้น

             โดยโปรแกรมเมอร์ หรือซื้อมาจากบริษัทผู้ผลิต (Software House) ซอฟท์แวร์ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์

            ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

                                3. ระบบสารสนเทศ (Information System) ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในงานธุรกิจ ปัจจุบันเป็นที่

            นิยมอย่างแพร่หลายเพราะลักษณะงานทางธุรกิจแต่ละหน่วยงานจะมีความสัมพันธ์กันจะใช้ข้อมูลร่วมกัน ตลอดจน

            อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ การประมวลผลข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้ได้สารสนเทศตามความต้องการของแต่ละ

            แผนกอย่างถูกต้อง รวดเร็ว กะทัดรัด สำหรับการตัดสินใจของแต่ละหน่วยงาน

           องค์ประกอบการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์     

                            แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

                                   1. ส่วนนำข้อมูลเข้า (Input)

                                   2. ส่วนการประมวลผล (Processing)

                                   3. ส่วนนำข้อมูลออก (Output)

            ข้อมูล (Data)

                    คือ ข้อเท็จจริงเพื่อสำหรับกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านี้มาจากแหล่งข้อมูล

            ข้อมูลอาจจะเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข เรียกว่า ข้อมูลแสดงปริมาณ (Quantitative data) เช่น จำนวน ปริมาณ

            ระยะทาง ราคาเป็นต้นและอาจเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่ตัวเลขเรียกว่าข้อมูลแสดงคุณภาพ เช่น ที่อยู่ สถานภาพฯลฯ

            ฉะนั้น ข้อมูลอาจจะเป็นประโยชน์มากต่อคนบางคน หรือสถาบันบางสถาบัน แต่ข้อมูลอย่างเดียวกันอาจไม่เป็น

            ประโยชน์ต่อคนอีกหลายคน หรือสถาบันอื่น ๆ เลยก็ได้ การนำข้อมูลที่ป้อนให้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อจะนำเข้าสู่ส่วน

            การประมวลผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของผู้ใช้ เราเรียกว่า สารสนเทศ(Information)สารสนเทศที่ได้

            จากการประมวลผลข้อมูลจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เพื่อใช้ในการตัดสินใจ หรือการบริหารงานทำให้เกิดประสิทธิภาพ

            สูงสุดในการบริหารงาน

                       ۞ แหล่งที่มาของข้อมูล

                            เราอาจแยกประเภทของข้อมูลได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

                        1. ข้อมูลภายใน (Internal Data) เป็นข้อมูลที่ได้มาจากภายในหน่วยงานนั้น ๆ ได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง

            ภายในหน่วยงาน เช่น พนักงานระดับต่าง ๆ การจัดองค์กรของหน่วยงาน เช่น แผนกต่าง ๆ การติดต่อและปรึกษา

            อย่างไม่เป็นทางการระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องภายในหน่วยงานนั้น

                        2. ข้อมูลภายนอก (External Data) ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของหน่วยงานอาจต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่ง

            ภายนอกหน่วยงานนั้น เช่น ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบริษัทคู่แข่ง เป็นต้น

                        ۞ คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี มีอยู่ 5 ประการ ดังนี้

                        1. ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)  ข้อมูลที่ดี ควรมีความถูกต้องสูง มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด

                        2. ความทันเวลา (Timeliness) ข้อมูลที่ดีควรจะเป็นข้อมูลที่ทันสมัย (Up to date) และได้มาอย่างทัน

            ความต้องการ ข้อมูลที่ได้มาอย่างล่าช้า อาจจะไม่มีคุณค่าอะไรถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้อง

                        3. ความสมบูรณ์ครบถ้วน (Completeness)  เป็นข้อมูลที่ให้ข้อเท็จจริงหรือสารสนเทศที่ครบถ้วน ที่ฝ่าย

            บริหารหรือผู้ใช้ต้องการ ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งขาดหายไปอย่างมากมาย

                        4. ความกะทัดรัด (Conciseness)เป็นข้อมูลที่ได้รับการรวบรวมและจัดให้อยู่ในลักษณะกะทัดรัดไม่

            เยิ่นเย้อจนไม่มีความสะดวกในการใช้หรือค้นหา

                        5. ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) ข้อมูลควรจะเป็นข้อมูลที่ตรงกับความต้องการหรือ

            ต้องทราบหรือเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในเรื่องนั้น ๆ ของฝ่ายบริหาร

     

            ۞ การประมวลผลข้อมูล (Data Processing)

                            สามารถเขียนไดอะแกรมได้ดังนี้

    ผลลัพธ์

     

     


     

    ประมวลผลข้อมูล

     

     

     

     

    วัตถุดิบ

     

     

     


           ۞ ความหมายของการประมวลผลข้อมูล

                        1. การบันทึก (Recording) ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทำการบันทึกในขั้นแรก อาจจะกระทำโดย

            การจดด้วยมือโดยใช้สมุด ปากกา เช่น ปริมาณการขายสินค้า จำนวนการผลิตสินค้าหรือเราอาจจะใช้อุปกรณ์อื่น ๆ

            ช่วยในการบันทึกข้อมูล ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กโทรนิกส์ หรือเครื่องมือทางกลที่สามารถป้อนให้กับระบบคอมฯ

            โดยตรง ดังจะกล่าวต่อไป

                        2. การแยกประเภทข้อมูล (Classsifying) ได้แก่ การจัดการข้อมูล ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไป เพื่อจัด

            ให้เป็นกลุ่มเป็นพวก หรือแยกประเภทข้อมูล เช่น ข้อมูลสินค้า จะมีการแยกประเภทของสินค้า แยกประเภทของ

            สินค้า แยกประเภทของลูกค้าหรือพนักงานขาย เป็นต้น

                        3. การเรียงลำดับ (Sorting) คือ การคัดเลือกข้อมูลที่แยกกลุ่ม แยกประเภทนำมาจัดลำดับก่อนหลัง เพื่อ

            ความเหมาะสมของการประมวลผล เช่น เรียงตามตัวอักษร เรียงตามตัวเลข เป็นต้น

                        4. การคำนวน (Calcalating) ในการประมวลผลข้อมูล มักจะมีการคำนวณอยู่ด้วย ซึ่งอาจจะเป็นการนับ

            จำนวนข้อมูล ในแต่ละประเภทหรือเป็นการคำนวณที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน เช่น การคำนวณค่าแรง เงินเดือน

