เสน่ห์หาซาตาน
เมื่อเธอเป็นเมียของเขาแล้วอย่าหวังว่าเธอจะรอดเงื้อมือของซาตานอย่างเขาไปได้..ไม่มีทาง..สุรัชชา
ผู้เข้าชมรวม
68,332
ผู้เข้าชมเดือนนี้
69
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
บทนำ
“เรามาดีกันนะ”ชายหนุ่มดึงมือเรียวบางมาวางเอาไว้ที่อกกว้างของเขา
“เธอได้ยินไหมว่าหัวของฉันมันพูดว่าอะไร”ดวงตาของเขาช้อนลงมายังร่างบอบบาง
“อืม.. ไม่รู้สิ”เธอยังหลบสายตาฉ่ำหวานของชายหนุ่มทั้งก้มใบหน้างุดเอียงอาย
“มันบอกว่ารักเธอ..รักเธอคนเดียว และหัวใจฉันยังรออยู่ตรงนี้ ตรงที่มือเธอจับอยู่นี่ยังไงหละ บางครั้งฉันอาจจะทำอะไรห่ามๆลงไปบ้าง นั่นเพราะว่าฉันรักเธอมากนะ รักมากอย่างที่ไม่เคยรักใครมาก่อน ทุกครั้งที่เราทะเลาะกันฉันเจ็บปวดเสมอ รวมทั้งเรื่องราวที่ห้างวันนั้นด้วย”ชายหนุ่มพยายามบอกความใจในอย่างใจเย็น
“แล้วไงต่อ”หญิงสาวถามต่อ
“แล้วไง..เรามาคืนดีกันนะ กรณ์ทนไม่ไหวที่เราต้องมาทะเลาะกันอย่างนี้ น่านะ..”ชายหนุ่มยกนิ้วก้อยมาเกี่ยวเพื่อขอคืนดี
“ง่ายไปไหม เมื่อวานคุณหาว่าฉันคบชู้อยู่เลยมา วันนี้มาขอคืนดีเสียแล้ว”หญิงสาวค้อนให้ชายหนุ่มหลายวง น้ำเสียงค่อนขอดไม่ได้จริงจังอะไร
“ฉันขอโทษ ฉันผิดไปแล้ว เรากลับมารักกันอีกนะ”ชายหนุ่มดึงร่างของหญิงสาวให้ประชิดร่าง
“มารักกันอีกเหรอ ไม่เอาแล้วเมื่อคืนฉันเหนื่อยแล้วนะ”หญิงสาวเข้าใจผิดปล่อยไก่ตัวใหญ่
“อะไรของเอย ฉันไม่ได้หมายถึงรักอย่างนั้น ที่รักกันคือ ให้เรามารักกันเหมือนเดิมเลิกหมางเมินใส่กันจะได้ไหม และฉันจะไม่โวยวายหรือโมโหอีก ฉันสัญญา”เขาชูสองนิ้วสัญญา
“ให้มันจริงนะ เอยไม่อยากเสียใจอีกแล้ว เราทะเลาะกันทีไรมันเจ็บตรงนี้”นิ้วเรียวของหญิงสาวจิ้มที่หน้าอกของตนเองทำหน้าทะเล้นล้อหน้าชายหนุ่ม และทั้งสองก็ระเบิดเสียงหัวเราะดังลั่นห้องนอนที่อบอวลด้วยกลิ่นอายของความรักและความสุข
ปล. ลงให้อ่านจบเรื่องไรท์เตอร์จะรีไรท์ทั้งเรื่องนะคะ
เพราะบางตอนไม่โอ อ่านแล้วไม่หนุกต้องปรับเปลี่ยนอีกเยอะค่ะ
ผลงานอื่นๆ ของ กานต์พิชชา ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ กานต์พิชชา
"วิจารณ์จาก Bluewhale"
(แจ้งลบ)นวนิยายแนวซึ้งกินใจ จำนวน 40 ตอนจบ เรื่อง เสน่หาซาตาน ของ กานต์พิชชา เป็นเรื่องราวความรักระหว่างอลงกรณ์หรือกรณ์ ผู้บริหารหนุ่มของโรงแรมมณีจันท์ กับ สุรัชชา หรือ เอย หญิงสาวที่เขาต้องมีเหตุให้ทะเลาะกับเธอทุกครั้งที่เจอหน้า แต่พวกเขาทั้งสองต้องโคจรมาพบกันอีกครั้งในฐานะเจ้านายหนุ่มกับเลขาสาว และทำสัญญาเป็นแฟนกำมะลอเพื่อแก้ปัญหาการถูกคลุมถุงชนจา ... อ่านเพิ่มเติม
