ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมมิตรญี่ปุ่น

    ลำดับตอนที่ #48 : เคนโด้ กีฬาของญี่ปุ่น

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.26K
      2
      14 พ.ย. 49


           เคนโด้ จึงไม่ใช่แค่กีฬาเพื่อสุขภาพเท่านั้น แต่เข้าถึงวิธีการฝึกจิตใจตามปรัชญาความเชื่อทางศาสนา แม้ในปัจจุบันสังคมญี่ปุ่นจะล้ำหน้าทางเทคโนโลยีสักเพียงใด แต่เคนโดก็ยังเป็นกีฬาที่สอนในโรงเรียนระดับประถม มัธยม อุดมศึกษา และเป็นวิชาบังคับของโรงเรียนนายตำรวจของญี่ปุ่น รวมถึงแพร่หลายในประเทศต่างๆ ทั้งเอเชีย และยุโรป หลายคนคงจำภาพยนตร์เรื่อง The last samurai ของพระเอกหนุ่ม(ตลอดกาล) ทอม ครูซ ที่นำเสนอเรื่องราวของซามูไรรุ่นสุดท้ายของญี่ปุ่น ก่อนการเปิดประเทศในสมัยเมอิจิ ได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศนมเนยแบบตะวันตกแล้ว ยังได้ชมกลิ่นอายของแดนปลาดิบในช่วงสำคัญของชาติผ่านศิลปะการต่อสู้โบราณจากเรื่องนี้ ทำให้ย้อนนึกถึง 'มูซาชิ' การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่นเมื่อสิบปีที่แล้ว

    เด็กๆ หลายคนใฝ่ฝันอยากฝึกเคนโด แต่ไม่รู้ว่ามีที่ไหนเปิดสอนบ้าง ชมรมกีฬาเคนโดแห่งประเทศไทย อาจไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ทั้งที่เปิดสอนเคนโดให้แก่ผู้สนใจมาเกือบ 15 ปีแล้ว โดยมีสถานที่สอนทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล การสอนเคนโดของชมรม เน้นที่การฝึกซ้อมของผู้เล่นเป็นหลัก และปัจจุบันมีคนไทยที่ฝึกเคนโดจนถึงขั้นเป็นแชมป์ของเอเชีย
    "สิบกว่าปีที่ผ่านมา เคนโดในเมืองไทยไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ถือเป็นข้อดีที่ยังไม่เป็นกีฬาเชิงการค้าทำให้เราไม่ถูกแทรกแซง แต่เรื่องทุนทรัพย์ เราต้องรับผิดชอบเองทั้งค่าอุปกรณ์ ค่าเดินทางไปแข่งขัน และค่าอะไรต่ออะไร แม้เรายังไม่ได้จัดตั้งเป็นสมาคม แต่เราก็เป็นสมาชิกของสหพันธ์เคนโดสากล ส่งนักกีฬาไทยลงแข่งจนได้รับรางวัล เมื่อปีที่แล้วเราก็เพิ่งไปแข่ง World Kendo Champianships ที่กลาสโกลว์ สกอตแลนด์ และ Asean Kendo Tournament ครั้งที่ 7 ที่ฮ่องกง" วิทยา ปานศรีงาม ประธานชมรมกีฬาเคนโดแห่งประเทศไทย กล่าว


        คนที่มาเรียนเคนโดเริ่มแรกมักจะอยากลอง แต่พอเรียนไปสักระยะ มักหลงเสน่ห์จนถอนตัวไม่ขึ้น วิทยา บอกว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารอยากลองเล่น บ้างก็อยากพาลูกหลานมาเรียน ช่วง 3 เดือนแรกถือเป็นขั้นเริ่มต้น จากนั้นถือเป็นการฝึกฝน ต้องใช้เวลาตลอดชีวิตเพื่อเรียนรู้เคนโด
    สิ่งสำคัญของการเล่น ก็คือ สมาธิ และความตั้งใจ ส่วนอุปกรณ์ประกอบ มี ดาบ ทำจากไม้ไผ่(ผ่าซีก) ประกอบกัน 4 ส่วน ถ้าซีกไหนหักก็สามารถถอดเปลี่ยนได้ มีทั้งที่ผลิตจากญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งราคาถูกกว่า ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เครื่องป้องกันเป็นชุด ฮากาม่า (เสื้อและกางเกง) ราคาประมาณ 2000 บาท ซึ่งเป็นผ้าดิบกรุภายในด้วยหนังกวางที่เหนียว ป้องกันของมีคมและการกระแทก คล้ายชุดซามูไรโบราณ
    เครื่องป้องกันอื่นๆ เรียกรวมว่า โบกุ ประกอบด้วย เม็ง เกราะป้องกันส่วนหัว โด เกราะป้องกันส่วนท้อง อดีตทำจากไม้ไผ่สานลงรักซึ่งแข็งแกร่งมาก ปัจจุบันทำจากไฟเบอร์ซึ่งมีราคาถูกกว่า โคเทะ ถุงมือป้องกันข้อมือกรุด้วยหนังกวางเช่นเดียวกัน และทาเระ ส่วนที่สวมป้องกันสะโพก