            พนักงาน คำนวณภาษี การทำบัญชีของธนาคาร การคำนวณที่ใช้เวลามากเกินความสามารถของมนุษย์ จึงจำเป็น

            ต้องใช้เครื่องคำนวณอัตโนมัติช่วยในการคำนวณ เช่น คอมพิวเตอร์

                        5. การสรุปผล (Sumarizing) คือ การนำข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่มากลั่นกรองและย่อส่วนลงให้เหลือเฉพาะ

            ส่วนที่จำเป็น เพื่อที่จะนำไปปฏิบัติให้คล่องตัว สำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างรวดเร็วและทันต่อการณ์

                        6. การเก็บข้อมูล(Storing) เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ที่ประมวลผลได้ในอนาคต เราจำเป็นต้องมีการ

            จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งอาจจะใช้แฟ้มในการเก็บข้อมูลหรือใช้อุปกรณ์การเก็บข้อมูลของระบบคอมฯ

            เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก

                        7. การค้นคืนข้อมูล (Retrieving) เมื่อมีการเก็บข้อมูลเราจะต้องมีการนำข้อมูลกลับมาใช้ใหม่หรือนำมา

            ประมวลผลใหม่ เราก็สามารถเรียกข้อมูลกลับมาใช้ใหม่ ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว

                        8. การทำสำเนาข้อมูล(Reproducing) ในหลายกรณีที่เราต้องการทำสำเนาข้อมูลไว้หลายชุดเพื่อป้องก้น

            ข้อมูลเสียหาย

                        9. การสื่อสารข้อมูล (Communications) ได้แก่ การส่งข้อมูลที่ต้องการไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

            เพื่อผลในการเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ อาจใช้เครื่องมือสื่อสารสาธารณะช่วยในการส่งข้อมูล เช่น โทรศัพท์

            ไมโครเวฟ สื่อสารดาวเทียม เป็นต้น

      ۞ สารสนเทศ (Information)

                    หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลและจัดการข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ มีความหมาย

            และง่ายต่อการเข้าใจของผู้ใช้ ถ้าเรานำสารสนเทศมาร่วมกันเป็นระบบ เพื่อใช้ในการบริหารสารสนเทศ เราเรียกว่า

            ระบบสารสนเทศ (Information System)

                        ระบบสารสนเทศ (Information System)

                        ความจำเป็นในการจัดการสารสนเทศเพื่อการบริหาร ที่จะให้ข่าวสารที่ถูกต้องแม่นยำ และทันต่อการใช้งาน

            ส่วนมากเราจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือของระบบสารสนเทศ การทำงานของระบบนี้จะใช้คอมพิวเตอร์ในการ

            รวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การสรุปผลเพื่อเป็นรายงานต่อผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร

                        คอมพิวเตอร์ในสังคม (Computer society) 

                        ปัจจุบันนี้เราจะเห็นว่าหน่วยงานต่าง ๆ จะนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานกันเกือบหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นงาน

            ทางธุรกิจ หรืองานด้านอื่น ๆ อีกก็ตาม จะถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานนั้น ๆ และมีการนำคอมฯ

            ไปประยุกต์ใช้ในงานด้านอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

     

            ۞ การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานด้านการศึกษา

                        สำหรับการประยุกต์ด้านนี้ จะเป็นการศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ แนะนำให้รู้จักระบบคอมพิวเตอร์ การ

            ใช้งาน การเขียนคำสั่ง การออกแบบระบบงาน ภาษาคอมพิวเตอร์ และยังสามารถเป็นอุปกรณ์ช่วยสอน

            (Computer Assisted Instruction, CAI )

                        การประยุกต์ใช้งานด้านวิทยาศาสตร์

                        ปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการทดลอง เพราะคอมพิวเตอร์

            มีส่วนความจำที่แม่นยำ มีการคำนวณที่รวดเร็วเพื่อใช้ในการเก็บผลการทดลอง และเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในตัวเอง

            ได้เป็นจำนวนมาก

                        การประยุกต์ใช้งานด้านภาษาศาสตร์

                        คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาทางด้านภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นักภาษาศาสตร์ นำคอมพิวเตอร์

            มาช่วยในการแปลภาษาหนึ่งให้เป็นอีกภาษาหนึ่ง แต่การทดลองนำมาใช้ยังไม่เป็นที่พอใจ เนื่องจากมีศัพท์และ

            ข้อยกเว้นต่าง ๆ ทำให้การแปลภาษายุ่งยากขึ้น

                        การประยุกต์ใช้งานด้านสาธารณสุข

                        ปัจจุบันนี้เครื่องมือแพทย์เกือบทุกชนิดคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมวินิจฉัยโรคกับเครื่องมือแพทย์และ

            ยังสามารถใช้บันทึกประวัติคนไข้ ข้อมูลทางด้านการบริหาร เป็นต้น

                        การประยุกต์ใช้งานด้านธุรกิจ

                        เพราะทุกกิจการจะต้องมีการแข่งขันทางด้านธุรกิจ คอมพิวเตอร์จะช่วยตอบสนองการแข่งขันในธุรกิจอย่าง

            มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เพื่อให้ได้รับกำไรสูงสุด และค่าใช้จ่ายต่ำสุด จึงมีการใช้คอมพิวเตอร์กันมากในส่วน

            ของหน่วยงาน การประยุกต์ใช้งานมีดังนี้

                    ระบบบัญชีต่าง ๆ

                    ระบบการผลิต

                    ระบบการตลาด

                        ระบบเงินเดือน

                    ระบบสินค้าคงคลัง

                    ระบบบุคลากร

                    ในงานธุรกิจทุก ๆ ระบบจะมีความสัมพันธ์กัน โดยคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ อำนวยความสะดวกในการ

           ทำงานของงานต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลที่สัมพันธ์กันมาประมวลผลข้อมูลร่วมกัน ระบบฐานข้อมูลของคอมพิวเตอร์

            เพื่อให้ได้สารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารแต่ละระบบจนถึงผู้บริหารระดับสูง

     

                    ۞ สาเหตุที่งานทางธุรกิจใช้คอมพิวเตอร์ คือ

                    บันทึกข้อมูลได้ดี ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพสูง

                    ลดความผิดพลาดของการปฏิบัติงาน การบันทึกข้อมูล

                    รวบรวมข้อมูล และการเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

                    ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารแต่ละระดับได้ดี

                    มีความเร็วและความแม่นยำสูง

     

