ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลไดโนเสาร์

    ลำดับตอนที่ #1 : ไดโนเสาร์หายไปไหน?

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 395
      0
      14 พ.ค. 53

    ไดโนเสาร์ … หายไปไหน ?
    เรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์ยังคงเป็นเรื่องที่สร้างความพิศวงและแปลกใจให้กับพวกเราทุกคนไม่รู้หาย เหตุใดเจ้าสัตว์ร่างใหญ่เหล่านี้จึงสูญหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์โลกอย่างรวดเร็วและไร้ร่องรอย นักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มต่างก็ออกมาเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการสูญพันธ์ของได้โนเสาร์มากมาย แต่ปัญหาก็คือ ทฤษฎีแต่ละทฤษฎีต่างก็ยังคงมีจุดอ่อนของตนเอง ทำให้ไม่สามารถชี้ชัดเจนลงไป ได้ว่าไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปได้อย่างไร

    ลองมาดูกันว่า ทฤษฎีเกี่ยวกับการสูญพันธ์ของไดโนเสาร์ทฤษฎีไหนจะมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่ากัน จะขอกล่าวในทฤษฎีที่สำคัญ ๆ ดังนี้

    1. "ทฤษฎีอุกกาบาตพุ่งชนโลก"
    ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่มีการอ้างอิงและพูดถึงกันมากทฤษฎีหนึ่ง เมื่อย้อนกลับไปศึกษาถึงช่วงเวลา ที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่นั้น เราพบว่ามันปรากฎกายอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์จนถึงยุคเครตาเชอุสตอนปลาย หลังจากนั้นก็ไร้ร่องรอยไปเฉย ๆ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้สันนิษฐานข้อมูลเอาไว้ว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่าใน ยุคเครตาเชอุสตอนปลายนั้น อาจมีลูกอุกกาบาต ที่มีความกว้างถึง 3 เมตร จำนวนมากพุ่งเข้ามาชนโลกของเรา ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดหมอกควันหนาทึบบดบัง แสงอาทิตย์ที่ส่องให้ความอบอุ่นแก่โลกเป็นเวลานาน สัตว์เลือดเย็นอย่างไดโนเสาร์ไม่สามารถที่จะปรับอุณหภูมิของตนเอง ให้อบอุ่น ได้เหมือนสัตว์เลือดอุ่น จึงพากันล้มตายและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เมื่อฟังดูข้อสันนิษฐาน แล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะ มีความเป็นไปได้เช่นกัน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ที่ว่าแล้วร่องรอยของ อุกกาบาตที่ชนโลกนั้นหายไปไหน? คำถามดังกล่าวนี้ได้รับการเฉลยในปี 2523 เมื่อ หลุยส์ อัลวาเรซ (Luis Alva rez) และ วอลเตอร์ อัลวาเรซ (Walter Alvarez) นักธรณีวิทยาบุตรชายของ หลุยส์ แฟรงค์ อาซาโร (Frank Asaro) นักเคมีนิวเคลียร์ และเฮเลน ไมเคิล (Helen Michael) นักโบราณชีววิทยาได้ค้นพบ ธาตุอีรีเดียม (Iridium) ปริมาณสูงในชั้นดินเหนียวที่แยกระหว่าง ตะกอน ของดินในยุค เครตาเชอุสและยุคเตร์ฌีอารว์ ข้อมูลใหม่นี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์หลาย คนรู้สึกมั่นใจในทฤษฎีอุกกาบาตชนโลก มากยิ่งขึ้น สาเหตุหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้ธาตุอีรีเดียมเป็นตัวอธิบายในเรื่องนี้ได้นั้นเป็น เพราะการคงสภาพที่ดีของ มันนั่นเอง ทั้งนี้เพราะในระหว่างที่มีการกระทบกันอย่างรุนแรง โลหะหนักส่วนใหญ่ เช่น เหล็ก มักจะจมลงไปในพื้นดิน แม้ว่า เหล็กจะเป็นธาตุหลักที่พบมากใน อุกกาบาต แต่ก็ยังมีธาตุอีกตัวหนึ่งที่พบได้มากเช่นกัน คือ ปลาตีนุม (Platinum : แพลทินัม) และโลหะที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาตีนุม ด้วยเหตุนี้เองปลาตีนุมจึงกลายเป็นแร่ที่มีราคา แพงมาก