นวนิยายแนวซึ้งกินใจ จำนวน 40 ตอนจบ เรื่อง เสน่หาซาตาน ของ กานต์พิชชา เป็นเรื่องราวความรักระหว่างอลงกรณ์หรือกรณ์ ผู้บริหารหนุ่มของโรงแรมมณีจันท์ กับ สุรัชชา หรือ เอย หญิงสาวที่เขาต้องมีเหตุให้ทะเลาะกับเธอทุกครั้งที่เจอหน้า แต่พวกเขาทั้งสองต้องโคจรมาพบกันอีกครั้งในฐานะเจ้านายหนุ่มกับเลขาสาว และทำสัญญาเป็นแฟนกำมะลอเพื่อแก้ปัญหาการถูกคลุมถุงชนจากครอบครัวของทั้งคู่ เรื่องราวความรักกำมะลอครั้งนี้จะลงเอยอย่างไร ต้องติดตามต่อไป เสน่หาซาตาน ยังคงมีเนื้อหาและแนวเรื่องไม่ต่างจากนวนิยายแนวนี้เรื่องอื่นๆ จึงไม่สร้างความแปลกใหม่และแปลกใจให้กับผู้อ่านเท่าใดนัก ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเรื่องให้พระเอกกับนางเอกไม่ชอบหน้ากัน ทะเลาะกันทุกครั้งที่เจอหน้า แต่เมื่อมีเหตุการณ์บังคับให้ต้องทำงานร่วมกัน ทัศนคติด้านลบที่มีต่อก็ค่อยๆ จางหายไป พัฒนาขึ้นมาเป็นความผูกพันและความรักในที่สุด แต่ก็ต้องมีเหตุให้เข้าใจผิด มีอุปสรรคเข้ามาทดสอบความสัมพันธ์ของคนทั้งคู่ แต่ท้ายที่สุดก็ลงเอยด้วยความรักและความเข้าใจ นอกจากนี้ยังพบว่านวนิยายแนวนี้เรื่องใดก็ตามที่ชื่อเรื่องมีคำว่า “ซาตาน” พระเอกจะกลายเป็นตัวละครตามแบบฉบับของนิยายแนวนี้ไปแล้ว คือ หล่อ รวย ขี้หึง หูเบา ไม่มีเหตุผล และชอบลงโทษนางเอกให้เจ็บช้ำทั้งร่างกายและจิตใจ ขณะที่นางเอกจะต้องตกเป็นจำเลยหัวใจที่รอบรับการลงทัณฑ์ที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลของพระเอกต่างๆ นานา ซึ่งไม่ว่าพระเอกจะลงโทษตนเองครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไร แต่ที่สุดแล้วนางเอกก็สามารถให้อภัยได้ทุกครั้งด้วยเหตุผลของคำว่ารัก จนดูประหนึ่งว่าพระเอกของนวนิยายแนวนี้เป็นซาดิสม์ (ความสุขหรือความพึงพอใจในความเจ็บปวดหรือความทุกข์ของผู้อ่าน) ในขณะที่นางเอกก็พึงพอใจในความเป็นมาโซคิสม์ของตน (ความสุขและความพอใจเมื่อไดรับความเจ็บปวดกับตัวเอง หรือ การถูกตบตี การถูกเหยียดหยาม การถูกผูกมัด หรือการถูกทรมาน) อีกทั้งยังพบว่า นวนิยายเรื่องนี้ กานต์พิชชา กับการสร้างภาพให้กรณ์เป็นซานตานอย่างเต็มรูปแบบ จึงทำให้เนื้อเรื่องกว่าครึ่งเรื่องเน้นฉากการลงทัณฑ์ของกรณ์ที่กระทำกับเอย (โดยอ้างว่าทำไปเพราะพิษรักแรงหึง) ซึ่งเหตุการณ์ส่วนใหญ่จึงเป็นการสร้างขึ้นที่เป็นตัวจุดชนวนให้พระเอกโกรธ จนนำไปสู่การลงโทษนางเอกต่างๆ นานา และมักไม่ค่อยสมเหตุผลเท่าใดนัก และบ่อยครั้งยังพบว่า กรณ์ ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ นับว่าขัดกับที่ภูมิหลังของตัวละครที่ผู้เขียนปูเรื่องไว้ในตอนต้นเรื่องว่าว่า กรณ์ เป็นผู้บริหารหนุ่มที่มีความสามารถ จนพ่อแม่ไว้ใจให้บริหารของครอบครัว ซึ่งเป็นโรงแรมใหญ่เก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ ในเรื่องนี้พบว่า กานต์พิชชา ใช้ความบังเอิญเป็นกลวิธีในการดำเนินเรื่องบ่อยมาก ทั้งการสร้างเหตุการณ์ ปมปัญหา อาทิ เปิดเรื่องโดยให้กรณ์กับเอยเดินชนกันตลอดเวลา ต้องให้กรณ์ไปพบเอยอยู่กับชายอื่นเสมอ หรือเอยมักจะเห็นว่ากรณ์อยู่กับหญิงอื่น จนเป็นเหตุให้ทั้งคู่ไม่เข้าใจกัน แม้การคลี่คลายปมปัญหาต่างๆ ก็ยังอาศัยเหตุบังเอิญ เช่น