                    ۞ ธรรมชาติการทำงานของคอมพิวเตอร์ คือ

                        มีความเร็วสูง

                    มีความเชื่อถือได้

                    เก็บข้อมูลได้จำนวนมาก

                    เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

                    ช่วยในการตัดสินใจ

                    ลดต้นทุน

     

     

     

     ۞ วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

                     ในอดีตนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ได้พยายามคิดค้นเครื่องมือ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์

            วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นเพราะการคำนวณต่าง ๆ การบวก ลบ คูณ หาร ในยุคแรกมนุษย์มี ลูกหินเป็น

            เครื่องมือ ต่อมาชาวจีนได้คิดค้นลูกคิด (Abacus) ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณอย่างง่าย แต่ก็ยังได้รับความนิยมมาถึง

            ปัจจุบัน แต่ปัญหาของการใช้ลูกคิดก็คือ ต้องอาศัยความชำนาญ และไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้

                    พ.ศ. 2157 John Napier นักคณิตศาสตร์ ชาวสก๊อตแลนด์ได้สร้างตาราง Logarithms ฐาน e ขึ้น

                    พ.ศ. 2160 John Napier ได้ดัดแปลงเครื่องมือเพื่อประโยชน์ในการคูณ หาร และการถอดกรณฑ์ (root)

            เรียกว่า Napier ' s bone

                    พ.ศ. 2165 William Oughtred นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ใช้แนวความคิดของ Napier  พัฒนาเครื่องมือ

            ที่เรียกว่า Slide Rule ใช้สำหรับการคูณและหาร เครื่องมือนี้เองได้กลายเป็นต้นกำเนิดของ Analog Computer

                    พ.ศ. 2185 Blaise Pascal นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ได้คิดค้นเครื่องบวกเลข ทำงานโดย

            ฟันเฟือง

                    พ.ศ. 2237 Gotfried Leibnitz ได้พัฒนาเครื่องบวกเลขของ Pascal ให้ทำการคูณและหารได้ และยังสามารถ

            ทำซ้ำกันหลาย ๆ ครั้งได้

                    พ.ศ. 2355 Charles Babbage ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ

            เกิดแนวคิดที่จะสร้าง Analytical Engine โดยมีโครงสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนรับข้อมูล ส่วนคำนวณ

            ส่วนควบคุม แต่ไม่สำเร็จ แนวความคิดของแบบแบจ ถือว่าเป็นรากฐานของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

                    ระหว่างที่ Babbage พัฒนาเครื่องคำนวณนั้น Lady Ada Augusta Lovelace ได้ทำงานร่วมกัน โดยคิดค้น

            หลักการเขียนโปรแกรมเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น จึงถือว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

                    ช่วงเวลาเดียวกัน George Boole นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษคิดค้นระบบพิซคณิต เรียกว่า "พิซคณิตบูลีน"

            (Boolean Algebra) ซึ่งได้ดัดแปลงให้เข้ากับวงจรไฟฟ้า

                    พ.ศ. 2423 Dr.Herman Hollerith นักสถิติชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์บัตรสำหรับเก็บข้อมูลและประดิษฐ์เครื่อง

            จักรกลสำหรับอ่านบัตรเจาะรู เพื่อใช้ในการทำสำมะโนประชากรของสหรัฐอเมริกา

                    พ.ศ. 2478 Prof. Howard Aiken แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ร่วมกับวิศวกรจากบริษัทไอบีเอ็ม คิดค้นเครื่อง

            คำนวณตามแนวความคิดของ ชาร์ล แบบเบจ และแนวคิดในการนำบัตรเจาะรูมาเก็บข้อมูล ได้สร้างเครื่องคำนวณ

            อัตโนมัติเครื่องแรกที่สามารถคำนวณและเปรียบเทียบตามขั้นตอนต่าง ๆ ของชุดคำสั่งที่บันทึกไว้โดยอัตโนมัติ

                    พ.ศ.2489 กองทัพสหรัฐฯ ต้องการเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณระยะทางและทิศทางในการส่งขีปนาวุธ

            หลาย ๆ ชนิด จึงได้ให้ทุนแก่ Dr. John Mauchly และ Dr. John Ecken แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย เพื่อสร้าง

            คอมพิวเตอร์อิเลคทรอนิกส์ขึ้นภายใต้ชื่อว่า Electronic Integrator and Calulater  (ENIAC)  โดยใช้ หลอด   

            สูญญากาศ (Vacuum tubes) และควบคุมการทำงานจากภายนอก

                    พ.ศ. 2492 Dr. John Neumann และ Herman Goldstein นักคณิตศาสตร์มหาวิทยาลัยพรินสตอล ได้สร้าง

            เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บชุดคำสั่งไว้ภายในเครื่องได้ เรียกเครื่องนี้ไว้ว่า Electronic Discrete Variable

            Automatic Computer (EDVAC) โดยใช้ระบบเลขฐานสอง

                    พ.ศ. 2504 บริษัทไอบีเอ็ม ผลิตคอมพิวเตอร์รุ่น 360 ออกสู่ตลาดซึ่งสามารถประมวลผลทั้งทางด้านธุรกิจ

            และวิทยาศาสตร์

                    พ.ศ. 2509 บริษัทไอบีเอ็ม ได้พัฒนาภาษา PL/1 ขึ้น โดยรวมเอาข้อดีของภาษาฟอร์แทนและภาษาโคบอล

            ไว้ด้วยกัน

                    พ.ศ. 2513 วิศวะของบริษัทอินเทลสร้างไมโครโปรเซสเซอร์ขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นเหตุให้เกิดการพัฒนาการไป

            ในด้านไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้น

                    พ.ศ. 2519 Steve Job และ Steve Wozniak ตั้งบริษัท APPLE Computer ขึ้นและผลิตเครื่องออกสู่ตลาด

            จนมียอดจำหน่ายสูงมาก

                    พ.ศ.2520 Gay Kildall สร้างโปรแกรมควบคุมขึ้นเรียกว่า CP/M ซึ่งใช้เป็นระบบปฏิบัติการ (Operation

             System)  ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย

                    พ.ศ. 2521 Daniel Bricklin นักพัฒนาระบบซูเปอร์แคลก์  (Super CALC) ใช้กับเครื่องแอปเปิ้ลทู ใช้สำหรับ