อีกทั้งยังหายากอีกต่างหาก เพราะเป็นสิ่งที่ได้มาพร้อมกับอุกกาบาตนอกโลกของเรา แต่ถ้าหากเราสามารถเดินทางออกไปในอวกาศนอกโลกกันได้ง่าย ๆ เหมือนเดินทางจาก กรุงเทพฯ ไปอยุธยาแล้วล่ะก็ แร่ในกลุ่มปลาตีนุมจะกลายเป็นแร่ธาตุที่หาได้ง่ายทันที เพราะ มันเป็นฝุ่นผง ที่พบได้ทั่วไปในอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาล สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ เมื่อแร่ปลาตีนุม หรือแร่โลหะทีมีลักษณะใกล้เคียงกับปลาตีนุม ถูกฝังอยู่ในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งแล้ว มันมักจมอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายไปไหน แร่ธาตุ เหล่านี้จึงมีลักษณะค่อนข้างเฉื่อย และไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุชนิดอื่น หนึ่งในกลุ่มของแร่ธาตุ ในกลุ่มปลาตีนุมก็คือ แร่อีรีเดียมนั่นเอง แร่อีรีเดียมสามารถตรวจพบ ได้ง่ายแม้ว่ามักจะมี ปริมาณน้อยมาก จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์นิยมใช้แร่อีรีเดียมเป็นตัวอ้างอิงการชนของลูกอุกกาบาตต่อโลก ของเรา สถานที่ที่คาดว่าน่าจะมีผงฝุ่นผสมอยู่ พื้นมหาสมุทรใดที่เป็นรอยต่อระหว่างยุคเครตาเชอุส และ ยุคเตร์ฌีอารวื ตำแหน่ง ที่พวกเขาสนใจคือ กุบบีโอ (Gubbio), อุมบรีอา (Umbria : อัมเบรีย) ในประเทศอิตาลี เมื่อลงมือขุดตะกอนดินขึ้นมา พวกเขา ก็พบว่า บริเวณรอยต่อทั้งสองยุคจะมีร่องรอยการสูญหายของฟอสซิลสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในยุคเครตาเชอุส อย่างชัดเจน โดย เฉพาะอย่างยิ่ง โฟรามีนีเฟรันส์ (Foraminiferans) บริเวณ รอยต่อของทั้งสองยุคจะเป็นชั้นดินเหนียวบาง ๆ สีน้ำตาลและดำ คั่นดินและซากฟอสซิล ของทั้งสองยุคเอาไว้ ทีมงานของ อัลวาเรซ ได้นำตัวอย่างหินของชั้นนี้มาศึกษาเพื่อตรวจ สอบหาแร่อีรี เดียม ผลการศึกษาสร้างความพิศวงงงงวยขึ้นในใจของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้มาก เพราะปริมาณแร่อีรีเดียมในก้อนหินยังคง มีปริมาณเท่าเดิม และเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อ เทียบกับตะกอนดินเหนียวที่พวกเขาเก็บเอามาทดสอบ สิ่งที่พวกเขาสามารถทด สอบได้นั้น มีเพียงการตรวจวัดอายุของคัลเซียมคาร์บอเนต ที่พบในตัวอย่าง ดังนั้นพวกเขาจึงเสีย เวลาไปกับการวิเคราะห์ดิน เหนียวจากท้องทะเล แม้ว่าจะผิดหวังจากสิ่งที่ค้นพบ ทีมของ อัลวาเรซ ก็ยังไม่ยอมแพ้ พวกเขาจึงมาศึกษากันใหม่ว่าจุดใดน่าจะ เป็นจุดที่มีการเปลี่ยนแปลง พวกเขาจึงได้ทำการสำรวจเพิ่ม 2 จุด จุดหนึ่งเป็นทะเลในนิวซีแลนด์ และอีกจุดเป็นทะเลใน สตีน เคนท์ (Stevens Klint) ในเดนมาร์ก ในระหว่างการศึกษานี้พวกเขาได้พยายามสันนิษฐานกันว่าอะไรที่น่าจะเป็นสาเหตุที่ ทำให้มีปริมาณ ของแร่อีรีเดียมในชั้นรอยต่อระหว่างยุคเครตาเชอุสและเตร์ฌีอารวืบ้าง คำตอบ ของพวกเขาสามารถสรุปได้เป้น 2 ประเด็น ใหญ่ ๆ คือ
    1. อาจมีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้การผสมกันของตะกอนดินเหนียวและฝุ่น หยุดชะงักลง ทำให้ปริมาณของแร่อีรีเดียมจากอวกาศ จึงยังคงมีปริมาณคงที่
    2. อาจจะมีบางอย่างที่มีขนาดใหญ่โตมาก ส่งผลให้เกิดผงฝุ่นของแร่อีรีเดียม ตกค้างในชั้นโลกเป็นจำนวนมาก
    เมื่อศึกษาไปศึกษามาก็ไม่พบข้อมูลที่จะมาสนับสนุนทฤษฎีในข้อแรก พวกเขาจึง หันมาศึกษาข้อสันนิษฐานข้อถัดมา แต่ก็มีคำถามข้อใหม่ เกิดขึ้นมาเช่นกันว่า แล้วผงฝุ่นปริมาณ มหาศาลจากนอกโลก จะเพิ่มปริมาณขึ้นมาเป็นจำนวนมากได้อย่างไร? เมื่อถกเถียงกันไปมา จึงได้ข้อสรุปออกเป็น 2 ประเด็น คือ
