ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ...คำแนะนำในการเขียนนิยาย...

    ลำดับตอนที่ #2 : เรื่องของ conflicts จ้า

    • อัปเดตล่าสุด 18 เม.ย. 49


    มารู้จัก conflict กันก่อนดีกว่า

    conflict ภาษาไทยเรียกว่าอะไรก็ไม่รู้ แต่หมายความประมาณว่า "ปมขัดแย้ง" ของตัวละคร

    "ปมขัดแย้ง" ที่ว่าแบ่งออกเป็น 3 อย่าง

    1. Person against person พูดง่ายๆก็คือ ขัดแย้งระหว่างตัวละครกับตัวละคร เช่น พจมานกับหญิงเล็กใน "บ้านทรายทอง" (ที่จริงหญิงเล็กเธอก็ขัดแย้งกับตัวละครเกือบทุกตัวนั่นแหละ) หรืออย่างเขตต์ตวันกะเชษฐ์ใน "มายาตะวัน"

    2. Person against environment or society ก็คือ คนขัดแย้งกับสภาพแวดล้อม หรือสังคม คำว่า "สภาพแวดล้อม" กับ "สังคม" หมายความได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น จารีตหรือ กฎบางอย่างของสังคม ของหมู่บ้าน หรือแม้แต่ของครอบครัวก็ได้ อย่างเช่น ดุจจันทร์ในเรื่อง "ลำนำจันทร์" เป็นลักษณะ alienation คือความรู้สึกที่ว่าตัวเองไม่ใช่เป็นคนของสังคมนั้น นางเอกเป็นคนไทยที่ไปทำงานอยู่ในบ่อนคาสิโนในลาสเวกัส ถูกมองว่าเป็นพลเมืองชั้นสอง ประมาณนี้

    3. Person against himself or herself ก็คือตัวละครตัวนั้นมีความขัดแย้งภายในใจของตัวเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ตัวละครตีอกชกหัว เบิ๊ดกะโหลกตัวเองแบบนั้นนะ ขัดแย้งในใจบางครั้งก็เกี่ยวข้องกับศีลธรรมในใจ เช่น สาวนางหนึ่งมีแฟนอยู่แล้ว เธออยากจะกิ๊กกะชายหนุ่มอีกคนหนึ่ง ใจหนึ่งเธอรู้ว่าไม่ควรทำเพราะเธอมีแฟนแล้ว แต่อีกใจหนึ่งก็แย้งว่าเธอเหงาเพราะไม่ค่อยได้เจอแฟน อยู่กับกิ๊กก็หายเหงาบ้าง

    หรือบางเรื่องก็ไม่เกี่ยวกับศีลธรรมในใจของตัวละคร เช่น กระทาชายนายหนึ่งตั้งใจจะไปบอกรักสาวน้อยหน้ามน อุตส่าห์เดินเฉียดเข้าไปใกล้ แต่ก็ยังยึกยักเพราะใจหนึ่งก็อยากบอกไปไม่งั้นอกอีแป้นจะแตกได้ (รู้สึกเหมือนใช้สำนวนผิดแฮะ  ) แต่อีกใจหนึ่งก็กลัวว่าพอบอกไปแล้วแค่เพื่อนอาจจะเป็นไม่ได้ด้วยซ้ำ หรือเธอจะหัวเราะเยาะเขาหรือเปล่า อย่างนี้เป็นต้น

    conflict สามอย่างนี้ไม่จำเป็นว่าตัวละครจะต้องเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ตัวละครบางตัวอาจจะเกิดหมดทั้งสามอย่างเลยก็เป็นได้ หรืออาจจะสองอย่างแล้วแต่ศรัทธาของคนเขียน

    ตัวละครหลักควรจะมี conflict เพื่อที่ว่าจะได้ทำให้ตัวละครสามารถพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองต่อไปได้ นิยายที่ดีปมต้องมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ให้ตัวละครเผชิญหน้ากับปมนั้น แล้วปมที่ว่าก็จะเครียดเขม็งขึ้นจนกระทั่งถึงขีดสุด (climax) แล้วก็ค่อยคลายปมออก (resolution) ซึ่งอันหลังนี่มีก็ได้ไม่มีก็ได้ แต่ climax ต้องมี

    มีหลายเรื่องที่ไม่มี conflict อยู่ในนั้น มันก็เลยเหมือนบันทึก หรือเรียงความมากกว่าที่จะเป็นนวนิยายหรือเรื่องสั้น คือลอยไปตามกระแสของน้ำเรื่อยๆแล้วแต่ลมจะพาไป แต่ถ้ามองกันตามความเป็นจริงแล้ว ธารน้ำส่วนมากมักก็มีเกาะแก่งอยู่เสมอ

    อย่างเรื่องซินเดอเรลล่า ถ้าเธอไม่ขัดแย้งกับแม่เลี้ยง แล้วใครจะเป็นคนห้ามไม่ให้ซินเดอเรลล่าไปงาน แล้วซินเดอเรลล่าจะได้ร้องไห้คร่ำครวญจนนางฟ้าต้องออกมาช่วยหรือเปล่า แล้วซินเดอเรลล่าจะได้เจอเจ้าชายไหม จะมีรองเท้าแก้วที่ไหนทิ้งไว้ให้เจ้าชายดูต่างหน้า แล้วจะได้แต่งงานกับเจ้าชายหรือเปล่า ชีวิตของเธอก็จะเรื่อยๆ ตื่น กิน แต่งตัว นั่งเม้าท์

    อะ! หรือบางคนอาจจะเถียงว่า ซินเดอเรลล่าคงได้ไปงานเต้นรำแน่ๆ และคงได้เจอเจ้าชายในตอนนั้น ก็คงจะได้แต่งงานกัน แต่ลองคิดดูจิ ชุดของซินเดอเรลล่ากับชุดของนางฟ้าใครจะสวยกว่ากัน ความเป็นหญิงนิรนามไร้ที่มาทำให้ซินเดอเรลล่าน่าสนใจกว่าซินเดอเรลล่าที่ได้รับการยอมรับครบถ้วนกระบวนความ หรือถ้าเจ้าชายยอมเต้นรำด้วย แต่เพียงชั่วไม่กี่ชั่วโมงทำให้เจ้าชายหลงรักไม่ง่ายหรอก แต่ทีนี้เป็นเพราะซินเดอเรลล่าต้องหนีแถมฝากรองเท้าแก้วเอาไว้อีก มันเป็น temptation อย่างหนึ่งให้เจ้าชายอยากเอาชนะโดยการควานหาตัวเธอ

    พล่ามมาก็ยาว ก็คือตั้งใจจะบอกว่าซินเดอเรลล่าทีมีชีวิตไร้ conflict ก็คงจะตายไปแบบเนิบๆ แต่พอมี conflict ให้กับตัวละครแล้ว ความสนุกสนานมันต่างกันเลยใช่ป่ะ

    และแล้วเรื่องของ conflict ก็ขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้จ้า


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×