            วิเคราะห์การเงิน เป็นที่นิยมกันอย่างมาก

                    พ.ศ. 2522 บริษัทไมโครซอฟท์สร้างตัวแปลภาษาของภาษาเบสิก ฟอร์แทน และโคบอล ขึ้นใช้กับไมโคร -

            คอมพิวเตอร์ ขึ้น

                    พ.ศ. 2525 บริษัทไอบีเอ็ม ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (Personal Computer) เรียกว่า IBM PC

            ขนาด 16 Bit รุ่นแรก ใช้ โปรเซสเซอร์ของอินเทลเบอร์ 8088

                    หลังจากนั้นหลายบริษัทได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์มาตรฐานเดียวกับ  IBM PC ออกมามากมาย เรียกว่า

            PC Compatible

     

    วิวัฒนาการของเครื่องพีซี

                     เครื่องพีซีหรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นมีวิวัฒนาการมากว่า 15 ปี แบ่งวิวัฒนาการของเครื่อง

            PC ได้ดังนี้

                    1. ไอบีเอ็มพีซี (IBM PC) ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของเครื่องพีซีผลิตโดยบริษัทไอบีเอ็ม แห่งสหรัฐอเมริกา ใช้

            ไมโครโปรเซสเซอร์เบอร์ 8088 ที่ผลิตโดยบริษัทอินเทล

                    2. ไอบีเอ็มเอ็กซ์ที(IBM Extende Technology)ยังคงใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เบอร์ 8088 เป็นหน่วยประมวล

            ผลกลางเหมือนเดิม แต่มีหน่วยความจำแรมเป็น 512 ไบท์ มี ฮาร์ดดิส ขนาด 5 - 10 เมกะไบต์

                    3. ไอบีเอ็มเอที (IBM Advancde Technology) ได้เปลี่ยนแปลงไมโครโปรเซสเซอร์เป็นเบอร์ 80286 ของ

            บริษัท อินเทล มีหน่วยความจำแรม 256 ไบต์ ขยายได้ถึง 640 ไบต์ ความเร็ว 6 เมกะเฮิรตซ์ สามารถใช้แผ่น

            ดิสเกตต์ขนาด 5.25 นิ้ว แบบความจุสูงมีความจุ 1.2 เมกะไบต์ ประมวลผลแบบ 16 บิต

                    4. พีซีเทอร์โบ (PC Turbo) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีการปรับปรุงตกแต่ง ให้มีความเร็วสูงขึ้นใช้

            ไมโครโปรเซสเซอร์ เบอร์ 8088 แต่ประสิทธิภาพยังสู้เครื่องไอบีเอ็มเอทีไม่ได้

                    5. พีซีเอที 386 ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เบอร์ 80386 มีขนาด 32 บิต ความเร็ว 33 เมกะเฮิรตซ์ มี

            ประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องไอบีเอ็มเอที เป็นอย่างมาก เครื่องเอที 386 ผลิตโดยบริษัทคอมแพค (Compag)

            แต่บริษัทไอบีเอ็มได้ผลิตเครื่องรุ่นใหม่คือ PS/2 (IBM Personal System/2)

                    6. PS/2 เป็นเครื่องที่ไอบีเอ็มผลิตขึ้นมาเพื่อป้องกันการเลียนแบบใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เบอร์ 80286

            ความเร็วตั้งแต่ 12 เมกะเฮิรตซ์ขึ้นไปหน่วยความจำตั้งแต่ 1 เมกะไบต์ ใช้ดิสก์ขนาด 3.50 ความจุ1.44 เมกะไบต์

            จอภาพสีแบบ VGA    ใช้สัญญาณแบบแอนะล็อก ซึ่งเดิมใช้แบบ (TTL) และเปลี่ยนระบบบัสภายในเป็นแบบ

            เอ็มซีเอ (MCA)

                    7. พีซี 386SX เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูเบอร์ 80386SX เป็นซีพียูที่อยู่ระหว่าง 80286 กับ 80386

            โดยดาต้าบัสเป็นแบบ 32 บิต แต่สายแอดเดรสเป็นแบบ 16 บิต เหมือน 80286 ราคาไม่สูงมากนัก

                    8. พีซี 486 ประสิทธิภาพของเครื่องพีซีรุ่นนี้สูงกว่า พีซี 386 มากระบบบัสที่ใช้เป็นแบบ ELSA BUS ที่มี

            ความเร็วในการทำงานสูงกว่า AT BUS

                    9. พีซี 486SX เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูเบอร์ 80486SX เป็นซีพียูที่อยู่ระหว่าง 80386 กับ 80486

            มีแรมบนบอร์ด 4 เมกะไบต์ขยายได้ถึง 64 เมกะไบต์ ความเร็วตั้งแต่ 33 เมกะเฮิรตซ์  ติดตั้ง ฮาร์ดดิสก์ได้ตั้งแต่

            270 เมกะไบต์ เป็นต้นไปมีระบบมัลติมิเดีย FAX/MODEM

                    10. พีซี 486DX2-66  และพีซี 486DX4-100  เป็นเครื่องที่นิยมใช้กันมากมีแรมบนบอร์ด 4 เมกะไบต์ ขยาย

            ได้ถึง 100 เมกะไบต์ ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ตั้งแต่ 540 เมกะไบต์ เป็นต้นไป มี ระบบมัลติมิเดียเป็น LOCAL BUS

                    11. พีซี Pentium, Pentium Pro ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เบอร์ 80586 แต่เปลี่ยนชื่อเรียกว่า Pentium

            เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประสิทธิภาพสูงมาก ความเร็วตั้งแต่ 90 เมกะเฮิรตซ์ขึ้นไป

                    12. พีซี Pentium II เป็นเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงมีความเร็วตั้งแต่ 266 เมกะเฮิรตซ์ขึ้นไป

     

    การใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านต่าง ๆ

     

                    ۞ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทย คือ เครื่อง IBM 1620 ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ภาควิชาสถิติ คณะ

             พาณิชยศาสตร์การบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2506

                    ۞ ขณะเดียวกันที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ คือเครื่อง IBM 1401

            ซึ่งทำการประมวลผลสำมะโนเกษตร ปี พ.ศ.2506

                    ۞ ในปี พ.ศ. 2510 มีการตั้งศูนย์ประมวลผลด้วยเครื่องจักรแห่งประเทศไทยขึ้นอยู่ในสำนักงานสถิติแห่งชาติ

     

