ออกซิเจนในน้ำ - ออกซิเจนในน้ำ นิยาย ออกซิเจนในน้ำ : Dek-D.com - Writer

    ออกซิเจนในน้ำ

    ออกซิเจนในน้ำจืดและน้ำเค็มที่ไหนมีมากกว่ากันน้า.......

    ผู้เข้าชมรวม

    1,190

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    1.19K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  7 เม.ย. 50 / 20:09 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ออกซิเจนในน้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต

      ของสัตว์ และพืชในน้ำ ปริมาณการละลายของออกซิเจนในน้ำเป็นเครื่องบ่งบอกการชี้บอกคุณภาพของน้ำในแหล่งนั้น ถ้าหากปริมาณออกซิเจนน้อยผิดปกติ แสดงว่าน้ำเสีย ทำให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อยู่ไม่ได้ ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ มาจากอากาศเป็นแหล่งสำคัญ
      อากาศที่ละลายในน้ำให้ออกซิเจนราว 1 ลิตร

      ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส และความดันอากาศ เท่ากับ 760 มิลลิเมตรปรอท หรือ101,300 พาสคัล ปริมาณการละลายของออกซิเจนในน้ำขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความดันอากาศ อุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ออกซิเจนละลายได้น้อยลงแต่ถ้าความดันอากาศสูงขึ้นจะละลายได้มากขึ้น น้ำทะเลมีออกซิเจนละลายอยู่น้อยกว่าน้ำจืด
      เนื่องจากความเค็มของน้ำทะเล

      ออกซิเจนในน้ำส่วนหนึ่งได้มาจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชในน้ำ และในทางกลับกัน การหายใจของพืชก็จะทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง การกระจายของปริมาณออกซิเจนในระดับความลึกต่าง ๆ ของแหล่งน้ำย่อมแตกต่างกัน นอกจากนั้น ยังอยู่ที่ปริมาณธาตุอาหารมากน้อยในแหล่งน้ำนั้นด้วย น้ำโสโครกจากชุมชนทำให้น้ำในแหล่งน้ำเน่าเสีย

      เพราะสิ่งโสโครกมักมีสารอินทรีย์

      ซึ่งจะมีการย่อยสลายโดยแบคทีเรีย จุลชีพเหล่านั้นต้องการออกซิเจนในการย่อยสลาย สารอินทรีย์ที่ปะปนอยู่ในน้ำ ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง มลพิษทางน้ำอาจเกิดจากน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม และน้ำจากเกษตรกรรมด้วย
      ปลาหายใจในน้ำ มันรับออกซิเจนจากน้ำ ไม่ใช่จากอากาศ

      น้ำผ่านช่องปาก แล้วผ่านต่อไปเข้าช่องเหงือกเหงือกจะรับเอาออกซิเจนไว้ แล้วถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับน้ำที่ผ่านเข้าไป ปลาจึงมีน้ำผ่านเข้าไปในช่องเหงือกตลอดชีวิต ปลาบางชนิดมีวิวัฒนาการสูงขึ้นโดยมากมักเป็นปลาในเขตร้อน ซึ่งน้ำมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่น้อย ปลาเมืองร้อนบางชนิดพัฒนาอวัยวะบางอย่างขึ้นมา เอาไว้เก็บอากาศบนบกเพื่อใช้หายใจในน้ำได้ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×