ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมมิตรญี่ปุ่น

    ลำดับตอนที่ #61 : กว่าจะมาเป็นญี่ปุ่นจนถึงทุกวันนี้

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 809
      0
      20 พ.ย. 49


          

          เป็นที่ทราบดีว่าหมู่เกาะซึ่งเป็นประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันนั้นมีมนุษย์อาศัยอยู่อย่างน้อยกว่าสามหมื่นปีและอาจยาวนานถึง 1-2 แสนปีแต่ทะเลซึ่งแยกญี่ปุ่นออกจากทวีปเอเชียยังมีลักษณะตื้นเขินและขนาดไม่ใหญ่พอในช่วง ที่มีคนมาตั้งรกรากอยู่ในยุคแรกๆ อย่างไรก็ดี เป็นที่แน่ชัดว่ามีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นในเชิงภูมิศาสตร์เช่นการเพิ่มระดับน้ำทะเลหลังจากที่มีการตั้งถิ่นฐานได้ไม่นานนัก กระนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าผู้ที่มาตั้งรกรากในช่วงแรกนั้นเป็นพรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นใน ปัจจุบันหรือไม่ (การขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณที่ตั้งก่อนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นเพิ่งจะเริ่มขึ้นช่วงทศวรรษ 1960

       ดังนั้นหลักฐานชัดเจนที่เกี่ยวกับชาวญี่ปุ่นยุคแรกจึงยังมีไม่มากนัก) แต่อาจกล่าวได้ว่าคนที่ทยอย อพยพ มาลงหลักปักฐาน
    ในญี่ปุ่นช่วงแรกๆ นั้นมาจากเอเชีย ซึ่งคาดว่าการอพยพดังกล่าวเกิดขึ้นมานานแล้ว


         สมัยโจมง (Jomon Period : ราว 10,000-300 ปีก่อนคริสตกาล) :
     ช่วงหนึ่งพันปีแรกของยุคหินใหม่ (Neolithic)
      เป็นระยะเวลาที่โลกมีอุณหภูมิค่อนข้างอบอุ่น ก่อนที่จะร้อนถึงขีดสุดในราวช่วง 8,000-4,000 ปีก่อนคริสตกาล
         จนทำให้ระดับน้ำทะเลในญี่ปุ่นขยับตัวสูงขึ้น และทำให้แผ่นดินที่เป็นสะพานเชื่อมญี่ปุ่นกับทวีปเอเชียถูกตัดขาดออกจากกัน

        การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้แหล่งน้ำในญี่ปุ่นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาและสัตว์น้ำนานาพันธุ์ ขณะที่พันธุ์ไม่ใหม่ๆ หยั่งรากเติบกล้าและแตกหน่อเจริญงอกงามขึ้น การพัฒนาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเหล่านี้ได้ตระเตรียมพื้นที่สำหรับสมัยโจมง ตอนต้น

         การทำเครื่องปั้นดินเผาในช่วงแรกของญี่ปุ่นก็เกิดขึ้นในสมัยโจมง ราวช่วง 10,000 ปีก่อนคริสตกาล
          คนส่วนใหญ่ในสมัยโจมง ตอนต้นจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล เป็นพวกพเนจรเก็บของป่าและล่าสัตว์ การอาศัยปลา สัตว์ทะเลที่มีเปลือก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลเป็นอาหารทำให้เกิดกองขยะของชุมชนที่เรียกว่าสุสานหอย อันเป็นหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นแรกๆ ที่เกี่ยวกับคนยุคนนี้ โบราณวัตถุที่ค้นพบในสมัยนี้ครอบคลุมถึงใบมีดหินและเครื่องปั้นดินเผาลายเชือก

            สมัยโจมง ตอนกลาง (จากช่วง 3,500-2,000 ปีก่อนคริสตกาล) :
         ผู้คนในสมัยโจมง อพยพจากแถบชายฝั่งเข้าไปทำมาหากิน
    บริเวณตอนใน เนื่องจากปลาและสัตว์ทะเลที่มีเปลือกมีจำนวนน้อยลงตามระดับน้ำทะเลที่ลดลง หรืออาจเป็นเพราะพวกเขาหันไปพึ่งพาแหล่งอาหารจากพืชแทน หินลับมีด ไหที่มีฝาปิด และโบราณวัตถุอื่นๆ