    1. อาจจะมีดวงดาวขนาดใหญ่ใกล้ ๆ โลก เปลี่ยนสภาพเป็นซุปเปอร์โนวา ส่งผล ให้เกิดผงฝุ่นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเหล็กหรือแร่ อีรีเดียมตกลงมาบนโลกของเรา
    2. แร่อีรีเดียมอาจจะมาพร้อมกับวัตถุขนาดใหญ่นอกโลกที่เคลื่อนที่หลุดเข้ามาใน โลกของเรา มันอาจจะเป็นดาวหางหรือลูกอุกกาบาตยักษ์ก็ได้


    ทฤษฎีบันได เด็คแคน

    บันได เด็คแคน ( Deccan Traps ) เป็นปรากฏการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาเมื่อ 500.000 ปีก่อน ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ไม่เหมือนกับการระเบิดทั่ว ๆ ไปของภูเขาไฟเพราะการไหลของลาวาที่ เกิดจากหินบะซอลต์ที่ค่อนข้างแผ่งเบานี้ เกิดขึ้นจากการที่ทวีปขนาดเล็กอย่างอินเดียพุ่งเข้าชน กับ
    ทวีปเอเชีย ทั้งนี้เพราะอินเดียจะเคลื่อนที่ผ่านแนวดิ่ง ตากอส อาร์ตี เปลาโก เหตุที่เป็นเช่น นั้นเพราะลาวาของหินบะซอลต์จะจับก๊าซไว้ในตัวมันในปริมาณที่ต่ำมาก ดังนั้นเมื่อภูเขาไฟปลด ปล่อยลาวาจำนวนมหาศาลออกมา มันจึงไม่เกิดความรุนแรงมากเหมือนลาวาของหินชนิดอื่น ๆ ปริมาณลาวาของหินบะซอลต์จะไหลออกมาอย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอ จึงทำให้เกิดบันไดหรือธาร ที่สวยงามตามธรรมชาติขึ้น โดยปกติแล้ว แนวดิ่งจะอยู่ใต้ทวีปต่าง ๆ บนโลกใบนี้ ดังนั้น จึงมีโอกาสที่มันจะส่งผลให้เกิดการระเบิดของลาวาขึ้นได้ แต่ก็ไม่บ่อยนัก ภายหลังจากการ ระเบิดสิ้นสุดลงจะทำให้เกิดปล่องภูเขาไฟขึ้น ซึ่งบริเวณร่องและขอบของปล่องภูเขาไฟจะเต็ม ไปด้วยหินบะซอลต์ ซิ่งทฤษฎีบันไดเด็คแคนนี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สัตว์ขนาดใหญ่อย่างไดโนเสาร์สูญพันธ์ไปได้


    ทฤษฎีเรือนกระจก
    กลไกที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากผลกระทบของภาวะเรือนกระจก บุคคลแรกที่นำทฤษฎีการระเบิดของภูเขาไฟ และผลกระทบจาก กรีนเฮาส์ (Volcano-greenhouse) มาอธิบายถึงการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ คือ นายแม็คลีน (McLean) เขาได้ตีพิมพ์บทความที่อธิบายถึงปรากฎการณ์ดังกล่าวในวารสารทางวิทยา ศาสตร์ในหัวข้อ "ทฤษฎี เรือนกระจกจุดจบของยุคเมโสโศอิค : บทเรียนจากอดีต" (A terminal Mesozoic 'greenhouse' : lessons from the past) บทความดังกล่าว ถูกตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2521 โดย แม็คลีน ได้อธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เกิด ขึ้นด้วยการ อ้างอิงถึงการระเบิดของภูเขาไฟ (Deccan Traps) เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ทำให้ก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ ถูกปลดปล่อยเข้าสู่ขึ้นบรรยากาศของโลกเป็นจำนวนมาก อุณหภูมิของโลกจึง สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและกินเวลายาวนาน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตขึ้น ผลกระทบดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตเพศเมีย เหตุใด แม็คลีน จึงกล่าวเช่นนั้น แม็คลีน อธิบายทฤษฎีของเขาว่า ความร้อนที่ เพิ่มสูงขึ้น ทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายของ สิ่งมีชีวิตเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย วิธีการหนึ่งที่ร่าง กายของสิ่งมีชีวิตใช้ในการลดความร้อนภายในร่างกายของตนเองก็คือ