                    อุปสรรคสำคัญของการเจริญเติบโตทางธุรกิจคอมพิวเตอร์ในเมืองไทย ได้แก่

                    ۞  ขาดบุคลากร โดยเฉพาะในส่วนราชการ เพราะมีการจ้างงานด้านนี้น้อย

                    ۞  ภาษา เนื่องจากคู่มือการใช้ (MANUAL) รวมถึงตำรับตำราส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ

                    ۞  การขาดความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ของบุคคลทั่วไป

                    ۞  ราคา เครื่องคอมพิวเตอร์ในเมืองไทยราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับต่างประเทศ

     

            *   ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และการประยุกต์ใช้ในงานต่าง

                    ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์มีการนำไปใช้กับงานต่าง ๆ อย่างกว้างขวางทั้งทางด้านธุรกิจและวิทยาศาสตร์

            พอที่จะกล่าวโดยสังเขปดังนี้

                    1. การทำบัญชี (ACCOUTING) เป็นการประยุกต์ทางธุรกิจทางด้านบัญชีต่าง ๆ ได้แก่

                                ۞  การจัดส่งของ (INVOICING)

                                ۞  บัญชีรายได้ (ACCOUNTS RECEIVABLE)

                                ۞  บัญชีรายจ่าย (ACCOUNTS PAYABLE)

                                ۞   เงินเดือน (PAYROLL)   

                                ۞  การควบคุมสินค้าคงคลัง (INVENTORY CONTROL)

                                ۞  การทำบัญชีแยกประเภท (GENERAL LEDGER) เป็นต้น

                    2. การธนาคารและสถาบันการเงินอื่น ๆ (BANKING AND FINANCIAL INSTITUTE) ได้แก่

                                ۞  การจัดการกับเช็ค (CHECK PROCESSING)

                                ۞  สินเชื่อสำหรับการพาณิชย์ (COMMERCIAL LONES)

                                ۞  การบริหารบัตรเครดิต  (CREDIT CARD ADMINISTRATION)

                                ۞  การรับจ่ายเงินอัตโนมัติ  (AUTOMATIC TELLER)

                                ۞  การโอนเงินด้วยระบบไฟฟ้า (ELECTRONIC FUND TRANSFER : EFT)  เป็นต้น

                    3. งานอุตสาหกรรมโรงงาน (MANUFACTURING) ได้แก่

                                ۞  ระบบส่งของของลูกค้า (CUSTOMER ORDER SYSTEM)

                                ۞  การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานในโรงงานและช่วยงานออกแบบ (COMPUTER ASSISTED

                    MANUFACTURING AND DESIGN : CAM AND CAD )

                                ۞  การควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบ (QUALITY CONTROL AND TESTING)  เป็นต้น

                    4. งานด้านการตลาด (MARKETING) ได้แก่

                                ۞  การวิจัยตลาด (MARKETING RESEARCH)

                                ۞  การวิเคราะห์สถานที่ตั้ง (PLACE ANALYSIS)

                                ۞  การวิเคราะห์ราคาและการทำนายการขาย (PRICE ANALYSIS AND SALES PROJECTION)

                    5. การอัตโนมัติในสำนักงาน (OFFICE AUTOMATION : OA) ได้แก่

                                ۞  ด้านเวิร์ดโปรเซสซิง (WORD PROCESSING)

                                ۞  อิเล็คทรอนิกส์เมล์ (ELECTRONIC MAIL)

                                ۞  การส่งข่าวสารผ่านทางด้านคอมพิวเตอร์, การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นข่ายงาน  (LOCAL

                    AREA NETWORK : LAN)

                                ۞  การสื่อสารโดยโทรสาร (FACSIMILE :FAX)

                                ۞  การประชุมทางไกล  (TELECONFERENCING) เป็นต้น

                    นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ยังประยุกต์กับงานต่าง ๆ ดังนี้

                           ۞  คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน

                           ۞  งานสำรวจอวกาศ

                                ۞  งานการเดินเรือ

                                ۞  งานควบคุมการจราจร

                                ۞  งานอุตุนิยม

                                ۞  งานเกี่ยวกับการแพทย์

                                ۞  งานการสื่อสาร

                          ۞  งานด้านการป้องกันประเทศ

                          ۞  งานควบคุมอาคาร 

                          ۞  งานอื่น ๆ อีกมากมาย

    ۞ ยุคของคอมพิวเตอร์ (WORD OF COMPUTER)

                     

                  

    ยุคที่

    1

    2

    3

    4

    วงจร

    หลอดสูญญากาศ

    ทรานซิสเตอร์

    IC

    VLSI

    MEMORY

    หน่วยความจำ

    RELAY ความจุน้อย

    MAGNET DRUM

    วงแหวนแม่เหล็ก

     

    วงแหวนแม่เหล็ก

     

    สารกึ่งตัวนำ

     

    รูปร่าง

    ใหญ่โต

    เล็กลง

    เล็กลง

    เล็กลง

    ภาษา

    ภาษาเครื่อง

    สูง

    สูง

    สูง

    INPUT/OUTPUT

     

    บัตรเจาะรู

     

    เทปแม่เหล็ก

     

    เทปแม่เหล็ก

     

    เทปแม่เหล็ก

    จานแม่เหล็ก

     

            IC          =  INTERGRATED CIRCUIT

            VLSI       =  VERY LARGE SCALE INTEGRATION

            ยุคที่ 3     เป็นยุคที่เกิดมินิคอมพิวเตอร์ ความเร็วเป็นนาโนวินาที

            ยุคที่ 4     เป็นยุคที่เกิดไมโครคอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกคือ Altrair 8800

            ยุคที่ 5     เป็นยุคที่เน้นพัฒนาด้าน AI ปัญญาประดิษฐ์ ระบบผู้ชำนาญการและธรรมชาติ

     

            ชนิดของคอมพิวเตอร์

            ชนิดของคอมพิวเตอร์แบ่งตามขนาด

                        1. SUPER COMPUTER มีขนาดใหญ่มากและซับซ้อนใช้ในงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การพยากรณ์

            อากาศ งานวิจัยกิจกรรม งานสำรวจอวกาศ เป็นต้น

                        2. MAINFRAME เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ใช้ในงานธุรกิจขนาดกลางถึงใหญ่ เช่น งานธนาคาร เป็นต้น

                        3. MINICOMPUTER ทำงานช้ากว่า MAINFRAME ใช้ในงานธุรกิจและในมหาวิทยาลัย

                        4. MICROCOMPUTER เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ  PC  (PERSONAL COMPUTER)

     