         ในสมัยโจมง ตอนกลาง ล้วนเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปสู่การเพาะปลูกมากขึ้น
         สมัยโจมง ตอนกลางมาถึงกาลอวสาน เมื่อพืชผลป่าไม้ในบริเวณเชิงเขาของดินแดนตอนในไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการบริโภคได้ จุดเด่นของสมัยโจมง ตอนปลายตั้งแต่ช่วง 2,000 ปีก่อน คริสตกาล คือการฟื้นฟูกิจกรรมการประมงบริเวณชายฝั่งทะเลแปซิฟิก

          สมัยยาโยอิ (Yayoi Period : 300 ปีก่อนคริสตกาล ปี ค.ศ. 300) :
        ยาโยอิเป็นชื่อที่ได้มาจากโบราณสถานใกล้ๆ กับมหาวิทยาลัยโตเกียวในเขตฮองโงะ (Hongo) สมัยยาโยอิเป็นช่วงเปลี่ยน ผ่านทางวัฒนธรรมที่สำคัญของญี่ปุ่นซึ่งกำเนินโดยผู้คนที่อพยพจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในผืนแผ่นดินใหญ่ของเอเชีย
         ตั้งแต่ช่วง 300 ปีก่อนคริสตกาลคนเหล่านี้อพยพเข้ามายังคิวชูตอนเหนือโดยผ่านทางเกาหลีและเป็นไปได้ว่าจะเข้ามายังโอกินาวา (Okinawa) ด้วย

          ด้วยระยะเวลาเพียงแค่หกร้อยปี ญี่ปุ่นก็เปลี่ยนแปลงจากชุมชนหาของป่าและล่าสัตว์มาเป็นชุมชุนเกษตรกรรมซึ่งอยู่คงที
    ่     การขยายตัวของชุมชนเพาะปลูกข้าวที่มีเครือข่ายแน่นแฟ้นและมีอิสระเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในคิวชูและฮอนชูฝั่งตะวันตก
        ภายในปี ค.ศ. 100 ชุมชนลักษณะนี้มีให้เห็นเกือบทั่วทุกแห่งในประเทศ ยกเว้นเขตภาคเหนือของฮอนชูและฮ็อกไกโด (Hokkaido)

         สมัยโคฟุง (Kofun Period : ปี ค.ศ. 300-710) :
         ยุคแห่งการสิ้นสุดวัฒนธรรมโยอิปรากฎให้เห็นจากหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่ทำจากหินและดินในบริเวณชายฝั่งคิวชู และตามชายฝั่งของทะเลภายใน รอบๆ หลุมศพดังกล่าวประดับประดาด้วยเครื่องปั้นดินเผารูปคนและสัตว์ ซึ่งข้างในกลวง รวมถึงบ้านจำลองที่เรียกว่า “ฮานิวะ” (haniwa)
         หลักฐานเหล่านี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางรายลงความเห็นว่าเครื่องปั้นดินเผ่าเหล่านี้
    เป็นสัญลักษณ์แทนข้ารับใช้และสมบัติของตระกูลขุนนางผู้สูงศักดิ์และผู้นำที่ลาลับไปจากโลกนี้แล้ว

          ในยุคนี้สถาบันทางสังคมและการเมืองพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ชุมชนแต่ละกลุ่มซึ่งให้คำจำกัดความตนเองว่าเป็น“ประเทศ” หรือ “อาณาจักร” มีโครงสร้างทางสังคมที่แบ่งตามลำดับชั้น โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นของศูนย์กลางอำนาจ
         มีฐานอยู่ในที่ราบยามาโตะ (Yamato Plain) ซึ่งก็คือโอซาก้า (Osaka) และนาระ (Nara)
         ในปัจจุบัน เป็นไปได้ว่าเชื้อสายของจักรพรรดิญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า ยามาโตะ ซันไลน์ (Yamato SunLine–ราชวงศ์พระอาทิตย์แห่งยามาโตะ) ถือกำเนิดขึ้นจากอุจิ
    (uji-ชุมชน) ตระกูลต่างๆ อันทรงอิทธิพลซึ่งพัฒนาขึ้นในสมัยยาโยอิตอนปลาย