    การเพิ่มปริมาณของ เลือดให้ไหลไปเลี้ยงบริเวณผิวหนังมากขึ้น เพื่อที่จะได้คายความร้อนออกจากร่างกายมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ก็เป็นเรื่องที่ปกติหากเกิดกับผู้ชายหรือผู้หญิงที่ยังไม่ตั้งครรภ์ ผลกระทบโดยตรงที่เกิด ขึ้นกับสิ่งมีชีวิตของเพศเมียที่เกิดการตั้งครรภ์นั้น จะทำให้จำนวน ของลูกหลานที่จะสืบต่อไปนั้นลดปริมาณลงอย่าง รวดเร็ว เพราะเมื่อเลือดถูกส่งไปที่บริเวณ ผิวหนังมากขึ้น เลือดที่ถูกส่งไปเลี้ยงตัวอ่อนในมดลูกก็มีปริมาณน้อยลง ทำให้ตัวอ่อนได้ รับอาหารและก๊าซออกซิเจนไม่เพียงพอ อีกทั้งความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ คืนสู่มารดาก็ทำได้ลดน้อย ตัวอ่อนที่ฝังอยู่ภายในมดลูกจึงอาจตายได้ หรือหาก ไม่ตายก็อาจจะมีรูปร่างพิกลพิการได้ ฟังดูแล้วก็ค่อนข้างจะเหลือเชื่อ แต่จากการศึกษาทาง วิทยาศาสตร์หากในระหว่างที่ตัวอ่อนมีการพัฒนา เพื่อเจริญเติบโต ขึ้นเป็นทารกของสิ่งมีชีวิต หากเกิดความผิดปกติใด ๆ ขึ้น ลูกก็จะได้รับผลกระทบนั้นโดยตรง หากเรานำทฤษฎีดังกล่าว นี้มาใช้ในการอธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับไดโนเสาร์ ตัวเมียที่ตั้งครรภ์ แน่นอนว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะต้องมากมาย มหาศาลอย่างแน่นอน เพราะ การที่เลือดไปเลี้ยงมดลูกหรือรังไข่ไม่เพียงพอ ไข่ของไดโนเสาร์ก็อาจจะฝ่อหรือเน่าเสียไป ลูกหลานที่จะสืบสายพันธุ์ต่อมาก็ไม่มี จึงทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ขึ้น แม้แต่คนเรา ทุกวันนี้ก็อาจจะได้รับผล กระทบจาการที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเช่นกัน เราจะพบว่าผู้หญิง ในปัจจุบันตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น อีกทั้งยังแท้งลูกได้ค่อน ข้างง่าย ทั้ง ๆ ที่กว่าจะตั้งครรภ์ได้ ก็กินเวลาหลายปี ทำให้เราต้องหันมาพึ่งวิทยาการทางการแพทย์ช่วย เพื่อให้สามารถมี บุตรหลานสืบสกุลต่อไปได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบ อวัยะสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยง ลูกด้วยน้ำนม สัตว์เลื้อยคลานและนก ข้อมูลที่พวกเขาพบนั้นจะ ค่อนข้างสอดคล้องและไปด้วยกัน จึงทำให้ แม็คลีน มั่นใจ ในทฤษฎีของตนมากขึ้น เขาจึง ได้นำความรู้ดังกล่าวมาอ้างอิงถึงการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นกับไดโนเสาร์เมื่อ 56 ล้านปีก่อน การเปลี่ยนแปลงภายในโลก เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าโลกของเรา แม้ว่าจะเป็นดาวเคราะห์ที่มีอุณหภูมิเย็น ลงมาเป็นเวลานานหลายพันล้านปี แต่แท้จริงแล้วภายใต้เปลือกโลกใบนี้ก็ยังคงอัดแน่นไป ด้วยพลังงานความร้อนจำนวน มากมายมหาศาล ทำให้โลกของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงได้แทบ ทุกขณะ เราจะเห็นว่าในประเทศที่มีภูเขาไฟยังระอุอยู่นั้นมี อัตราเสี่ยงต่อการระเบิดของภูเขาไฟ และแผ่นดินไหวมาก แต่ถึงกระนั้นในดินแดนดังกล่าวก็ยังมีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวน มาก เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราสามารถตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นได้ค่อนข้างรวดเร็ว ปัจจุบันเราจะพบว่าการระเบิดของภูเขาไฟหลาย ๆ ลูกลดน้อย ลงกว่าในอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อน ทั้งนี้เพราะเมื่อโลกของเรา ปลดปล่อยพลังงานจำนวนหนึ่ง ออกไปแล้ว จะทำให้มันเข้าสู่สภาพสมดุลมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หากโลกของเรายังไม่เข้าสู่สภาพ สมดุล พลังงานส่วนเกิดบวกกับก๊าซต่าง ๆ ใต้พื้นโลกจะถูกปล่อยออกมาเป็นจำนวนมาก จนกว่าจะเข้าสู่สภาวะสมดุล การพ่น ก๊าซชนิดต่าง ๆ ขึ้นมาสู่บรรยากาศ ทำให้สภาพแวดล้อมบนโลกเกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างมาก อุณหภูมิของโลกจะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ได้รับผล กระทบเป็นอย่างมาก พวกไหนที่ทนไม่ได้ก็จะสูญพันธุ์ไป พวกที่รอดเหลือก็จะสภาพเปลี่ยน