            ชนิดของคอมพิวเตอร์แบ่งตามลักษณะการประมวลผล

                        คอมพิวเตอร์ 8 บิต ประมวลผลข้อมูลครั้งละ 8 บิต ปัจจุบัน ไม่นิยมใช้แล้ว มักใช้ในงานพิมพ์รายงาน

            เล่นเกมส์ ตัวอย่างเช่น Commodore 64, Apple2, Intel 8080

                        คอมพิวเตอร์ 16 บิต ประมวลผลข้อมูลครั้งละ 16 บิต มักใช้กับงาน Word Processing Spreadsheet,

            ระบบฐานข้อมูลทางธุรกิจ ตัวอย่างเช่น Apple Macintos, IBM AT 80386, IBM PS/2, INTEL 80486

                         คอมพิวเตอร์ 32 บิต ประมวลผลข้อมูลครั้งละ 32 บิต ใช้กับงานลักษณะเดียวกับแบบ 16 บิต แต่เพิ่ม

            ความสามารถในด้านการสื่อสารเครือข่าย และสามารถใช้งานแบบ Multitasking ได้

                         คอมพิวเตอร์ 64 บิต สามารถทำงาน ทั้งแบบ 32 บิต และ 64 บิตได้ ออกมาใช้งานในปัจจุบัน

            โดยสนับสนุนระบบ ปฏิบัติการ กับ Windows Vista  สนับสนุน Multimidia และ งานด้านกราฟฟิคสูง

     

            ชนิดของคอมพิวเตอร์แบ่งตามลักษณะการใช้งาน

                        1. Analog computer แสดงผลในลักษณะทางกายภาพ เช่น กราฟ ใช้ในวิทยาศาสตร์

                        2. Digital computer แสดงผลในลักษณะของตัวเลข นิยมในทางธุรกิจ

                        3. Hybrid computer นำ Analog และ Digital มารวมกัน

                        คอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ (General-purpose computer) สามารถทำงานที่แตกต่างกันได้หลายอย่าง

            เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเอนกประสงค์

                        คอมพิวเตอร์ใช้งานเฉพาะด้าน (Special purpose computer) ใช้งานเฉพาะหน้าที่อย่างใด อย่างหนึ่ง

            เท่านั้น (ปกติเราจะมองเห็นไม่ชัดเจน) เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมระบบของตู้เย็น เตาไมโครเวฟ VDO เป็นต้น

     

            DATA COMUNICATION  ระบบสื่อสารข้อมูล

                        ระบบการสื่อสารข้อมูลจะจัดในรูปข่ายงานคอมพิวเตอร์ โดยนำระบบคอมพิวเตอร์จำนวนมากมาเชื่อมโยง

            เป็นข่ายงาน โดยใช้อุปกรณ์ HARDWARE ร่วมกัน ข่ายงานที่นิยมใช้ คือ

                        1. CENTRALIZED ระบบประมวลผลแบบศูนย์กลาง คือ มีคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่อยู่ที่ศูนย์กลางและ

            มีสถานีติดต่อมายังศูนย์กลางโดยตรง ข่ายงานชนิดนี้ ง่ายต่อการดูแล

                        2. DISTRIBUTED  DATA  PROCESSING ระบบประมวลผลแบบกระจายข่ายงานนี้จะติดตั้งคอมพิวเตอร์

            หลายระบบ ทำงานต่างสถานีแต่เชื่อมโยงถึงกันโดยผ่านระบบสื่อสารข้อมูล

     ۞ ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์

                     

                      บิท (Bits) เป็นเลขฐานสอง (binary digit) และเป็นสมาชิกหรือค่าที่เล็กที่สุด ที่ใช้แทนในคอมพิวเตอร์

            แทนค่าได้เพียงค่า 0 หรือ 1 เท่านั้น เป็นพื้นฐานในการออกแบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแทนค่าเลข 0 เป็นสถานะเปิด

            และสถานะปิด จะแทนด้วย 1 ซึ่งเป็นค่าของเลขฐานสอง (binary number system)

                       ไบท์ (Bytes) เมื่อนำบิท หลาย ๆ บิท มาเรียงต่อกัน จำนวน 8 บิท เราเรียกว่า ไบท์ เป็นหน่วยพื้นฐาน

            ของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ที่ใช้แทนตัวอักขระที่แตกต่างกันได้ถึง 28 หรือ 256 ซึ่งเพียงพอสำหรับงานประยุกต์

            ต่าง ๆ

                       คำ (Words) เป็นหน่วยพื้นฐานของความสามารถในการเก็บข้อมูลสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีความ

            ยาวขึ้นอยู่กับขนาดของตัวประมวลผล

            เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 8 บิท คำมีความยาว 8 บิท หรือ 1 ไบท์

                  ตัวประมวลผลมีขนาด 16 บิท ความยาวของคำเท่ากับ 16 บิท หรือ 2 ไบท์

    *

                       ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปตัวประมวลผลมีส่วนประกอบเป็นล้าน ๆ ส่วน แต่ส่วน

            หลักที่ควรทราบมีดังนี้

                       1. หน่วยประมวลผลกลาง (Central processing unit : CPU หรือ MPU : microprocessing Unit)

                       2. หน่วยความจำ (Memory) ประกอบด้วยชิพรวม (integrated chips)

                       3. บัสข้อมูล (Data Bus)

          

            1. CENTRAL  PROCESSING  UNIT : CPU (หน่วยประมวลผลกลางหรือไมโครโปรเซสเซอร์) ที่ทำหน้าที่

           เป็นศูนย์กลางการประมวลผลข้อมูล ควบคุมการปฏิบัติการข้อมูลได้ครั้งละ 16 บิท หรือ  2  ไบท์ แบ่งออกเป็น

           3 ส่วน คือ

                        1. CONTROL  UNIT (หน่วยควบคุม) ควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ กับโลกภายนอก และ

            ควบคุมก

     ................................................................................................................................................

