การสูญพันธ์ของไดโนเสาร์ - นิยาย การสูญพันธ์ของไดโนเสาร์ : Dek-D.com - Writer
×

    การสูญพันธ์ของไดโนเสาร์

    โดย namnnam2

    เคยสงสัยไหม? ว่าเหตุผลอะไรไดโนเสาร์จึงสูญพันธ์

    ผู้เข้าชมรวม

    53

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    53

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน : 0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  19 ก.ค. 61 / 18:55 น.

    แท็กนิยาย

    ไดโนเสาร์

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    ชื่อโครงงาน  (ภาษาไทย)การสูญพันธ์ของไดโนเสาร์

    (ภาษาอังกฤษ)Dinosaur extinction

    สาขาของงานวิจัย โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน

    ชื่อผู้ทำโครงงาน  1.เด็กหญิงกานต์นรินทร์ วิเศษกันทรากร                ม.3/9          เลขที่22

                                 2.เด็กชายโชค                  ศรีบุญเป็ง                       ม.3/9          เลขที่47

    ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา นางนิจกาญจน์  พ้องพงษ์ศรี

    ระยะการดำเนินงาน 1 เดือน ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2561

    1.แนวคิด ที่มา และความสำคัญ

              เทคโนโลยีทางการสื่อสาร เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน เริ่มมีบทบาทในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และมีส่วนช่วยสนับสนุนสื่อทางด้านการศึกษาอีกด้วย โดยสื่อสมัยใหม่นิยมเป็น สื่อการเรียนผ่านเครือค่ายอินเตอร์เน็ต เพราะ สะดวกรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย

              มนุษย์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์มาเป็นเวลานับพันปีแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเศษซากเหล่านี้เป็นของสัตว์ชนิดใด และพากันคาดเดาไปต่าง ๆ นานา ชาวจีนมีความคิดว่านี่คือกระดูกของมังกรขณะที่ชาวยุโรปเชื่อว่านี่เป็นสิ่งหลงเหลือของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่จนกระทั่งเมื่อมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปี ค.ศ. 1822 โดย กิเดียน แมนเทล นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ จึงได้ทราบว่าซากดึกดำบรรพ์ นั้น คือไดโนเสาร์ นักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้เสนอข้อเท็จจริงที่สุดว่า ทำไมไดโนเสาร์ถึงได้สูญพันธ์ ซึ้งมีมากกว่า1ทฤษฎี

             ดังนั้นกลุ่มข้าพเจ้าจึงทำโครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อ

    ทางศึกษาเรื่องการสูญพันธ์ของไดโนเสาร์โดยรวบรวมข้อมูล เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการสูญพันธ์ของไดโนเสาร์และจัดทำเว็บบล็อก เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนในเรื่องการสูญพันธ์ของไดโนเสาร์

    2. วัตถุประสงค์

     2.1 เพื่อการศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อกของเรื่องการสูญพันธ์ของไดโนเสาร์

                     2.2 เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือค่ายอินเตอร์เน็ต

                     2.3 เพื่อเป็นประโยชน์ที่สนใจทั่วไป

                     2.4 เพื่อสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล

     

    3.หลักการและทฤษฎี เรื่องการ สูญพันธุ์ของไดโนเสาร์

    หลักการและทฤษฎีแรก.

    การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (อังกฤษmass extinction) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นข้อสันนิษฐานว่า เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตบนโลกหลากชนิดหลายสายพันธุ์ต้องสูญพันธุ์ไปในเวลาพร้อมๆกันหรือไล่เลี่ยกัน

    เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียว ในช่วง ยุคครีเตเชียส (Cretaceous) ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์เป็นสิ่งมีชีวิตอันดับบนสุดของห่วงโซ่อาหารอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ หากแต่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง การประเมินระยะเวลาการเกิดเหตุการณ์ ทำโดยการวินิจฉัยจากซากฟอสซิลจากทะเลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากว่าสามารถ ค้นพบได้ง่ายกว่าฟอสซิลที่อยู่บนบก

    เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เป็นที่สนใจและผู้คนทั่วไปรู้จักกันดีที่สุดคือ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคครีเตเชียส (Cretaceous) เมื่อราว 65 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่สูญพันธุ์ทั้งหมด เมื่อทำการศึกษาพบว่าตั้งแต่ 550 ล้านปีก่อนเป็นต้นมา ได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ขึ้นทั้งหมดประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปราวๆ 50% ของทั้งหมด เนื่องจากระยะเวลาที่เกิดขึ้นนานมาก การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ก่อนหน้ายุคครีเตเชียสมักลำบากในการศึกษารายละเอียด เพราะหลักฐานซากฟอสซิลสำหรับตรวจสอบมีหลงเหลือน้อยมาก