การเปิดเผยแผนชั่วร้ายระหว่างเอ็มและนาถที่ร่วมมือกันทำลายความรักของกรณ์กับเอย ก็มีเหตุให้อิงอรและไกรสรไปเที่ยวที่เดียวกัน และพบว่าแท้ที่จริงแล้วนาถและเอ็มรู้จักและเป็นคู่รักกันมาก่อน หรือการไปช่วยเอยจากเอ็ม ก็บังเอิญให้ไกรสรรู้จักผู้จัดการคอนโดของเอ็ม จนทำให้พวกเขาเข้าคอนโดไปช่วยเอยได้ หรือ ให้ฟางเป็นเพื่อนกับเจ้าของร้านแมกไม้ ร้านที่เอ็มหลอกพาฟางไปกินข้าวและวางยา เมื่อกรณ์ส่งภาพที่เอ็มประคองเอยที่มีคนส่งมาให้เข้าทางมือถือให้ฟางดู ฟางจึงรู้ว่าภาพนี้ถ่ายที่ใด และโทรไปสอบถามเพื่อนและเด็กที่ร้านจนได้ข้อมูลที่สร้างความกระจ่างให้กรณ์ได้ ดังนั้นจึงเห็นว่าผู้เขียนน่าจะใช้กลวิธีอื่นๆ มาใช้บ้างก็จะทำให้การเขียนมีมุมมอง มีมิติ และความน่าสนใจให้นวนิยายเรื่องนี้ได้มากยิ่งขึ้น ข้อสังเกตประการหนึ่งที่พบคือ ความสัมพันธ์ของตัวละครในเรื่องนี้ดูยุ่งเหยิงและสร้างความสงสัยให้ขณะที่อ่านอย่างมาก โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่าง กรณ์ เอย ฟาง นาถ และ เอ็ม ผู้วิจารณ์เห็นว่าผู้เขียนสามารถลดความสับสนและลดข้อสงสัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครกลุ่มนี้ได้ และจะช่วยสร้างให้ตัวละครมีที่มาที่ไปได้ชัดเจนขึ้น ถ้า กานต์พิชชา กำหนดให้ตัวละครทุกตัวรู้จักกันมาก่อน ไม่ใช่กำหนดให้บางคนรู้จักบางคนและไม่รู้จักบางคนดังที่ปรากฏในเรื่องขณะนี้ กล่าวคือ เรื่องราวจะมีเหตุผลปละที่มาที่ไปที่หนักแน่นกว่าถ้าเปิดเรื่องเปิดเรื่องให้เอยและกรณ์ไม่ชอบหน้ากันมาตั้งแต่กรณ์จีบฟางที่เป็นเพื่อนสนิทเอย ซึ่งความไม่ชอบหน้าในครั้งนั้นส่งผลมาถึงในปัจจุบัน แทนที่จะเปิดเรื่องให้คนที่ไม่รู้จักกันสองคนมีเหตุให้เดินชนกันสามครั้ง และต่างมีเรื่องต่อว่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่ชอบหน้ากันในเวลาต่อมา หรือในกรณีของนาถที่ผู้เขียนกำหนดให้เธอเป็นเพื่อนนักเรียนของกรณ์กับฟางอยู่แล้ว จึงไม่แปลกหากผู้เขียนจะให้เอยรู้จักกับนาถมาก่อน ซึ่งนี่อาจจะเป็นเหตุให้นาถรู้สึกโกรธและเกลียดเอยจนอยากจะกำจัด เพราะเอยทำให้เธอรู้สึกว่าเป็นศัตรูหัวใจที่ไม่คู่ควรกับกรณ์ ขณะเดียวกันก็ทำให้เธอรู้สึกพ่ายแพ้ต่อพวกเอยครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ว่าจะแพ้ฟางที่เป็นเพื่อนเอย และเธอต้องมาแพ้เอย คนที่เคยเป็นไม้เบื่อไม้เมากับกรณ์ กลายมาเป็นแฟนกรณ์ แทนที่จะเป็นเธอเพื่อนที่แสนดีของกรณ์ (ซึ่งดูจะสมเหตุผลมากกว่าที่ให้ทั้งสองคนเพิ่งเจอกันดังในเรื่อง) หรือ ขณะเดียวกันเมื่อเรื่องเอ็มกำหนดให้เอ็มเป็นรุ่นพี่ของฟางและเอย จึงไม่แปลกที่เอ็มจะเป็นเพื่อนหรือรุ่นพี่ของกรณ์ด้วย เพราะต่างก็เรียนด้วยกันมา ดังนั้น หากเอ็มจะเกลียดกรณ์ นอจกากในฐานะศัตรูทางธุรกิจแล้ว ยังเพิ่มการเป็นศัตรูหัวใจเข้าไปอีกก็น่าที่จะยอมรับได้ เพราะตลอดเวลาตั้งแต่เรียนเอ็มแสดงให้เห็นว่าแล้วว่าเขารักเดียวใจเดียวกับเอยมาตลอดถึงปัจจุบัน