            ตระกูลในแถบที่ราบยามาโตะซึ่งในที่สุดสามารถสถาปนาตนเองขึ้นเป็นราชวงศ์ได้นั้นถือว่าตนสืบเชื้อสายโดยตรงมาจากสุริยเทวี(Amaterasu Omikami / อามะเตราสุ โอมิกามิ) (ปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นน้อยราย โดยเฉพาะพวกชาตินิยมฝ่ายขวายังคงยืนยันเช่นนี้)

            ศาสนาพุทธเข้ามายังญี่ปุ่นโดยผ่านทางเกาหลีในศตวรรษที่ 16 แม้หลายคนจะเชื่อว่าเทคนิคการเขียนของจีนนั้นมาพร้อมกับศาสนาแต่ก็เป็นไปได้ว่าเทคนิคนี้จะเข้ามาก่อนศาสนาราว 100-150 ปี การอ่านออกเขียนได้ทำให้พวก ขุนนางชั้นสูงสามารถเข้าถึงศาสนา ต่างชาติได้มากขึ้น และทำให้มีโอกาสเรียนรู้ผลงานชิ้นสำคัญๆ ของจีน อาทิ งานของขงจื๊อ

          ตระกูลโซงะ (Soga) ซึ่งค่อนข้างแข็งกร้าวประสบความสำเร็จในการสถาปนาศาสนาพุทธให้กลายเป็นศาสนาประจำชาติโดยจักรพรรดิทุกองค์จะต้องปวารณาตัวเป็นองค์ศาสนูปถัมภกแห่งพุทธศาสนา
           นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการศึกษาและความรู้วิทยาการใหม่ๆ ที่มาจากผืนแผ่นดินใหญ่ของเอเชีย
             อำนาจทางการเมืองของตระกูลโซงะมาถึงจุดสูงสุดเมื่อองค์จักรพรรดิทรงคัดเลือกองค์จักรพรรดินีจากบุตรสาวของตระกูลโซงะเพียงตระกูลเดียว ในขณะที่ลูกหลานของตระกูลก็ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในราชสำนัก

          ในเวลาไม่นานก็มีการปฏิรูปเกิดขึ้น เป้าหมายสำคัญคือเพิ่มอำนาจให้กับรัฐบาลกลางและลดทอนอำนาจของตระกูลอื่นๆ ในราชสำนักการปฏิรูปครั้งนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและกว้างไกลอันรวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ
    ระบบกฎหมาย เขตแดน ระบบราชการและการจัดเก็บภาษี

            เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นหลายครั้งในอดีต ที่ตั้งของเมืองหลวงในยุคดังกล่าวได้ถูกย้ายถึงสองครั้งในช่วงก่อนสิ้นศตวรรษที่ 17

          สมัยนาระ (Nara Period : ปี ค.ศ. 710-794) :
       ในช่วงต้นศตวรรษที่ 8 องค์จักรพรรดินีได้โปรดให้สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ขึ้นอีกครั้งทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบยามาโตะ ซึ่งก็คือที่ตั้งของเมืองนาระในปัจจุบัน โดยตั้งชื่อว่า เฮโจเกียว (Heijokyo)

            สมัยนาระเกิดขึ้นหลังจากการสร้างเมืองหลวงใหม่ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการสร้างระบบรวมศูนย์อำนาจการปกครองของจักรพรรดิ

           ตามแนวคิดของจีน (ritsuryo / ริตสึเรียว) ในขณะที่ศิลปวิทยาการและวัฒนธรรมต่างๆ ก็เจริญขึ้นอย่างมาก

          ผลจากการสร้างระบบริตสึเรียวทางการได้บรรลุความสำเร็จในการนำมาตรการเข้มงวดมาใช้ควบคุมและจัดวางอำนาจในการบริหารประเทศให้อยู่ในมือของสภาอันทรงอิทธิพล
    ที่ดินเพาะปลูกข้าวทั้งหมดถูกโอนเป็นของหลวงซึ่งทำให้มีการจัดเก็บภาษีชาวนาอย่างหนักในเวลาต่อมา

