ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมมิตรญี่ปุ่น

    ลำดับตอนที่ #55 : เทมปุระ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 628
      1
      18 พ.ย. 49


         

    เท็มปุระ "อัศจรรย์แห่งการทอด"

         เจ้าเท็มปุระเนี่ยมีต้นกำเนิดมาจากนักสอนศาสนาชาวโปรตุเกส ที่เดินทางเข้ามาเผยแผ่ศาสนาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อศตวรรษที่ 16 แล้วนำอาหารชนิดนี้เข้ามาด้วย แต่ต่อมาคนญี่ปุ่นเอามาดัดแปลงใหม่ให้เป็นแบบที่ตนเองชอบมากขึ้น

            แต่ที่มาของคำว่า “Tempura” เท็มปุระ นี่ก็ไม่แน่ชัด นักประวัติศาสตร์เขาบอกเอาไว้อย่างงั้น บ้างก็ว่ามาจากคำว่า “Tempora” ซึ่งหมายถึงวันที่ถือศีล งดกินปลา ของนักสอนศาสนาชาวโปรตุเกส หรือไม่ก็มาจากคำว่า “Tempera” ซึ่งหมายถึง กรรมวิธีการลงสีแบบสีจิตรกรที่ใช้การผสมสีกับของเหลวข้น สรุปไม่ได้ครับว่ามาจากไหนแน่ 
     
                ท่านโชกุนโตคุกาวา อิยาสึ (Shogun Tokugawa Ieyasu) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยเอะโดะ หรือในปีคริตศักราช 1603 -1867 ท่านเป็นผู้ที่ชื่นชอบการลิ้มลองอาหารรสชาติใหม่ๆ 

               

    ชาวเมืองเอะโดะ (Edo) ซึ่งปัจจุบันคือเมืองโตเกียว เมื่อปลายศตวรรษที่ 17 ซึ่งมีการย้ายเมืองหลวงจากเมืองเกียวโตมาอยู่ที่เอะโดะนั้น เท็มปุระก็เป็นที่โปรดปรานของชาวเมืองนี้มาก ตั้งแต่ระดับชนชั้นสูงลงมาจนถึงประชาชนทั่วไป ต่างชื่นชอบกันถ้วนหน้า


    ตามท้องถนนทั่วไปก็มีการวางขาย ไม่ว่าจะเป็นตามรถเข็นหรือร้านรินทาง หารับประทานกันได้สะดวก แล้วเขาก็ใช้ปลาสดๆที่จับได้จากอ่าวเอะโดะนั่นแหละครับเป็นวัตถุดิบในการทำ

    แล้วต่อมาก็ไม่ใช่แค่ปลา กุ้ง ปลาหมึก เท่านั้นที่ถูกนำมาทำเป็นเท็มปุระ ผักสารพัดชนิด เช่น ฟักทอง หัวหอม มันฝรั่ง หรือเห็ดต่างๆ ฯลฯ ก็ถูกเอามาชุบแป้งปรุงรสที่ผ่านกรรมวิธีการทำและทอดแบบกรอบนอกนุ่มใน จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
           เดิมเท็มปุระเป็นอาหารว่างที่ใช้รองท้องกันก่อนที่จะรับประทานอาหารจานหลัก แต่ปัจจุบันไม่เพียงแค่นั้น ยังมีการนำมาทำเป็น “เท็มปุระ อุด้ง หรือ เท็มปุระ โซบะ” ( Tempura Udon / Tempura Soba ) คือ การเอาเท็มปุระมาวางบนอุด้งหรือโซบะหรือไม่ก็ทำเป็น “เท็นด้ง” (Ten-don ) คือเอามาวางบนข้าว ซึ่งล้วนแล้วแต่เอร็ดอร่อยไปคนละแบบ อร่อยกับทุกรูปแบบ แค่รับประทานแต่แป้งเปล่าๆที่ฟูเกาะกันเป็นแพไม่ต้องมีไส้ก็อร่อยแล้ว


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×