แต่กลับต้องมาพ่ายแพ้ให้กับกรณ์อดีตคู่ปรับที่ไม่เคยเห็นค่าเอยมาก่อน แต่กลับสามารถแย่งเอยไปจากเอ็มได้ในเวลาอันสั้น ในการสร้างเหตุการณ์นั้น พบว่าบ่อยครั้งที่ กานต์พิชชา สร้างเหตุการณ์ไม่ต่อเนื่องกัน ตอนที่ 5 ขณะที่ฉากกำลังดำเนินเรื่องอยู่ในห้องนอน อยู่ๆ ก็เปลี่ยนเป็นฉากหน้าบ้าน อย่างไม่มีต้นสายปลายเหตุ หรือ ตอนที่ 38 ที่ให้โจรเข้ามาทำร้ายและจับตัวกรณ์และเอยไว้ จนดูเหมือนว่าในตอนนั้นมีแค่เอยกับกรณ์อยู่บ้านกันสองคนเท่านั้น แต่ฉากก่อนหน้านั้นผู้เขียนกำลังเล่าว่า กรณ์ ไกรสร และ อิงอร ออกไปคุยกันข้างนอกบ้าน ขณะที่ปล่อยให้เอยนอนหลับข้างในบ้าน แล้วกรณ์เพิ่งเปิดประตูบ้านเข้ามาเมื่อได้ยินเสียงเหมือนเอยตื่นแล้ว แต่พอกรณ์และเอยออกไปนอกบ้านก็ถูกโจรจับตัวไว้ในทันที โดยที่ผู้เขียนได้ตัดไกรสรกับอิงอรออกจากฉากนี้ไปเลย ต่อมาในตอนที่ 39 ผู้เขียนก็ให้ไกรสรกลับเข้ามาในฉากอีกครั้งพร้อม ตำรวจ และ อรรถพล (พี่ชายของเอย) ที่บทก่อน หน้านั้นผู้เขียนเล่าว่ากำลังขับรถพาแม่มาหาเอย แต่ในฉากนี้อยู่ๆ แม่เอยก็หายไป และต่อมาผู้เขียนกลับให้แม่เอยเข้ามาพร้อมๆ กับพ่อแม่ของกรณ์ (ที่ไม่ไปปูเรื่องไว้ก่อนเลยว่าทั้งคู่จะมาที่เชียใหม่ด้วย อีกทั้งยังพบว่าบางครั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็ขัดแย้งกันเอง เช่น ในตอนที่ 24 กรณ์บอกเอยอย่างชัดเจนแล้วว่านาถจะไปทำงานที่เชียงใหม่ด้วยกัน แต่ในบทที่ 27 กลับให้เอยต่อว่ากรณ์ว่า ทำไมเขาไม่บอกเธอว่านาถจะมาที่นี่ จึงอยากให้ผู้เขียนลองกลับอ่านทบทวนเรื่องอื่นครั้ง เพื่อแก้ไขความลักลั่นของเหตุการณ์เหล่านี้ลง สำหรับการสร้างบทบรรยายและบทสนทนานั้นพบว่า กานต์พิชชา สามารถสร้างทั้งบทบรรยายและบทสนทนาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการสื่อความ สร้างอารมณ์ สร้างความน่าติดตาม และสร้างความลื่นไหลของเรื่องได้ อย่างไรก็ดี เห็นว่าผู้เขียนควรตัดอีโมติคอนที่ผู้เขียนแทรกไว้ 2 แห่งในเรื่องออก เพราะอีโมติคอนดังกล่าวดูจะแปลกแยกจากเนื้อเรื่องโดยองค์รวม และไม่ได้เป็นส่วนสำคัญต่อเรื่องด้วย สิ่งที่ควรปรับปรุงอีกประการคือคำผิด เนื่องจากในเรื่องมีคำผิดเป็นจำนวนมาก ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ อาทิ การสะกดผิด เช่น เซ็น เขียนเป็น เซนต์ อยู่ เขียนเป็น ยู่ ว้าย เขียนเป็น ว๊าย ฟัง เขียนเป็น ฝัง พรรณนา เขียนเป็น พรรณา ท่อง เขียนเป็น ถ่อง สำหรับ เขียนเป็น สำกรับ สะเพร่า เขียนเป็น สัพเพร่า คาดการณ์ เขียนเป็น คาดการ ร้อนระอุ เขียนเป็น รอนระอุ ลมพัด เขียนเป็น ลมพัก ช็อต เขียนเป็น ช๊อต มั้ง เขียนเป็น มั๊ง ฟิวล์ เขียนเป็น ฟิลด์ ช่าง (หมายถึง ล่อง วางธุระ เช่น ช่างคลาย) เขียนเป็น ชั่ง (กระทำให้รู้น้ำหนักโดยใช้เครื่องชั้นหรือตราชูเป็นต้น) ผลักไส เขียนเป็น ผลักใส มารยาท เขียนเป็น สารยาท อาภรณ์ เขียนเป็น อาภร