            สมัยเฮอัน (Heian Period : ปี ค.ศ. 794-1185) : ในช่วงสิบปีหลังของศตวรรษที่ 8 มีการย้ายที่ตั้งเมืองหลวงอีกครั้งเมืองหลวงใหม่แห่งนี้สร้างตามรูปแบบเมืองหลวงของจีนเช่นเคย โดยตั้งชื่อว่า เฮอันเกียว (Heiankyo) และถือเป็นแกนกลางสำคัญในการอุบัติขึ้นของเกียวโต (Kyoto)

             เมืองหลวงใหม่สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 795 และถือเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยเฮอัน ซึ่งรุ่งเรืองเป็นเวลาสี่ร้อยปี

            เฮอันเกียวเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นจนถึงปี 1868 จนกระทั้งองค์จักรพรรดิได้ย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่เอโดะ (Edo)โดยต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว (Tokyo)

             รัฐบาลกลางยังสามารถรักษาอำนาจมาอย่างต่อเนื่องอีกหลายทศวรรษ จนถึงศตวรรษที่ 9 ระบบริตสึเรียวจึงค่อยๆ เริ่มอ่อนแอลง เนื่องจากแม้รัฐบาลกลางต้องการขยายเขตอิทธิพลของตนออกไป แต่รัฐบาลท้องถิ่นกลับประสบความยุ่งยากขึ้นในการบริหารงานภายใต้ระบบราชการที่มีสภาพการณ์ดังกล่าว
           ทำให้ขุนนางระดับสูงและผู้ควบคุมดูแลวัดอันทรงอิทธิพลฉกฉวยโอกาสในการครอบครองที่ดินขนาดใหญ่
          ในที่สุดผู้ครอบครองที่ดินเหล่านี้ก็เริ่มมีอำนาจทางการเมืองและการทหารในเมืองต่างๆ

            ขณะที่ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นสนใจแต่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบ
             ผู้ครอบครองที่ดินขนาดใหญ่ได้ใช้โอกาสนี้สั่งสมอำนาจทางทหารของตนอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี
        การสู้รบระหว่างผู้ครอบครองที่ดินได้กลายเป็นฉากสุดท้ายอันน่าจดจำของสมัยเฮอันที่เคยรุ่งเรือง


           สมัยคามากูระ (Kamakura Period : ปี ค.ศ. 1185-1333) :
        มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ (Minamoto no Yoritomo)
            คือผู้มีชัยชนะเหนือผู้ครอบครองที่ดินรายอื่นจนได้รับพระราชทานยศโชกุนในที่สุด เขาสร้างฐานกำลังขึ้นที่คามากูระ
        (Kamakura) ซึ่งห่างไกลจากเกียวโต และอยู่ทางใต้ของบริเวณที่ต่อมาคือเมืองเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน)
          เขาได้จัดตั้งโครงสร้างการบริหารและกองบัญชาการทหารขึ้นที่นี่ รวมถึงตั้งกรมกองต่างๆ
    เพื่อควบคุมเหล่าซามูไร
           ต่อมาเขาก็กลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในญี่ปุ่น เนื่องจากมีอำนาจในการควบคุม ระบบยุติธรรม การสืบทอดราชบัลลังก์และการป้องกันประเทศ อย่างไรก็ดี โยริโตโมะยังคงปักหลักอยู่ในคามากูระ และไม่ย้ายถิ่นฐานไปเมืองหลวงด้วยเหตุผลบางประการ

           โยริโตะโมะยังหว่านล้อมให้องค์จักรพรรดิอนุมัติให้มีตำแหน่งที่เรียกว่า ชูโงะ (shugo) และจิโตะ (jito) ในทุกเมือง
          ชูโงะคือผู้ดูแลกำลังทหารในแต่ละเมือง ส่วนจิโตะคือผู้ดูแลที่ดินและการเก็บภาษี ทั้งสองตำแหน่งจะขึ้นตรงต่อโชกุนโยริโตโมะโดยตรง ในยุคนี้ยังมีการตั้งรัฐบาลซึ่งประกอบด้วยชนชั้นนักรบขึ้น โดยตั้งอยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงซึ่งจักรพรรดิประทับ ระบบการปกครองแบบใหม่นี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของภาระหน้าที่และการพึ่งพาจึงต่างจากระบบการปกครองในยุคกลางของยุโรป และอาจเรียกได้ว่าเป็นระบบศักดินาสวามิภักดิ์ที่แท้จริง ซึ่งรู้จักในนาม บากูฟุ (bakufu-ระบบโชกุน) นั่นเอง