     

    คำอธิบาย: คำอธิบาย: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/05/Planetoid_crashing_into_primordial_Earth.jpg/1024px-Planetoid_crashing_into_primordial_Earth.jpg

     

     

     

     

    เหตุการณ์สูญพันธุ์ยุคออร์โดวิเชียน-ไซลูเรียน
    (Ordovician–Silurian extinction events)
    450–440 ล้านปีก่อน

    ทำให้สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตซึ่งอาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 25% คิดเป็น 60% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด

    น้ำทะเลลดระดับลงจากการก่อตัวเป็นก้อนน้ำแข็งยักษ์ และต่อมาน้ำทะเลจึงเพิ่มระดับขึ้นกะทันหัน จากการละลายของก้อนน้ำแข็งขนาดยักษ์

     

    การสูญพันธุ์ปลายยุคดีโวเนียน
    (Late Devonian extinction)
    375–360 ล้านปีก่อน

    สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 22% คิดเป็น 57% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด

    ยังไม่มีสมมติฐานที่มีน้ำหนักเพียงพอ

    เหตุการณ์สูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก
    (Permian–Triassic extinction event)
    252 ล้านปีก่อน

    ·         สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไป 95% ของจำนวนสายพันธุ์ทั้งหมดบนโลก

    ·         สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 53% คิดเป็น 83% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด

    ·         สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบนพื้นดินทั้งพืชและสัตว์สูญพันธุ์ไป 70% ของจำนวนสายพันธุ์ทั้งหมดที่อาศัยบนบก

    ·         สมมติฐานที่ อุกกาบาตขนาดใหญ่ หรือดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนโลก

    ·         สมมติฐานที่ ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง

    ·         สมมติฐานที่ 3 อุกกาบาตพุ่งเข้าชนโลก และไปกระตุ้นให้เกิดภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่

     

     

     

     

     

    เหตุการณ์สูญพันธุ์ยุคไทรแอสซิก-จูแรสซิก
    (Triassic–Jurassic extinction event)
    201.3 ล้านปีก่อน

    ·         สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 22% คิดเป็น 52% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด

    ·         สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบนบกไม่ทราบจำนวนที่สูญพันธุ์ที่แน่ชัด

    ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิดครั้งใหญ่ที่บริเวณตอนกลางของมหาสมุทรแอตแลนติก ปลดปล่อยลาวาจำนวนมหาศาลออกมา และอาจทำให้เกิด ภาวะโลกร้อนขั้นวิกฤต โดยพบหลักฐานการระเบิดจากหินภูเขาไฟที่ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ทางตะวันออกของบราซิล และทางเหนือของแอฟริกาและสเปน

     

    เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียสพาลิโอจีน
    (Cretaceous–Paleogene extinction event)
    66 ล้านปีก่อน

    ·         สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 16% คิดเป็น 47% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด

    ·         สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบนบกสูญพันธุ์ไป 18% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยบนบก รวมไปถึงไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ทั้งหมด

    ดาวเคราะห์น้อยขนาดความกว้างหลายไมล์พุ่งเข้าชนโลก ทำให้เกิดหุบอุกกาบาตชิกซูลูบ (Chicxulub Crater) ที่บริเวณคาบสมุทรยูคาทัน (Yucatan Peninsula) และใต้อ่าวเม็กซิโก

     

    หลักการและทฤษฎีที่2.

    ของจักรวาลซึ่งให้ความเห็นว่ามีบางอย่างจากนอกโลกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชีวิตบนโลก เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว สิ่งที่กล่าวขวัญกันถึงมากเป็นพิเศษ คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยอุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงมาในโลก ซึ่งผลของการตกทำให้โลกเกิดความเสียหาย ส่งผลให้เกิดฝุ่นและไอน้ำจำนวนมาก กระจายขึ้นสู่บรรยากาศบดบังแสงอาทิตย์ เป็นเวลาแรมเดือน หรือแรมปี ยังผลให้โลกเกิดเย็นลงและมืด เป็นสาเหตุที่ฆ่าสัตว์และพืชรวมทั้งไดโนเสาร์

     

    หลักการและทฤษฎีที่3.

