ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมมิตรญี่ปุ่น

    ลำดับตอนที่ #6 : ภาษาญี่ปุ่น

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.15K
      1
      29 พ.ย. 49

      ภาษาราชการ :

        ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาเดียวที่ใช้ทั่วประเทศ แต่ว่าจะมีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ซึ่งจะมีภาษาท้องถิ่นของตนเอง แต่จากจำนวนคนญี่ปุ่นที่มีมากกว่า 120 ล้านคน ทำให้ภาษาญี่ปุ่น เป็นภาษาที่มีผู้ใช้มากเป็นอันดับที่ 10 รองจากภาษาจีน , อังกฤษ , รัสเซียและอื่น ๆ

    ภาษาอังกฤษ จะใช้ได้บ้างก็เฉพาะในบริเวณสนามบิน โรงแรมใหญ่ ๆ หรือสถานที่ราชการบางแห่ง ที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารกับคนต่างชาติ แต่โดยทั่วไปแล้ว กล่าวได้ว่า คนญี่ปุ่นที่พูดภาษาอังกฤษได้ดีจะมีน้อยมาก เด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ เมื่ออยู่ชั้น ม.1 ( เกรด 7 ) และด้วยระบบการสอนที่เน้นการให้ข้อมูล การท่องจำเพื่อสอบแข่งขันมากกว่าการใช้ในชีวิตจริง จึงทำให้เด็กญี่ปุ่นไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ แต่อาจจะเขียนและอ่านได้ดีกว่า

    ดังนั้น สำหรับชาวต่างชาติแล้ว หากไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลย ก็จะลำบากต่อการใช้ชีวิตในญี่ปุ่นมากทีเดียว


      ตัวอักษร :

        ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลการเขียนตัวอักษรแบบจีน และวัฒนธรรมจีนมา ตั้งแต่เมื่อคริสตศตวรรษที่ 7 และ 8 ซึ่งยังคงมีอิทธิพลต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากตัวหนังสือที่ใช้อยู่ 3 แบบคือ

        แบบที่ 1 และแบบที่ 2 คือ ฮิรางานะ ( Hiragana ) และ คาตากานะ ( Katagana ) ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นในญี่ปุ่น จากการย่ออักษรจีนบางตัว ทั้งสองแบบมีตัวอักษรอย่างละ 46 ตัว และแสดงเสียงตามพยางค์

         แบบที่ 3 คือคันจิ ( Kanji ) เป็นตัวอักษรจีน ซึ่งเป็นอักษรภาพที่แสดงความหมายในตัวเอง อักษรจีนที่ถูกใช้อยู่มีประมาณ 3,000 ตัว แต่จำนวนอักษรจีนที่ถูกระบุอย่างเป็นทางการ ว่าใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันมีเพียง 1,945 ตัวเท่านั้น

        ในการเขียนประโยคต่าง ๆ จะใช้อักษรจีนผสมกับอักษรแบบฮิรางานะ สำหรับชื่อสถานที่ ชื่อเฉพาะอื่น ๆ ที่มาจากอเมริกา ยุโรป และประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อักษรแบบจีน รวมถึงคำศัพท์เทคนิคซึ่งยืมจากภาษาต่างประเทศ จะเขียนด้วยอักษรคาตะกานะ

        ภาษาญี่ปุ่นอาจเขียนในแนวดิ่งจากข้างบนลงข้างล่างก็ได้ หรือจะเขียนตามขวางจากซ้ายไปขวาก็ได้

    ที่มา http://www.jeducation.com/ 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×