             เมื่อมีการตั้งระบบนี้ขึ้น ความสำคัญของราชสำนักก็เสื่อมถอยลง อย่างไรก็ดี
    ราชสำนักยังคงทำหน้าที่สำคัญในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและเป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาจนถึงปี 1868

           เมื่อองค์จักรพรรดิทรงดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศที่มีราชอำนาจอย่างแท้จริงอีกครั้ง

            แม้สมัยคามากูระจะมีระยะเวลาค่อนข้างสั้น แต่ก็มีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้นส่งผลใหญ่หลวงต่อประเทศ
         
           ในยุคนี้มีการปฏิวัติต้านเทคนิคการเกษตรที่ทำให้สามารถผลิตอาหารเพิ่มขึ้น ตามมาด้วยการขยายตัวของประชากร และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่มีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าวหนาแน่น ขึ้น มีระบบการค้าและพาณิชย์ที่ดีขึ้นมีการขยายตัวของตลาดท้องถิ่น และมีการนำระบบเงินตรามาใช้เป็นครั้งแรกผู้นำศาสนาพุทธก็มีอิทธิพลมากขึ้นในยุคนี้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของบรรดาซามูไรและผู้คนทั่วไป

         ศาสนาพุทธกลายเป็นศาสนาที่นิยมของประชาชนจากที่เคยผูกขาดเฉพาะแต่พวกขุนนาง

           ความยุ่งเหยิงซับซ้อนของระบบราชการได้กลายมาเป็นปัญหาใหญ่ ระบบของผู้ตรวจการทหารและเจ้ากรมเริ่มอ่อนแอลง
            ความตึงเครียดดังกล่าวยิ่งรุนแรงขึ้นเมื่อญี่ปุ่นต้องป้องกันประเทศจากการรุกรานของ มองโกล
            ถึงสองครั้งในปี 1274 และ ปี 1281
             การรุกรานดังกล่าวไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากกองเรือรบของ มองโกล ถูกทำลายจนหมดสิ้นโดยฝีมือของพายุไต้ฝุ่น

            สมัยมูโระมาจิ (Muromachi Period : ปี ค.ศ. 1333-1568) :
            โชกุนคนถัดมานาม อาชิคางะ ทาคาอูจิ (Ashikaga Takauji)
          ได้ย้ายเมืองหลวงกลับไปยัง เกียวโต ซึ่งทำให้ต้องเผชิญหน้ากับราชสำนักอย่างใกล้ชิด
           จนในที่สุดอำนาจของฝ่ายหลังต้องเสื่อมถอยลงทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันโชกุนคนใหม่ยังนำกำลังเรือรบเข้าจับกุมเหล่าขุนนางพร้อมกับสลายฐานอำนาจให้เหลือสถานะเพียงแค่เป็นผู้อุปถัมภ์ วัฒนะธรรมเหมือนเมื่อครั้งอดีตที่ผ่านมา

            คำว่า “มูโระมาจิ” เป็นชื่อของพื้นที่บริเวณหนึ่งในเกียวโต ซึ่งโยชิมิตสึ โชกุนแห่งตระกูลอาชิคางะมีคำสั่งให้สร้างประสาทขึ้น
         ชีวิตของโชกุนโยชิมิตสึถือว่าเป็นโชกุนแห่งอาชิคางะที่น่าสนใจมากที่สุด เนื่องจากมีบทบาทมากทั้งในด้านการเมืองและมีความสามารถเป็นเลิศในเรื่องการบริหารกองทัพ

          โดยภาพรวมแล้วสมัยมูโระมาจิเป็นยุกต้นของการเปลี่ยนแปลงหลักพื้นฐานต่างๆเป็นรากฐานแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่นคงที่จะเกิดขึ้นในสมัยเอโดะ ยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการเกษตรนำพืชพันธุ์ใหม่ๆ มาเพาะปลูกรวมทั้งพัฒนาระบบของชนประทานและการเกษตรเพื่อการพาณิชย์ สมาคมช่างฝีมือเริ่มปรากฏขึ้นในยุคนี้ ขณะที่มีการขยายตัวของเศรษฐกิจเงินตราและการค้าอย่างชัดเจน สิ่งที่สำคัญคือเมืองทั้งเล็กและใหญ่ต่างผุดขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยดำเนินควบคู่ไปกับการเติบโตของชนชั้นพ่อค้าและบริการ
         