บอดี้การ์ด เขียนเป็น บอดีการ์ด เสเพล เขียนเป็น เลเพล สะโหลสะเหล เขียนเป็น สโลเล อากัปกิริยา เขียนเป็น อากับกริยา กางเกงยีนส์ เขียนเป็น กางเกงยีน แอปเปิ้ล เขียนเป็น แอบเปิ้ล ม้า เขียนเป็น ม๊า อิสรภาพ เขียนเป็น อิสระภาพ พลัน เขียนเป็น พลัย สาธารณชน เขียนเป็น สาธารณะชน เลี่ยน เขียนเป็น เลื่อน ล็อค เขียนเป็น ล๊อค สาบเสื้อ เขียนเป็น สาปเสื้อ ว้าว เขียนเป็น ว๊าว เลิ่กลั่ก เขียนเป็น เลิกลัก บูดบึ้ง เขียนเป็น บูดบึ่ง สัญชาตญาณ เขียนเป็น สัญชาติญาณ ร่ำไห้ เขียนเป็น ล่ำไห้ ครู่ เขียนเป็น ครุ่ ว้า เขียนเป็น ว๊า น่าเกลียด เขียนเป็น น่าเกียจ นานาพันธุ์ เขียนเป็น นานาพันธ์ ทรมาน เขียนเป็น ทรมาร สะใภ้ เขียนเป็น สะไภ้ ทำไม เขียนเป็น ทำใม ล่าม เขียนเป็น ร่าม ฤทธิ์ เขียนเป็น ฤทธ์ เจ้าเล่ห์ เขียนเป็น เจ้าแหล่ ความห่วงใย เขียนเป็น ความใย สันดาน เขียนเป็น สัญดาน เนอะ เขียนเป็น เน๊าะ ณ เขียนเป็น ณ. ย่างกราย เขียนเป็น ย่ำกราย เยียวยา เขียนเป็น เยี่ยวยา ทริปทัวร์ เขียนเป็น ทริบทัวร์ เอ้อระเหย เขียนเป็น เอ้อละเหย โสเภณี เขียนเป็น โสเพณี ใส่หน้ากาก เขียนเป็น สากหน้ากาก โซฟา เขียนเป็น โชว์ฟา เศร้าโศก เขียนเป็น เศร้าโศรก ทิฐิ เขียนเป็น ฐิถิ ประจันหน้า เขียนเป็น ประจันหน้า ช็อปปิ่ง เขียนเป็น ช๊อปปิ้ง หนาว เขียนเป็น หนาก ทรมาน เขียนเป็น ทรมาณ พิมพ์ใจ เขียนเป็น พิมใจ แอบแฝง เขียนเป็น แอบแผง เดรัจฉาน เขียนเป็น เดรัชฉาน เคลือบแคลง เขียนเป็น เคลิบแคลง จะสมหวัง เขียนเป็น สะสมหวัง คุโชน เขียนเป็น ครุโชน สุนทรีย์ เขียนเป็น สุนทรี พิมพ์ เขียนเป็น พิมพิ์ การใช้คำผิดความหมาย เช่น หลายกัณฑ์ (หมายถึงกัณฑ์เทศน์) เขียนเป็น หลายกัณฐ์ (กัณฐ์ หมายถึง คอ) การออกแบบโรงแรมเต็มไปต้องยกความดีให้วิศวกร ควรใช้คำว่า สถาปนิก แทน (สถาปนิกเป็นคนออกแบบโรงแรม แต่วิศวกร เป็นผู้คุมการก่อสร้างโรงแรม) เส้นยาแดงผ่าแปด เขียนเป็น เส้นใยแดงผ่าแปด แม่สามี เขียนเป็น แม่ย่า ย่างสามขุน เขียนเป็น ย่างขุม ปิดไม่มิด เขียนเป็น ผิดไม่มิด ประจวบเหมาะ เขียนเป็น ประตวบเหมาะ สถานการณ์ตึงเครียด เขียนเป็น สถานะตึงเครียด ท้องร้องโครกคราก (โครกคราก หมายถึง เสียงท้องร้องดัง) เขียนเป็น ท้องร้องโกรกกราก (โกรกกราก หมายถึง ชื่อเครื่องมือสำหรับไชไม้ หรื กระบอกไม้ไผ่หลักปักอยู่กลางเติ่งสำหรับทอดดวด) หาก กานต์พิชชา ปรับแก้ได้ก็จะช่วยลดความผิดพลาดลง ซึ่งทำให้เรื่องน่าอ่านและถูกต้องสมบูรณ์มากขึ้น อ่านน้อยลง
bluewhale | 24 มิ.ย. 57
3
0
"วิจารณ์จาก Bluewhale"
(แจ้งลบ)นวนิยายแนวซึ้งกินใจ จำนวน 40 ตอนจบ เรื่อง เสน่หาซาตาน ของ กานต์พิชชา เป็นเรื่องราวความรักระหว่างอลงกรณ์หรือกรณ์ ผู้บริหารหนุ่มของโรงแรมมณีจันท์ กับ สุรัชชา หรือ เอย หญิงสาวที่เขาต้องมีเหตุให้ทะเลาะกับเธอทุกครั้งที่เจอหน้า แต่พวกเขาทั้งสองต้องโคจรมาพบกันอีกครั้งในฐานะเจ้านายหนุ่มกับเลขาสาว และทำสัญญาเป็นแฟนกำมะลอเพื่อแก้ปัญหาการถูกคลุมถุงชนจา ... อ่านเพิ่มเติม
