ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลไดโนเสาร์

    ลำดับตอนที่ #2 : ไดโนเสาร์ในเมืองไทย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 637
      1
      14 พ.ค. 53

    ไดโนเสาร์ในเมืองไทย
    เนื่องจากไดโนเสาร์เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงยุคเมโสโซอิกหรือประมาณ 225 ล้านปีมาแล้ว และได้สูญพันธุ์ ไปหมด เมื่อสิ้นยุคครีเตเซียส คือเมื่อประมาณ 65 ล้านปี มาแล้วฟอสซิลหรือ ซากดึกดำบรรพ์ของซากไดโนเสาร์จึงอยู่ในชั้นหินตะกอนที่เกิดจากการทับถม ตัวและมี อายุอยู่ในช่วงเวลาเดียวกับที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ ซึ่งในประเทศไทยของ เราก็คือ หินในกลุ่มหินโคราชที่กระจายคลุมพื้นที่กว้างถึง 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศ ไทย โดยกลุ่มหินโคราชนี้จะโผล่ขึ้นมามากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เราจึงพบ ฟอสซิลไดโนเสาร์ในอีสานหลายแห่ง เช่น ภูเวียง ภูพานและภูหลวง เป็นต้น หินใน กลุ่มโคราชยังแบ่งออกเป็นหมวดหินย่อย ๆ 7 หมวดคือ หินน้ำพอง (200 ล้านปี) หินภูกระดึง (190-150 ล้านปี)หินพระวิหาร(140 ล้านปี) หินเสาขัว (130 ล้านปี) หินภูพาน(120 ล้านปี) หินโคกกรวด (100 ล้านปี) ไดโนเสาร์ในเมืองไทยที่ได้ค้นพบนั้น มีอยู่ 3 สายพันธ์ ด้วยกันคือ

    สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis)
    สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ในวงศ์ไทรันโนซอริดี มีความยาวประมาณ 6.5 เมตร หรือมีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของ "ไทรันโนซอรัส เร็กซ์" หรือเจ้า "ที. เร็กซ์" ซึ่งเราพบเห็นบ่อย ๆในภาพยนต์ และ สยามโมไทรันนัสนี้ก็เป็นญาติกับเจ้าทีเร็กซ ์ด้วย แต่จะมีชีวิตอยู่ในคนละช่วงเวลากัน คือสยามโมไทรันนัสจะเก่ากว่า โดยจะมีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเซียสตอนต้น (130 ล้านปีมาแล้ว) ส่วนที เร็กซ์จะมีชีวิตอยู่ในช่วงยุคครีเตเซียสตอนปลาย (65 ล้านปีมาแล้ว) ในประเทศไทยเราพบฟอสซิลของสยามโมไทรันนัสที่บริเวณหินลาดยาว ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 โดยพบกระดูกสันหลังหลายชิ้นโผล่ออกมาจากชั้นดินทรายสีแดงของหินหมวดเสาขัว ต่อมาก็พบกระดูกสะโพกด้านซ้าย และกระดูกส่วนหางอีกหลายชิ้นเรียงรายต่อกัน หลังจากที่คณะสำรวจไทย - ฝรั่งเศษได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดแล้วก็พบว่า เป็นไดโนเสาร์ตระกูลใหม่ของไทย จึงได้ตั้งชื่อว่า "สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส Siamotyrannus isanensis , Buffetaut , Suteethorn and Tong , 1996


    ภูเวียงโกซอรัส สิรนธรเน่ (Phuwiangosauraus sirindhornae)
    ในประเทศไทยเราได้พบกระดูกจำนวนหลายชิ้นที่ห้วยประตูตีหมา ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น กระดูกที่พบเป็นกระดูกชิ้นใหญ่ ทั้งกระดูกขา กระดูกสะโพก กระดูกซี่โครง และกระดูกคอ ลักษณะของกระดูกที่พบบอกได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่ เดิน 4 เท้ามีคอยาว หางยาว กินพืชเป็นอาหาร นอกจากนี้ยังได้พบฟันไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่พวกคาร์โนซอร์ในบริเวณกองกระดูกด้วยจำนวนก่วา 10 ซี่ เป็นหลักฐานบ่งบอกได้ว่าไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่ตัวนี้ได้ถูกไดโนเสาร์กินเนื้อพวกคาร์โนซอร์กินเป็นอาหาร หลังจากที่ถูกกินเนื้อแล้วกระดูกก็กระจัดกระจาย แล้วกระดูกก็ถูกตะกอนทับถมจนกลายเป็นฟอสซิล ไดโนเสาร์ซอโรพอดกินพืชตัวนี้ เมื่อนำกระดูกไปเปรีบยเทียบกับกระดูกซอโรพอดจากอเมริกาเหนือแล้วพบว่ามีขนาดใกล้เคียงกับ "คัมมมาราซอรัส - Camarasaurus" แต่มีหลายอย่างที่แตกต่างกันและพบอีกว่าไปคล้ายเคียงกับซอโรพอดที่พบในประเทสจีนมากกว่า แต่ก็ยังไม่เหมือนกันทีเดียว จึงได้ชื่อใหม่โดยไดกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อขอพระราชทานพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธย เป็นชื่อไดโนเสาร์ ซึ่งพรนะองค์ไม่ทรงขัดข้อง ไดโนเสาร์นี้จึงมีชื่อว่า "ภูเวียงโกซอรัส สิรนธรเน่ - Phuwiangosauraus sirindhornae" โครงกระดูกของไดโนเสาร์ "ภูเวียงโกซอรัส สิรนธรเน่" พบที่ประตูตีหมา อ.ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น พบในหินหมวดเสาขัว กลุ่มหินโคราช ซึ่งเป็นหินในยุคครีเตเซียสตอนต้น ประกอยด้วยกระดูกสันหลังส่วนคอ 3 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนกลางตัว 4 ชิ้น กระดูกซี่โครงหลายชิ้น กระดูกสะบักซ้ายและส่วนปลายสะบักขวา กระดูกต้นขาหน้าซ้าย บางส่วนของกระดูกแขน กระดูกสะโพกทั้งสองข้าง กระดูกต้นขา 2 ข้างและกระดูกหน้าแข้งซ้าย


    ซิดตาโคซอรัส สัตยารักกิ
    ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว พบกรามล่างขวา ฟันและกระโหลกด้านบนซ้าย เนื่องจากมีลักษณะแตกต่างไปจาก ฟอสซิลที่พบในมองโกเลีย จึงให้ชื่อเป็นชนิดใหม่ ตามชื่อของ คุณนเรศ สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบที่ จ.ชัยภูมิ ซิดตาโคซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินพืช ที่มีจะงอยปากเหมือนนกแก้ว มีชีวิตอยู่เมื่อชีวิตอยู่เมื่อ 144-65 ล้านปี ที่ผ่านมา ตัวยาวประมาณ 2 เมตร มีเขาที่บริเวณแก้มไว้ป้องกันตัว เดินด้วย 2 ขา จัดว่าเป็นบรรพบุรุษของ ไดโนเสาร์หุ้มเกราะทั้งหลาย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×