    แปลงไป เพราะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ และในบางครั้งก็ส่งผลกระทบทาง อ้อมต่อวิวัฒนาการ (Bioevolution) ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด เมื่อภูเขาไฟระเบิกก๊าซนานาชนิดเข้าสู่บรรยากาศแล้วนั้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะรวมตัวกับน้ำใน บรรยากาศ ทำให้มันสามารถจับความร้อนที่แสงอาทิตย์สาดส่องมาได้เป็น อย่างดี จึงทำให้อุณหภูมิของเปลือกโลกเพิ่มสูงขึ้นมาก กว่าปกติ แต่จะกล่าวหาว่าผลกระทบ จากเรือนกระจกนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดีอย่างเดียวก็คงไม่ถูกเท่าใดนัก เพราะหากสิ่งมีชีวิตไม่มี ปรากฎการณ์ใด ๆ ที่ผิดปกติมาก ๆ ก็จะไม่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ทำให้ พัฒนาการแต่ละขณะของสิ่งมีชีวิต กินเวลายาวนาน เรียกว่ายิ่งมีเหตุการณ์เลวร้ายมากเท่าใด สัตว์ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมขึ้นมาทันที เพื่อให้ตนเอง สามารถเอาชีวิตริดใน สภาพที่เลวร้ายได้ จึงทำให้เกิดการพัฒนาของสิ่งมีชีวตในระดับที่สูงขึ้น แต่ที่แน่ ๆ ก็คงจะ ไม่มีใครอยาก ที่จะให้เกิดเหตุการณ์เลวร้ายขึ้นกับโลกของเราอย่างแน่นอน เพราะหากเกิดผล กระทบมาก ๆ สิ่งมีชีวิตจำนวนมากจะล้มตายลงไป คงเหลือเฉพาะพวกที่สามารถปรับตัวและ เอาตัวรอดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นับว่าเป็นความโหดร้ายอย่างมากของธรรมชาติเช่นกันที่ คัดเลือกเฉพาะผู้ที่แข็งแรง ใครที่อ่อนแอจะถูกตัดทิ้งไปทันที

    ทฤษฎีการขาดอากาศ
    นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ตั้งข้อเสนอไว้อย่างสนใจว่า ได้โนเสาร์อาจจะสูญพันธุ์ จากโลกนี้ เพราะการที่ปริมาณของออกซิเจนบนโลกใบนี้ ลดน้อยลงไปอย่างรวดเร็ว ศาสตรา จารย์ เคท ริคบี้ (Keith Rigby) ได้นำเสนอทฤษฎีข้อสันนิษฐาน เพเล (Pele hypothesis) ริคบี้ เชื่อว่า การที่ปริมาณออกซิเจนลดลงอย่างรวดเร็วนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกับการ ที่อุณหภูมิของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ไดโนเสาร์ จำนวนมากเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เหตุผลที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้เชื่อว่า ไดโนเสาร์เสียชีวิตจากการขาดอากาศ หายใจนั้นเกิดขึ้นเพราะ พวกเขามองว่า ในช่วงที่เหลือกโลกของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ในระหว่างที่มีการยกตัวของเปลือกโลกบางส่วนขึ้นมาจากพื้นน้ำใต้ท้อง ทะเลกลายมาเป็นทวีป ต่าง ๆ นั้นจะส่งผลให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่ง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เหล่านี้จะถูกพืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์อาหาร และปลดปล่อยก๊าซ ออกซิเจนออกมาเป็นจำนวนมาก บรรยากาศของโลกในยุคนั้นจึงเต็มไป ด้วยอากาศบริสุทธิ์ เหมาะสำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวตเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เมื่อปริมาณออกซิเจนที่เคยมี มากมายมหาศาลเกิดการลด ปริมาณลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ไดโนเสาร์ปรับตัวไม่ทัน จึงค่อนข้าง จะทนต่อสภาพแวดล้อมใหม่ที่เกิดขึ้นไม่ได้ แม้ว่าทฤษฎีนี้จะฟังดูน่าเชื่อถือ เพียงใด ก็ยังคงต้องมีหลักฐานมาอ้างอิงเพื่อให้ มองดูมีน้ำหนักและน่าเชื่อถือมากขึ้นกว่านี้ ซึ่งศาสตราจารย์ ริคบี้ ก็ได้ทำการศึกษาเพื่อค้นหา หลักฐานมาสนับสนุนทฤษฎีนี้เช่นกัน ในการศึกษานั้นเขาได้ค้นพบฟองอากาศในซากอำพัน โบราณ เมื่อนำอากาศในอำพันโบราณดังกล่าวมาตรวจ สอบดูพวกเขาก็พบว่า ฟองอากาศ ดังกล่าวมีอายุประมาณ 75 ล้านปีก่อน หรือก่อนยุครอยต่อระหว่างยุคเครตาเชอุสและยุค เตร์ฌีอารว์ ภายในฟองอากาศมีปริมาณออกซิเจนอยู่ถึง 35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งฟังดูแล้วไม่น่า ที่จะเป็นไปได้เลย เพราะในบรรยากาศของเราในปัจจุบันมี ปริมาณออกซิเจนอยู่เพียง 21 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ดังนั้นหากในยุครอยต่อระหว่างยุคเครตาเชอุสและยุคเตร์ฌีอารวื เกิดลด ระดับลงมา เหลือเพียง 28 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการลดลงอย่างรวดเร็วของปริมาณออกซิเจน ก็อาจจะทำให้ไดโนเสาร์เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เพราะมัน ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับ บรรยากาศแบบใหม่ที่มีออกซิเจนน้อยลง ข้อสังเกตอีกจุดหนึ่งที่ศาสตราจารย์ ริคบี้ ชี้ให้เห็นก็คือ บรรดา แมลงขนาดใหญ่ หลาย ๆ ชนิดที่มีชีวิตอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์นั้น ได้อาศัยการดูดซึมออกซิเจนเข้าทาง เนื้อเยื่อ (Absorb) นั่นก็แสดง ให้เราทราบว่า พวกมันไม่ได้หายใจเอาอากาศเข้าสู่ร่างกายเหมือน กับสัตว์ชนิดอื่น ดังนั้น หากอากาศภายนอกมีปริมาณออกซิเจนลดน้อยลง การดูดซึมเอา ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายก็จะมีปริมาณน้อยลงไปด้วย จึงเป็นสาเหตุให้แมลงเหล่านี้เกิดการ สูญพันธุ์ได้ ข้อดีประการหนึ่งของ ทฤษฎีนี้ก็คือ คำอธิบายปรากฎการณ์บางอย่างที่ทฤษฎีอื่น ๆ ได้อธิบายเอาไว้ เช่น ในทฤษฎีอุกกาบาตพุ่งเข้าชนโลกนั้น ส่งผลให้เกิดหมอก ฝุ่นควันหนาทึบ ปกคลุมโลกของเราเป็นเวลายาวนาน ส่งผลให้อากาศในขณะนั้นค่อนข้างมืดมิดและเต็มไปด้วย ความหนาวเหน็บ สัตว์ที่มี รูปร่างใหญ่โตอย่างไดโนเสาร์จึงไม่สามารถทนทานต่อกาศที่หนาว และสภาพบรรยากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในขณะที่สัตว์ที่มีรูปร่างเล็ก ๆ เช่น จระเข้ เต่า และสัตว์ เลื้อยคลานขนาดเล็กอย่างจิ้งจก ตุ๊กแก กลับไม่ได้รับผลกระทบ ในทางตรงกันข้ามมันกลับ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในยุค ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งมโหฬาร โดยไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มก็ไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แต่นักวิทยาศาสตร์ ที่อธิบายที่อธิบายทฤษฎีการขาดอากาศได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจว่า สัตว์ที่มีขนาดเล็ก ๆ เช่น จระเข้ เต่า และสัตว์เลื้อย คลานนั้นมีอัตราการใช้พลังงานค่อนข้างต่ำ หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า ในช่วงที่บรรยากาศหนาวเหน็บไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต พวกมันก็สามารถ จำศีลเพื่อลด อัตราการใช้พลังงานได้เป็นอย่างดี จึงทำให้มันไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงครั้ง ใหญ่ และสามารถมีชีวิตรอดมาถึง ปัจจุบันนี้ ผิดกับไดโนเสาร์ที่มีรูปร่างใหญ่โต การปรับตัว ก็ค่อนข้างลำบาก และใช้เวลามากกว่าสัตว์ที่มีขนาดเล็ก เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ก็ย่อมได้ รับผลกระทบอย่างหนัก ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของธรรมชาติที่มีการคัดเลือกสิ่งมีชีวตที่จะ อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ สัตว์โลกตัวใดที่ อ่อนแอหรือไม่สามารถปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง ใหม่ ๆ ได้ก็จะล้มตายจากไป จะคงเหลืออยู่ก็เพียงสิ่งมีชีวิตใหม่ ๆ ที่สามารถปรับตัวเข้ากับ สิ่งแวดล้อมใหม่ได้ ไดโนเสาร์ก็อาจจะเป็นสัตว์โลกที่เคราะห์ร้ายกลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถปรับตัว เข้าสู่สิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ มันจึงถูกธรรมชาติกำจัด ไปโดยที่ไม่มีใครสามารถที่จะช่วยเหลือได้