    โชกุนโยชิมิตสึถูกลอบสังหารในปี 1441 ทำให้ระบบโชกุนตกต่ำลง ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างโชกุนกับผู้ตรวจการทหารเสื่อมถอยลง

          ทศวรรษแห่งสงครามและความไม่สงบแสดงให้เห็นถึงการล่มสลายอย่างสิ้นเชิงของระบบรวมศูนย์อำนาจและสังคมอันนำไป

          สู่ยุคไฟสงคราม (Age of Warring States) ซึ่งเป็นศตวรรษแห่งสงครามที่กินเวลาตั้งแต่ปี 1467 จนถึงปี 1568

           การกระจายอำนาจออกจากส่วนกลางอย่างเกือบสิ้นเชิงของรัฐบาลในยุคนี้ นำไปสู่ระบบศักดินาของผู้เป็นเจ้าเมือง (daimyo / ไดเมียว)

           ก่อนหน้านี้การตัดสินใจใดๆ ที่เกี่ยวกับการถือครองที่ดิน และการบริหารหัวเมืองต่างๆ จะต้องมาจากข้าราชการส่วนกลาง
          ระบบไดเมียวก่อให้เกิดความเปลี่ยงแปลงขึ้นโดยมีกองกำลังทหารขนาดใหญ่เป็นเครื่องหนุนหลัง ภายใต้ระบบดังกล่าวไดเมียวคือผู้มีสิทธิชอบธรรมในการตัดสินใจ

          สมัยโมโมยามะ (Momoyama Period : ปี ค.ศ. 1568-1600) :
         ยุคนี้แม้ว่าจะมีระยะสั้นแต่ถือว่าเป็นยุคแห่งการประดิษฐ์ในสายตาของนักประวัติศาสตร์และมีความยอดเยี่ยมยิ่งกว่าสมัยมูโระมาจิเสียอีกเหตุที่ได้ชื่อว่าโมโมยามะเป็นเพราะการปกครองของโชกุนสมัยอาชิคางะสิ้นสุดลงในปี 1573(สมัยมูโระมาจิตรงกับช่วงที่โชกุนของตระกูลอาชิคางะยังปกครองอยู่) เหตุการณ์โดดเด่นที่สุดก็คือการบุกเข้าโจมตีเกียวโตของโอดะ โนบุนางะ (Oda Nobunaga : ปี 1534-82) ผู้นำคนแรกในบรรดาสามผู้นำที่ปรารถนาจะรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น ส่วนอีกสองคนได้แก่ โตโยะโตมิ ฮิเดโยชิ (Toyotomi Hideyoshi : ปี 1536-98) และโทกุงาวะ อิเอยะสุ (Tokugawa leyasu : ปี 1542-1616)         

           โนบุนางะคว้าชัยชนะเหนือเมืองอื่นๆ มาได้อย่างเฉียบขาด โดยการใช้กำลังทหารบดขยี่ ปฏิปักษ์อย่าไร้ความปรานีโนบุนางะยังเป็นที่รู้จักดีในฐานะนักรบผู้ชอบเผาทำลายวัดของพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่รอบๆ เกียวโตซึ่งต่อต้านเขา กระนั้นการเผาวัดก็เป็นคนละเรื่องกับการที่โนบุนางะสนใจในศิลปวัฒนธรรม

        แม้เขาจะสามารถรวบรวมพื้นที่ได้เพียงหนึ่งในสามของประเทศให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของเขาแต่ก็เป็นการปูพื้นฐานสำหรับการรวมญี่ปุ่นให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในเวลาต่อมา
    เขาถูกลอบสังหารในปี 1582 โดยนายพลผู้ทรยศ

        ฮิเดโยชิ แม่ทัพเองของโนบุนางะได้จัดการสำเร็จโทษผู้ลอบสังหารและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นผู้นำคนต่อไปด้วยความปราดเปรื่องทางการทหาร บุคลิกลักษณะแบบนักการเมือง และความเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ฮิเดโยชิได้ดำเนินการอย่างกระตือรือร้นเพื่อรวมญี่ปุ่นให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ภายในปี 1590