     มาจากความรู้ที่ว่า ทวีปต่าง ๆ บนโลกมีการเคลื่อนไหวจากกระบวนการที่รู้จักกันในนาม ทวีปจร (Continental Drift) และเกิดเนื่องจากทวีปต่างๆ อยู่บนผิวเปลือกโลกบาง ซึ่งหุ้มห่อภายในโลกที่เป็นของเหลวร้อนเหมือนลาวาที่ไหลออกมาจากภูเขาไฟ ในขณะที่หินเหลวร้อนภายในโลกเคลื่อนไหวนั้น ก็จะดึงเอาเปลือกโลกเคลื่อนตัว ซึ่งจะทำให้ทวีปเคลื่อนที่ไปเหมือนกับมันอยู่บนสายพานขนาดยักษ์นั่นเอง

    ในช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ โลกค่อนข้างอบอุ่น เหมาะกับสัตว์เลี้อยคลานขนาดยักษ์ จนกระทั่งปลายสมัยของยุคไดโนเสาร์ เราจะพบว่าพืชค่อยๆ เปลี่ยนเป็นพวกที่ชอบอากาศเย็นขึ้น ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า สภาพอากาศของโลกได้เปลี่ยนไปอย่างช้า ๆ และเป็นสิ่งที่ไดโนเสาร์ไม่ชอบ เราจะเริ่มพบสัตว์ที่ชอบอากาศเย็นกว่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนหนา เริ่มมีมากกว่าพวกไม่มีขน คำอธิบายนี้ก็คือ ทวีปได้เคลื่อนไปมากในช่วงเวลา 140 ล้านปี ที่ซึ่งไดโนเสาร์อยู่อาศัย และอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปจากทฤษฏีแรกที่บอกว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยการพุ่งชนของอุกกาบาต ในขณะที่อีกทฤษฏีหนึ่งกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อยของอากาศ ซึ่งอาจจะเป็นพันหรือเป็นล้านปีก็ได้ ในขณะนี้ความรู้ที่เราได้ไม่สามารถจะบอกได้ว่าทฤษฏีไหนจะถูกกว่ากัน ในขณะที่กลุ่มที่เชื่อทฤษฏีดาวตก มีเหตุผลว่า เขาสามารถพิสูจน์ได้ว่าไดโนเสาร์ตายไปทั้งหมดอย่างทันทีทันใด ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีการพบไดโนเสาร์อีกเลย หลังจากยุคครีเทเชียสแล้ว และยังเชื่อว่าสามารถพิสูจน์ได้ว่าดาวตกเป็นเหตุให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ เพราะว่าเขาพบชั้นดินที่สะสมตัวในช่วงปลายยุคครีเทเชียส มีส่วนประกอบของแร่ตัวหนึ่ง ซึ่งมีธาตุอิริเดียมอยู่มากเป็นพิเศษ นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้กล่าวว่าอิริเดียมที่มีปริมาณสูงเช่นนี้เกิดได้โดยทางเดียวเท่านั้น คือ จากอุกกาบาตที่มาจากนอกโลก ธาตุอิริเดียมน่าจะมาจากฝุ่นซึ่งเกิดจากการระเบิดของอุกกาบาตขณะที่ชนโลกเหมือนกับระเบิดขนาดมหึมาทีเดียวแต่เหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ชอบทฤษฏีที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ต่างก็
    มีความเห็นว่า ไดโนเสาร์นั้นไม่ได้สูญพันธ์ไปอย่างทันทีทันใด เช่นเดียวกับข้ออ้าง แต่ดูเหมือนว่ามันจะค่อย ๆ ลดน้อยลงในช่วงเวลาหลายล้านปี และยังแสดงลักษณะของพืชหลาย ๆ ชนิดที่ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นพืชที่ชอบอากาศเย็น นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ยังอ้างถึงธาตุอิริเดียมที่มีค่าผิดปกตินั้นว่า ไม่ได้มาจากการระเบิดของอุกกาบาตที่พุ่งเข้าชนโลก

     

     

     

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    1.ได้รู้เรื่องเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีการ สูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ มากขึ้น

    2.ได้รู้จักสายพันธ์ของไดโนเสาร์ได้มากยิ่งขึ้น

    3.ได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม

    4.ได้สื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์

    ชื่อโปรแกรมที่ใช้พัฒนา

    1.             โปรแกรม Microsoft Office

    2.             โปรแกรม Microsoft Excel

    3.             เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ https://www.facebook.com/

    4.             เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ https://www.facebook.com/ https://www.google.co.th/

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น