    ทฤษฎีโรคภัยไข้เจ็บ
    โดยปกติแล้วสัตว์แต่ละชนิดก็จะมีเชื้อโรคและพาธิแต่ละชนิดภายในร่างกายของตนเอง ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวของมันเอง เนื่องจากสภาพร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาป้องกันอันตรายต่อจากเชื้อโรคต่าง ๆ เหล่านี้ได้แล้ว แต่เมื่อต้องไปอาศัย รวมกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ เชื้อโรคที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ตัวมันเองก็อาจจะแพร่กระจายไปสู่สัตว์สายพันธุ์อื่น และก่อให้เกิด โรคร้ายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เหมือนเช่นโรคเอดส์ที่ไม่กระจายในกลุ่มลิง แต่เมื่อไวรัสแพร่เข้ามาสู่กลุ่มของมนุษย์ มันกลับมี ผลทำให้มนุษย์จำนวนมากเสียชีวิตไปอย่างรวดเร็ว เชื้อโรคในกลุ่มไดโนเสาร์พันธุ์หนึ่งจึงอาจจะเป็นอันตรายต่อได้โนเสาร์พันธุ์อื่นได้ ส่วนสัตว์ที่มีขนาดเล็กที่ยังคงรอดเหลืออยู่ได้นั้น เป็นเพราะพวกมันไม่สามารถอพยพไปได้ไกลเท่ากับสตัว์ใหญ่หลายจึงไม่ค่อยได้ ผลกระทบเท่าใดนัก ส่วนสัตว์น้ำหลาย ๆ ชนิดที่สูญพันธุ์ไปนั้นเกิดจากการที่แหล่งน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ค่อย ๆ เหือดแห้งหายไป สุดท้ายก็เหลือเพียงพื้นดินที่แห้งผากทำให้พวกมันไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ จึงต้องสูญหายตายจากไป นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้ พยายามอธิบายถึงโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นในช่วงปลายยุค เครตาเซอุส เอาไว้ว่า ในช่วงปลายยุคนั้นอาจจะเกิดโรคระบาดร้ายแรงมากมาย ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของไวรัสบางชนิด ส่งผลให้เกิดเป็นโรคร้ายในกลุ่มของได้โนเสาร์ แม้ว่าไวรัสที่กลายพันธุ์นี้อาจจะ มีฤทธิ์ไม่รุนแรงถึงขั้นที่จะทำให้ไดโนเสาร์เสียชีวิตลงทันที แต่มันก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สารพันธุกรรมภายในตัวของไดโนเสาร์เกิดการ เปลี่ยนแปลง และเกิดความผิดปกติในไดโนเสาร์รุ่นลูกหลานได้ จึงส่งผลให้ไดโนเสาร์รุ่นหลังอ่อนแอและสูญพันธุ์ไปในที่สุด ประเด็นหนึ่ง ที่มีการโต้แย้งกันนั้นเกิดขึ้นจากความขี้สงสัยของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่มองว่า เป็นไปได้ไหมที่โรคร้ายจะเกิดขึ้นภายในไดโนเสาร์ 2 - 3 สายพันธุ์ ไม่ได้เกิดโรคลุกลามภายในกลุ่มไดโนเสาร์ทุกพันธุ์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอทฤษฎีโรคร้ายทำลายไดโนเสาร์ได้ชี้แจงว่า การที่ไดโนเสาร์บางกลุ่มล้มหายตายจากสิ่งแวดล้อมก็สามารถส่งผลกระทบต่อประชากรของไดโนเสาร์ทั้งหมดได้ ทั้งนี้เพราะการดำรงชีวิต ของมันจะอยู่ในลักษณะของห่วงโซ่อาหาร เมื่ออาหารน้อยลงปริมาณของผู้ล่าก็ย่อมน้อยลงตามปริมาณของอาหารเช่นกัน


    ทฤษฎีรังสีคอสมิคจากการระเบิดของซุปเปอร์โนวา
    นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งสมมติฐานนี้ขึ้นมา เชื่อว่า อาจจะเกิดการระเบิดของซุปเปอร์โนวาในตำแหน่งที่ไม่ไกลจากโลกของเราเท่าใดนัก ส่งผลให้เกิดการแผ่รังสีคอสมิคจำนวนมากมายังโลกใบนี้ ส่งผลให้ไดโนเสาร์จำนวนมากเสียชีวิตลง แต่น่าเสียดายที่ทฤษฎีนี้มีจุด อ่อนอยู่มากมาย ประการแรกนั้น นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายได้ว่า เหตุใดจึงมีเพียงแค่ไดโนเสาร์เท่านั้นที่สูญพันธุ์ ในขณะ ที่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ กลับรอดเหลือมาจนถึงปัจจุบันนี้ ? อาจจะเป็นไปได้ว่า จากการที่ร่างกายที่ใหญ่โตของมันทำให้มันรับเอารังสี ในปริมาณสูงมากกว่าสัตว์ที่มีขนาดเล็ก ประกอบกับรูปร่างที่ใหญ่โต ทำให้มะนไม่สามารถเคลื่อนที่เข้าสู่ที่หลบภัยได้เร็วเท่ากับสัตว์ชนิดอื่น จึงสูญพันธุ์และล้มตายมากกว่าเพื่อน ถึงแม้จะอธิบายได้ในลักษณะเช่นนี้ แต่ก็ยังมีน้ำหนักไม่มากพออยู่ดี จุดอ่อนที่สำคัญประการหนึ่งคือ การระเบิดของซุปเปอร์โนวาจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับโลกของเรามาก ๆ แต่เท่าที่มีการศึกษาก็ยังไม่มีหลักฐานใดที่สามารถชี้ชัดหรือ ยืนยันได้ว่า เกิดการระเบิดของซุปเปอร์โนวาในช่วงปลายยุค เครตาเซอุส ซึ่งมันอาจเกิดขึ้นจริงหรือไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้ ก็คงต้องรอผล การศึกษาในอนาคตต่อไปข้อสำคัญหากการระเบิดของซุปเปอร์โนวาอยู่ใกล้โลกของเรามาก ๆ มันก็สามารถทำลายสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้ และหากอยู่ในระดับใกล้มากพอ รังสีของมันก็สามารถแผ่ลึกลงไปใต้ท้องน้ำ ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตใต้น้ำจำนวนมากตายลงไป รังสีที่ถูกแผ่มายัง โลกใบนี้ทำให้โลกของเราสะอาดมากขึ้น เชื้อโรคร้ายนานาชนิดตลอดจนสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะถูกจำกัดไปหมด แต่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ที่ว่า เหตุใดแมลง พืช และสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดจึงสามารถรอดชีวิตจากยุคนั้นมาได้ ข้อขัดแย้งนี้ทำให้สามารถที่จะสรุปได้ว่า ข้อมูลที่แท้จริงควรจะเป็นอย่างไร แต่แน่นอนว่ามันทำให้ความน่าเชื่อถือของทฤษฎีลอน้อยลงไปด้วยเช่นกัน


    ทฤษฎีน้ำล้นออกจากมหาสมุทรอาร์คติก
    ทฤษฎีสุดท้ายนี้ได้รับความนิยมไม่น้อย เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับน้ำในมหาสมุทรอาร์กติก นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อในทฤษฎีนี้ได้รับอธิบายสาเหตุการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์เอาไว้ว่า ภายในช่วงเวลาสั้น ๆ น้ำบริเวณผิวหน้าของมหาสมุทรจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นน้ำที่เย็นเฉียบ ไม่ได้อุ่นเหมือนกับที่เราเคยสัมผัสกันมา ขณะนั้นเองพื้นโลกในยุคเมโสโศอิกจะเกิดการเอียงตัว ส่งผลให้มหาสมุทรอาร์กติกถูกตัดขาดออกจากบริเวณอื่น ๆ ทำให้เกิดน้ำกร่อยและน้ำจืดขึ้น ในบริเวณดังกล่าว ความหนาวเย็นของน้ำในมหาสมุทรอาร์กติกเมื่อไหลเข้ามาผสมน้ำอุ่นจากมหา สมุทรแอตแลนติกทำให้เกิดชั้นน้ำแข็งลอยอยู่บนน้ำทะเลที่มีน้ำหนักมากกว่าเหตุการดังกล่าวทำให้ อุณหภูมิของโลกต่ำลงถึง 10 องศาเซลเซียส หากว่าเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจะส่งผลให้ เกิดความหนาวเหน็บแพร่กระจายไปทั่วทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ ทำให้พืชพรรณธัญญาหารได้ รับความเสียหายอย่างหนัก แต่น่าเสียดายที่นักวิทยาศาสตร์ที่ตั้งทฤษฎีนี้ขึ้นมายังไม่สามารถหา หลักฐานมาสนับสนุนการอธิบายสาเหตุการเกิดน้ำจืดและน้ำกร่อย จึงทำให้เกิดทฤษฎีนี้ขาดน้ำหนักที่น่าเชื่อถือค่อนข้างมาก
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×