          ปัจจุบันผู้เล่นเคนโดในเมืองไทย มีทั้งชาวไทยและญี่ปุ่นที่ทำงานในเมืองไทย ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาฝึกซ้อมตามแต่สะดวก เพราะสถานที่ซ้อมมีหลายแห่ง ทั้งที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โรงเรียนนานาชาติไอเอสบี ม.เกษตรฯ ม.รามคำแหง ม.มหานคร อาคารยูบีซี รวมถึงในเชียงใหม่และภูเก็ต


       การฝึกเคนโดต้องมีสติที่มั่นคง คิดเสมอว่า ถ้าดาบที่ใช้เป็นของจริงนั่นหมายถึงชีวิต ถ้าเป็นกีฬาอื่นจะไม่เห็นอาจารย์อายุ 50-60 ปีมาประชันฝีมือกับลูกศิษย์ในเวทีแข่งขัน อย่าง Asian Riginal Tournament ซึ่งจะแข่งกันในเดือนกุมภาพันธ์นี้ที่ฮ่องกง นักเคนโดจะได้เห็นพวกอาจารย์แสดงฝีมือ สามารถทำให้ลูกศิษย์อ่อนล้าถึงขั้นอาเจียนก็มีเหมือนกัน ถือว่าเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน "คนที่เล่นเคนโด เมื่อโดนตีจะรู้สึกว่าพอใจและให้เกียรติกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย จะรู้เองว่าตนพลาดหรือได้เปรียบอย่างไรเป็นบทเรียน เพื่อให้พัฒนาทักษะฝีมือ" ด้าน มาซาโตะ เอ็นโดะนักเคนโดดั้ง 6 หนุ่มใหญ่จากแดนอาทิตย์อุทัยวัย 43 ปี คุยว่า เคนโดเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ฝังอยู่ในวิถีชีวิต(way of life) ของคนญี่ปุ่นมานาน เขาเรียนเคนโดมาตั้งแต่อายุ 9 ขวบ มีโอกาสเรียนเพราะบ้านอยู่ใกล้สถานีตำรวจ ซึ่งเกือบทุกแห่งมีการฝึกเคนโด จึงมีโอกาสฝึกปรือฝีมือมาเรื่อย "พอมาอยู่เมืองไทย 2 ปี ก็ยังได้เล่นเคนโด เมื่อเดือนที่แล้วผมสอบได้ดั้ง 6 อายุ 43 ไม่ถือว่าแก่เกินไปนะที่ญี่ปุ่นมีคนที่แก่กว่าผม ยังเล่นเคนโดอีกเยอะ บางคนอายุ 80 กว่าก็ยังเล่น อย่างผมก็เคยบาดเจ็บจากการเล่นเคนโด ทำให้เอ็นร้อยหวายที่เท้าซ้ายฉีก กว่าจะกลับมาเล่นได้ ต้องใช้เวลาและระวังตัวเองเพิ่มขึ้น"


       นอกจากนี้ยังย้ำว่า อายุไม่ใช่ข้อจำกัดของการเล่น สิ่งที่โดดเด่นของเคนโดก็คือ แต่ละช่วงวัยจะมีความสุขในการเล่นเคนโดต่างกัน คนที่เล่นเคนโดสมัยใหม่อาจมองว่าเป็นการเล่นเพื่อสุขภาพ แต่หลังจากได้เข้ามาคลุกคลี ก็จะรู้ถึงจุดประสงค์หลักในการเล่นเคนโด
    เคนโดต้องอาศัยสมาธิในการเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นหนึ่งเดียวกับดาบ เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ และที่สำคัญ ก็คือ ทำให้เรามีเพื่อน
    ไม่ว่าจะเป็นกีฬาสัญชาติไหน แต่เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นกีฬาแล้ว นอกจากให้ความแข็งแกร่งต่อร่างกายยังเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจของผู้ฝึกฝนได้เป็นอย่างดี 'รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย คือหัวใจของนักกีฬาที่ดี' สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในกีฬาทุกประเภท
    เคนโดก็เป็นอีกทางเลือกของผู้ที่สนใจ อาจเป็นความท้าทายของมนุษย์ในยุคนี้

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×