    ประวัติคอมพิวเตอร์ และวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

     

    [ ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ] ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ( Abacus)

    [ พ.ศ. 2158 ] นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคำนวณขึ้นมาเรียกว่า Napier’s Bones เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน

    [ พ.ศ.2173 ] วิลเลียม ออตเทรต( William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule) ซึ่ง ต่อมากลายเป็นพื้นฐานของการสร้างคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก

     

     

    [ พ.ศ.2185 ] เบลส์ ปาสคาล ( Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกลบขึ้น โดยใช้หลัการหมุนของฟันเฟือง และการทดเลขเมื่อฟันเฟืองหมุน ไปครบรอบ โดยแสดงตัวเลขจาก 0-9 ออกที่หน้าปัด

     

    [ พ.ศ.2214 ] กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz ) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้

    ปรับปรุงเครื่องคิดเลขปาสคาล ให้ทำงานได้ดีกว่าเดิม และเขายังค้นพบเลขฐานสอง (Binary number)

    [ พ.ศ.2288 ] โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด ( Joseph Marie Jacquard) เป็นชาวฝรั่งเศสได้คิด เครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทดผ้าให้มีสีและลวดลายต่าง ๆ

    • [ พ.ศ.2365 ] ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องหาผลต่าง ( Difference Engine) เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ แบบเบจได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทำงานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคำนวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนำมาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงยกย่องแบบเบจ ว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค ( Lady Ada Augusta Lovelace ) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เข้าใจผลงานของแบบเบจ ได้เขียนวิธีการใช้เครื่องคำนวณของแบบเบจเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ต่อมา เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

     

     

    Differnce Engine

    [ พ.ศ.2393 ] ยอร์จ บูล ( George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบ พีชคณิตระบบใหม่เรียกว่า Boolean Algebra โดยใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ True (On) และ False (Off) ร่วมกับเครื่องหมายในทางตรรกะพื้นฐาน ได้แก่ NOT AND และ OR ต่อมาระบบเลขฐานสอง และ Boolean Algebra ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีสภาวะ 2 แบบ คือ เปิด , ปิด จึงนับเป็นรากฐานของการออกแบบวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน (Digital Computer)

     

    • [ พ.ศ.2480-2481 ] ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

    • Atansoff
    •  [ พ.ศ.2487 ] ศาสตราจารย์โอเวิร์ด ไอด์เคน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่อง MARK I เป็นผลสำเร็จ แ ต่อย่างไรก็ตามเครื่อง MARK I นี้ยังไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงแต่เป็นเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น
    • [ พ.ศ.2485-2495 ] มหาวิทยาลัยเพนซิลเลเนียได้สร้างเครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator And Calculator) นับได้ว่าเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกที่ใช้หลอดสูญญากาศ และควบคุมการทำงานโดยวิธีเจาะชุดคำสั่งลงในบัตรเจาะรู

    • ENIAC\
    • [ พ.ศ.2492 ] ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ ( Dr.John Von Neumann ) ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่อง ชื่อว่า EDVAC นับเป็นคอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรม ไว้ในเครื่องได้
    • [ พ.ศ.2496-2497 ] บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์ชื่อ IBM 701 และ IBM 650 โดยใช้หลอดสุญญากาศเป็นวัสดุสร้าง ต่อมาเกิดมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนำขึ้นที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell Telephone ได้เกิดทรานซิสเตอร์ตัวแรกขึ้น ต่อมาทรานซิสเตอร์ได้ถูกนำไปแทนหลอดสูญญากาศ จึงทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงและเกิดความร้อนน้อยลง (เครื่องที่ใช้ทรานซิสเตอร์ได้แก่ IBM 1401และ IBM 1620 )


    หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube)

    • [ พ.ศ.2506] ประเทศไทยเริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้เป็นครั้งแรก โดยที่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกในประเทศไทยได้ติดตั้งที่ ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือ IBM 1620 ซึ่งได้รับมอบจากมูลนิธิเอไอดี และบริษัทไอบีเอ็ม แห่ง ประเทศไทยจำกัด ปัจจุบันหมดอายุการใช้งานไปแล้ว จึงได้มอบให้แก่ศูนย์บริภัณฑ์การศึกษาท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ [ พ.ศ.2507] เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองของประเทศไทยติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนมีนาคม 2507

     


    ก่อกำเนิด ไมโครโปรเซสเซอร์

    เมื่อก่อนนั้น Intel เป็นบริษัทผลิตชิปไอซีแห่งหนึ่งที่ไม่ใหญ่โตมากนักเท่าในปัจจุบันนี้ เมื่อปี ค.ศ.1969 ได้สร้างความสะเทือน ให้กับวงการอิเล็คทรอนิคส์ โดยการออกชิปหน่วยความจำ(Memory)ขนาด 1 Kbyte มาเป็นรายแรก
    บริษัทบิสซิคอมพ์(Busicomp) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขของญี่ปุ่นได้ทำการว่าจ้างให้ Intel ทำการผลิตชิปไอซี ที่บิสซิคอมพ์เป็นคนออกแบบเองที่มีจำนวน 12 ตัว โครงการนี้ถูกมอบหมายให้นาย M.E. Hoff, Jr. ซึ่งเข้าตัดสินใจที่จะใช้วิธีการออกแบบชิปแบบใหม่ โดยสร้างชิปที่ให้ถูกโปรแกรมได้ หมายถึงว่าสามารถนำเอาชุดคำสั่งของการคำนวณไปเก็บไว้ใน หน่วยความจำก่อนแล้วให้ไอซีตัวนี้อ่านเข้ามาแปล ความหมาย และทำงานภายหลัง
    ในปี 1971 Intel ได้นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า Intel 4004 ในราคา 200 เหรียญสหรัฐ และเรียกชิปนี้ว่าเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์(Micro Processor) ก็เพราะว่า 4004 นี้เป็น CPU (Central Processing Unit) ตัวหนึ่ง ซึ่งมีขนาด 4.2 X 3.2 มิลลิเมตร ภายในประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ จำนวน 2250 ตัว และเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 4 บิต
    หลังจาก 1 ปีต่อมา Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ ขนาด 8 บิตออกมาโดยใช้ชื่อว่า 8008 มีชุดคำสั่ง 48 คำสั่ง และอ้างหน่วยความจำได้ 16 Kbyte ซึ่งทาง Intel หวังว่าจะเป็นตัวกระตุ้นตลาดทางด้านชิปหน่วยความจำได้อีกทางหนึ่ง
    เมื่อปี 1973 ทาง Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ที่มีชุดคำสั่งพื้นฐาน 74 คำสั่งและสามารถอ้างหน่วยความจำได้ 64 Kbyte

    ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกของโลก

    เมื่อปี 1975 มีนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่ง ชื่อว่า Popular Electronics ฉบับเดือน มกราคม ได้ลงบทความ เกี่ยวกับเครื่อง ไมโครโปรเซสเซอร์ เครื่องแรกของโลกที่มีชื่อว่า อัลแตร์ 8800 (Altair) ซึ่งทำออกมาเป็นชุดคิท โดยบริษัท MITS (Micro Insumentation And Telemetry Systems) ลักษณะของชุดคิท ก็คือ จะอยู่ในรูปของอุปกรณ์แต่ละชิ้นโดยให้ คุณนำไปประกอบขึ้นใช้เอง
    บริษัท MITS ถูกก่อตั้งเมื่อปี 1969 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำตลาดในด้านเครื่องคิดเลข แต่การค้าชลอตัวลง ประธานบริษัท ชื่อ H. Edword Roberts เห็นการไกล คิดเปิดตลาดใหม่ซึ่งจะขายชุดคิด คอมพิวเตอร์ ประมาณเอาไว้ว่าอาจขาย ได้ในจำนวนปีล่ะประมาณ 200-300 ชุด จึงให้ทิมงานออกแบบบและพัฒนาแล้วเสร็จก่อนถึงคริสต์มาส ในปี 1974 แต่เพิ่งมา ประกาศตัวในปีถัดไป สำหรับ CPU ที่ใช้คือ 8080 และคำว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ จึงถูกเรียกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อชุดคิทคอมพิวเตอร์ชุดนี้
    ชุดคิทของ อัลแตร์ นี้ประกอบด้วย ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ของบริษัท Intel มี เพาเวอร์ซัพพลาย มีแผงหน้าปัดที่ติดหลอดไฟ เป็นแถวมาให้เพื่อแสดงผล รวมถึงหน่วยความจำ 256 Byte ( แหม.. เหมือนของเล่นเราในสมัยนี้ จังงง ) นอกนั้น ยังมี สล๊อต (Slot) ให้เสียบอุปกร์อื่น ๆ เพิ่มได้ แต่ก็ทำให้ MITS ต้องผิดคาด คือ ภายใน เดือนเดียว มีจดหมายส่งเข้ามาขอสั่งซื้อเป็นจำนวนถึง 4,000 ชุดเลยทีเดียว
    ด้วยชิป 8080 นี่เองได้เป็นแรงดลใจให้บริษัท ดิจิตอลรีเสิร์ช (Digital Research) กำเนิดระบบปฏิบัติการ(Operating System) ที่ชื่อว่า ซีพีเอ็ม(CP/M หรือ Control Program For Microcomputer) ขึ้นมา ในขณะที่ Microsoft ยังเพิ่งออก Microsoft Basic รุ่นแรกเท่านั้นเอง

    ถึงยุค Z80
    เมื่อเดือน พฤศจิกายนปี 1974 ได้มี วิศวกรของ Intel บางคนได้ออกมาตั้งบริษัทผลิตชิปเอง โดยมีชื่อว่า ไซล๊อก (Zilog) เนื่องจาก วิศวกรเหล่านี้ ได้มีส่วนร่ามในการผลิตชิป 8080 ด้วยจึงได้นำเอาเทคโนโลยีการผลิดนี้มาสร้างตัวใหม่ที่ดีกว่า มีชื่อว่า Z80 ยังคงเป็น ชิปขนาด 8 บิต เมื่อได้ออกสู่ตลาดได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากได้ปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน 8080 จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ หลายต่อหลายยี่ห้อ หันมาใช้ชิป Z80 กัน แม้แต่ซีพีเอ็ม ก็ยังถูกปรับปรุงให้มาใช้กับ Z80 นี้ด้วย *** แม้ในปัจุบันนี้ Z80 ยังคงถูกใช้งาน และนำไปใช้ ในการเรียนการสอน ไมโครโปรเซสเซอร์ ด้วย เช่น ชุดคิดหรือ Single Board Microcomputer ของ ETT, Sila เป็นต้น และ IC ตัวนี้ยังผลิตขาย อยู่ในปัจจุบัน ในราคา ไม่เกิน 100 บาท น่ะจะบอกให้)
    Computer เครื่องแรกของ IBM
    ในปี 1975 ไอบีเอ็ม ได้ออกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกออกมา แต่ทางไอบีเอ็มได้เรียกเครื่องนี้ว่าเป็น เทอร์มินัลแบบชาญฉลาด ที่สามารถโปรแกรมได้ (Intelligent Programmable Terminal) และตั้งชื่อรุ่นว่า Model 5100 มีหน่วยความจำ 16 Kbyte แล้วยังมีตัวแปลภาษาเบสิก แบบอินเตอร์พรีทเตอร์ (Interpreter) ด้วย และมี ไดรฟ์สำหรับใส่คาร์ทิดจ์เทปในตัว แต่ก็ยังขายไม่ดีเอามาก ๆ เลย เพราะว่าตั้งราคาไว้สูงมากถึง 9,000 เหรียญสหัฐ
    ในปลายปี 1980 บริษัทไอบีเอ็มได้เกิดแผนกเล็ก ๆ ขึ้นมาแผนกหนึ่งเรียกว่า Entry Systems Division ภายใต้ทีมของคนชื่อว่า ดอน เอสทริดจ์ (Don Estridge) และนักออกแบบอีก 12 คน โดยได้รับมอบหมายให้พัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของไอบีเอ็มโมเด็ล 5100 นั้นเอง โดยนำเอาจุดเด่นของเครื่อง ที่ขายดีมารวมไว้ในการออกแบบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม และผลิตจำหน่ายได้ภายในปีเดียวภายใต้ชื่อว่า ไอบีเอ็มพีซี (IBM PC) ซึ่งถูกเปิดตัวในเดือน สิหาคม ปี 1981 และยอดขายของเครื่องพีซีก็ได้พุ่งอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทอื่น ๆ จับตามอง

    กำเนิด แอปเปิ้ล

    ในปี 1976 หลังจาก Stephen Wozniak และ Steve Jobs ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) และได้นำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขายโดยใช้ชื่อว่า Apple I ในราคา 695 เหรียญ บริษัทแอปเปิลได้ผลิตเครื่อง Apple I ออกมาไม่มากนัก ภายในปีเดียวได้ผลิต Apple II ออกมา
    และรุ่นนี้เป็นรุ่นเปิดศักราชแห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่ไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด


    อ้างอิงจาก
    http://www.sanambin.com
    http://www.wikipedia.com

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×