         เขตแดนทั่วทุกตารางนิ้วของญี่ปุ่นก็ตกมาอยู่ในเงื้อมมือของเขา แม้ฮิเดโยชิจะสามารถรวบรวมอำนาจไว้ได้แต่เพียงผู้เดียว

          แต่ญี่ปุ่นก็ยังคงบริหารประเทศด้วยการ กระจาย อำนาจออกจากส่วนกลาง อันเป็นเครือข่ายสายสัมพันธ์ที่ยุ่งเหยิงซับซ้อนของ
            ขุนนางเจ้าที่ดิน กระนั้นการบริหารที่ดิน แหล่งทรัพยากร และประชาชนก็ยังตกอยู่ในมือของไดเมียงอยู่ดี

            ฮิเดโยชิยังเป็นผู้นำในการปฏิรูปกิจการภายในประเทศอย่างกว้างขวาง มาตรการที่ส่งผลทางสังคมยาวนานที่สุด
            ในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นคือนโยบาย “การปลดดาบ” ใครก็ตามที่ไม่ใช่ซามูไรห้ามพกอาวุธ (จนถึงเวลานี้ญี่ปุ่นยังมีกฎหมายคุมเข้มอาวุธทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นมีดหรือปืน)

        ฮิเดโยชิยังนำระบบชนชั้นมาใช้ในบางพื้นที่เพื่อทำให้พวกเจ้าของที่ดินที่ร่ำรวยตัดสินใจลำบากระหว่างการประกาศตนว่าเป็นซามูไรและหันไปใช้ชีวิตแบบนักรบ หรือทำตัวเป็นสามัญชนตามเดิมและยอมอยู่ในชนชั้นที่ต่ำกว่าพวกซามูไร

       ฮิเดโยชิได้แสดงแสนยานุภาพให้เป็นที่ประจักษ์ในเอเชียด้วยการพยายามบุกเกาหลีถึงสองครั้งในปี 1592 และปี 1597โดยหวังว่าจีนจะเป็นเป้าหมายรายต่อไป แต่เขาก็ไม่สามารถบรรลุผลตามที่ตั้งเป้าไว้ เพราะต้องมาจบชีวิตลงก่อนในปี 1598

          สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือถึงแม้ว่ายุคนี้จะไม่เคยว่างเว้นจากศึกสงครามเลยสักวัน ขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองยังคงคุกรุ่น แต่ภายในระยะเวลาสามสิบปีของสมัยโมโมยามะกลับเป็นช่วงเวลาที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอ เซรามิก เครื่องเงิน ภาพวาด และอุปกรณ์ชงชา ล้วนถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้ความรุ่งเรืองทางศิลปะเยี่ยงนี้ไม่เคย ปรากฎขึ้นอีกในญี่ปุ่น

          อีกเรื่องหนี่งที่นับว่าประสบความสำเร็จมากคือความเจริญทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของการค้าทั้งในและนอกประเทศรวมถึงวิถีชีวิตของพวกไดเมียว ฮิเดโยชินั้นขึ้นชื่อมากในเรื่องความคลั่งไคล้หลงใหลในทองคำและเครื่องประดับ เพชรนิลจินดาทั้งหลาย เพื่อเสริมสร้างความมั่นคั่งของทรัพย์สมบัติ สถาปนิกอยู่แบบปราสาทมักสนับสนุนให้นำทองคำ มาใช้ประดับประดาเพื่อลดความขึงขังของสิ่งก่อสร้างซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแบบทหาร

           พิธีชงชาที่สืบทอดกันมานานของญี่ปุ่นก็ได้รับอิทธิพลมาจากครูสอนการชงชาของฮิเดโยชิที่มีชื่อว่า เซ็น โนะ ริคิว (Sen no Rikyu) ผลที่เกิดขึ้นตามมาไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็คือ การผลิตชุดถ้วยชาม สำหรับพิธีชงชาซึ่งยังไม่มีใครทัดเทียมได้ และยังถูกเลียบแบบโดยศิลปินญี่ปุ่นสมัยใหม่อีกด้วย

    1
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×