นวนิยายแนวซึ้งกินใจ จำนวน 40 ตอนจบ เรื่อง เสน่หาซาตาน ของ กานต์พิชชา เป็นเรื่องราวความรักระหว่างอลงกรณ์หรือกรณ์ ผู้บริหารหนุ่มของโรงแรมมณีจันท์ กับ สุรัชชา หรือ เอย หญิงสาวที่เขาต้องมีเหตุให้ทะเลาะกับเธอทุกครั้งที่เจอหน้า แต่พวกเขาทั้งสองต้องโคจรมาพบกันอีกครั้งในฐานะเจ้านายหนุ่มกับเลขาสาว และทำสัญญาเป็นแฟนกำมะลอเพื่อแก้ปัญหาการถูกคลุมถุงชนจากครอบครัวของทั้งคู่ เรื่องราวความรักกำมะลอครั้งนี้จะลงเอยอย่างไร ต้องติดตามต่อไป เสน่หาซาตาน ยังคงมีเนื้อหาและแนวเรื่องไม่ต่างจากนวนิยายแนวนี้เรื่องอื่นๆ จึงไม่สร้างความแปลกใหม่และแปลกใจให้กับผู้อ่านเท่าใดนัก ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเรื่องให้พระเอกกับนางเอกไม่ชอบหน้ากัน ทะเลาะกันทุกครั้งที่เจอหน้า แต่เมื่อมีเหตุการณ์บังคับให้ต้องทำงานร่วมกัน ทัศนคติด้านลบที่มีต่อก็ค่อยๆ จางหายไป พัฒนาขึ้นมาเป็นความผูกพันและความรักในที่สุด แต่ก็ต้องมีเหตุให้เข้าใจผิด มีอุปสรรคเข้ามาทดสอบความสัมพันธ์ของคนทั้งคู่ แต่ท้ายที่สุดก็ลงเอยด้วยความรักและความเข้าใจ นอกจากนี้ยังพบว่านวนิยายแนวนี้เรื่องใดก็ตามที่ชื่อเรื่องมีคำว่า “ซาตาน” พระเอกจะกลายเป็นตัวละครตามแบบฉบับของนิยายแนวนี้ไปแล้ว คือ หล่อ รวย ขี้หึง หูเบา ไม่มีเหตุผล และชอบลงโทษนางเอกให้เจ็บช้ำทั้งร่างกายและจิตใจ ขณะที่นางเอกจะต้องตกเป็นจำเลยหัวใจที่รอบรับการลงทัณฑ์ที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลของพระเอกต่างๆ นานา ซึ่งไม่ว่าพระเอกจะลงโทษตนเองครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไร แต่ที่สุดแล้วนางเอกก็สามารถให้อภัยได้ทุกครั้งด้วยเหตุผลของคำว่ารัก จนดูประหนึ่งว่าพระเอกของนวนิยายแนวนี้เป็นซาดิสม์ (ความสุขหรือความพึงพอใจในความเจ็บปวดหรือความทุกข์ของผู้อ่าน) ในขณะที่นางเอกก็พึงพอใจในความเป็นมาโซคิสม์ของตน (ความสุขและความพอใจเมื่อไดรับความเจ็บปวดกับตัวเอง หรือ การถูกตบตี การถูกเหยียดหยาม การถูกผูกมัด หรือการถูกทรมาน) อีกทั้งยังพบว่า นวนิยายเรื่องนี้ กานต์พิชชา กับการสร้างภาพให้กรณ์เป็นซานตานอย่างเต็มรูปแบบ จึงทำให้เนื้อเรื่องกว่าครึ่งเรื่องเน้นฉากการลงทัณฑ์ของกรณ์ที่กระทำกับเอย (โดยอ้างว่าทำไปเพราะพิษรักแรงหึง) ซึ่งเหตุการณ์ส่วนใหญ่จึงเป็นการสร้างขึ้นที่เป็นตัวจุดชนวนให้พระเอกโกรธ จนนำไปสู่การลงโทษนางเอกต่างๆ นานา และมักไม่ค่อยสมเหตุผลเท่าใดนัก และบ่อยครั้งยังพบว่า กรณ์ ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ นับว่าขัดกับที่ภูมิหลังของตัวละครที่ผู้เขียนปูเรื่องไว้ในตอนต้นเรื่องว่าว่า กรณ์ เป็นผู้บริหารหนุ่มที่มีความสามารถ จนพ่อแม่ไว้ใจให้บริหารของครอบครัว ซึ่งเป็นโรงแรมใหญ่เก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ ในเรื่องนี้พบว่า กานต์พิชชา ใช้ความบังเอิญเป็นกลวิธีในการดำเนินเรื่องบ่อยมาก ทั้งการสร้างเหตุการณ์ ปมปัญหา อาทิ เปิดเรื่องโดยให้กรณ์กับเอยเดินชนกันตลอดเวลา ต้องให้กรณ์ไปพบเอยอยู่กับชายอื่นเสมอ หรือเอยมักจะเห็นว่ากรณ์อยู่กับหญิงอื่น จนเป็นเหตุให้ทั้งคู่ไม่เข้าใจกัน แม้การคลี่คลายปมปัญหาต่างๆ ก็ยังอาศัยเหตุบังเอิญ เช่น การเปิดเผยแผนชั่วร้ายระหว่างเอ็มและนาถที่ร่วมมือกันทำลายความรักของกรณ์กับเอย ก็มีเหตุให้อิงอรและไกรสรไปเที่ยวที่เดียวกัน และพบว่าแท้ที่จริงแล้วนาถและเอ็มรู้จักและเป็นคู่รักกันมาก่อน หรือการไปช่วยเอยจากเอ็ม ก็บังเอิญให้ไกรสรรู้จักผู้จัดการคอนโดของเอ็ม จนทำให้พวกเขาเข้าคอนโดไปช่วยเอยได้ หรือ ให้ฟางเป็นเพื่อนกับเจ้าของร้านแมกไม้ ร้านที่เอ็มหลอกพาฟางไปกินข้าวและวางยา เมื่อกรณ์ส่งภาพที่เอ็มประคองเอยที่มีคนส่งมาให้เข้าทางมือถือให้ฟางดู ฟางจึงรู้ว่าภาพนี้ถ่ายที่ใด และโทรไปสอบถามเพื่อนและเด็กที่ร้านจนได้ข้อมูลที่สร้างความกระจ่างให้กรณ์ได้ ดังนั้นจึงเห็นว่าผู้เขียนน่าจะใช้กลวิธีอื่นๆ มาใช้บ้างก็จะทำให้การเขียนมีมุมมอง มีมิติ และความน่าสนใจให้นวนิยายเรื่องนี้ได้มากยิ่งขึ้น ข้อสังเกตประการหนึ่งที่พบคือ ความสัมพันธ์ของตัวละครในเรื่องนี้ดูยุ่งเหยิงและสร้างความสงสัยให้ขณะที่อ่านอย่างมาก โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่าง กรณ์ เอย ฟาง นาถ และ เอ็ม ผู้วิจารณ์เห็นว่าผู้เขียนสามารถลดความสับสนและลดข้อสงสัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครกลุ่มนี้ได้ และจะช่วยสร้างให้ตัวละครมีที่มาที่ไปได้ชัดเจนขึ้น ถ้า กานต์พิชชา กำหนดให้ตัวละครทุกตัวรู้จักกันมาก่อน ไม่ใช่กำหนดให้บางคนรู้จักบางคนและไม่รู้จักบางคนดังที่ปรากฏในเรื่องขณะนี้ กล่าวคือ เรื่องราวจะมีเหตุผลปละที่มาที่ไปที่หนักแน่นกว่าถ้าเปิดเรื่องเปิดเรื่องให้เอยและกรณ์ไม่ชอบหน้ากันมาตั้งแต่กรณ์จีบฟางที่เป็นเพื่อนสนิทเอย ซึ่งความไม่ชอบหน้าในครั้งนั้นส่งผลมาถึงในปัจจุบัน แทนที่จะเปิดเรื่องให้คนที่ไม่รู้จักกันสองคนมีเหตุให้เดินชนกันสามครั้ง และต่างมีเรื่องต่อว่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่ชอบหน้ากันในเวลาต่อมา หรือในกรณีของนาถที่ผู้เขียนกำหนดให้เธอเป็นเพื่อนนักเรียนของกรณ์กับฟางอยู่แล้ว จึงไม่แปลกหากผู้เขียนจะให้เอยรู้จักกับนาถมาก่อน ซึ่งนี่อาจจะเป็นเหตุให้นาถรู้สึกโกรธและเกลียดเอยจนอยากจะกำจัด เพราะเอยทำให้เธอรู้สึกว่าเป็นศัตรูหัวใจที่ไม่คู่ควรกับกรณ์ ขณะเดียวกันก็ทำให้เธอรู้สึกพ่ายแพ้ต่อพวกเอยครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ว่าจะแพ้ฟางที่เป็นเพื่อนเอย และเธอต้องมาแพ้เอย คนที่เคยเป็นไม้เบื่อไม้เมากับกรณ์ กลายมาเป็นแฟนกรณ์ แทนที่จะเป็นเธอเพื่อนที่แสนดีของกรณ์ (ซึ่งดูจะสมเหตุผลมากกว่าที่ให้ทั้งสองคนเพิ่งเจอกันดังในเรื่อง) หรือ ขณะเดียวกันเมื่อเรื่องเอ็มกำหนดให้เอ็มเป็นรุ่นพี่ของฟางและเอย จึงไม่แปลกที่เอ็มจะเป็นเพื่อนหรือรุ่นพี่ของกรณ์ด้วย เพราะต่างก็เรียนด้วยกันมา ดังนั้น หากเอ็มจะเกลียดกรณ์ นอจกากในฐานะศัตรูทางธุรกิจแล้ว ยังเพิ่มการเป็นศัตรูหัวใจเข้าไปอีกก็น่าที่จะยอมรับได้ เพราะตลอดเวลาตั้งแต่เรียนเอ็มแสดงให้เห็นว่าแล้วว่าเขารักเดียวใจเดียวกับเอยมาตลอดถึงปัจจุบัน แต่กลับต้องมาพ่ายแพ้ให้กับกรณ์อดีตคู่ปรับที่ไม่เคยเห็นค่าเอยมาก่อน แต่กลับสามารถแย่งเอยไปจากเอ็มได้ในเวลาอันสั้น ในการสร้างเหตุการณ์นั้น พบว่าบ่อยครั้งที่ กานต์พิชชา สร้างเหตุการณ์ไม่ต่อเนื่องกัน ตอนที่ 5 ขณะที่ฉากกำลังดำเนินเรื่องอยู่ในห้องนอน อยู่ๆ ก็เปลี่ยนเป็นฉากหน้าบ้าน อย่างไม่มีต้นสายปลายเหตุ หรือ ตอนที่ 38 ที่ให้โจรเข้ามาทำร้ายและจับตัวกรณ์และเอยไว้ จนดูเหมือนว่าในตอนนั้นมีแค่เอยกับกรณ์อยู่บ้านกันสองคนเท่านั้น แต่ฉากก่อนหน้านั้นผู้เขียนกำลังเล่าว่า กรณ์ ไกรสร และ อิงอร ออกไปคุยกันข้างนอกบ้าน ขณะที่ปล่อยให้เอยนอนหลับข้างในบ้าน แล้วกรณ์เพิ่งเปิดประตูบ้านเข้ามาเมื่อได้ยินเสียงเหมือนเอยตื่นแล้ว แต่พอกรณ์และเอยออกไปนอกบ้านก็ถูกโจรจับตัวไว้ในทันที โดยที่ผู้เขียนได้ตัดไกรสรกับอิงอรออกจากฉากนี้ไปเลย ต่อมาในตอนที่ 39 ผู้เขียนก็ให้ไกรสรกลับเข้ามาในฉากอีกครั้งพร้อม ตำรวจ และ อรรถพล (พี่ชายของเอย) ที่บทก่อน หน้านั้นผู้เขียนเล่าว่ากำลังขับรถพาแม่มาหาเอย แต่ในฉากนี้อยู่ๆ แม่เอยก็หายไป และต่อมาผู้เขียนกลับให้แม่เอยเข้ามาพร้อมๆ กับพ่อแม่ของกรณ์ (ที่ไม่ไปปูเรื่องไว้ก่อนเลยว่าทั้งคู่จะมาที่เชียใหม่ด้วย อีกทั้งยังพบว่าบางครั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็ขัดแย้งกันเอง เช่น ในตอนที่ 24 กรณ์บอกเอยอย่างชัดเจนแล้วว่านาถจะไปทำงานที่เชียงใหม่ด้วยกัน แต่ในบทที่ 27 กลับให้เอยต่อว่ากรณ์ว่า ทำไมเขาไม่บอกเธอว่านาถจะมาที่นี่ จึงอยากให้ผู้เขียนลองกลับอ่านทบทวนเรื่องอื่นครั้ง เพื่อแก้ไขความลักลั่นของเหตุการณ์เหล่านี้ลง สำหรับการสร้างบทบรรยายและบทสนทนานั้นพบว่า กานต์พิชชา สามารถสร้างทั้งบทบรรยายและบทสนทนาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการสื่อความ สร้างอารมณ์ สร้างความน่าติดตาม และสร้างความลื่นไหลของเรื่องได้ อย่างไรก็ดี เห็นว่าผู้เขียนควรตัดอีโมติคอนที่ผู้เขียนแทรกไว้ 2 แห่งในเรื่องออก เพราะอีโมติคอนดังกล่าวดูจะแปลกแยกจากเนื้อเรื่องโดยองค์รวม และไม่ได้เป็นส่วนสำคัญต่อเรื่องด้วย สิ่งที่ควรปรับปรุงอีกประการคือคำผิด เนื่องจากในเรื่องมีคำผิดเป็นจำนวนมาก ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ อาทิ การสะกดผิด เช่น เซ็น เขียนเป็น เซนต์ อยู่ เขียนเป็น ยู่ ว้าย เขียนเป็น ว๊าย ฟัง เขียนเป็น ฝัง พรรณนา เขียนเป็น พรรณา ท่อง เขียนเป็น ถ่อง สำหรับ เขียนเป็น สำกรับ สะเพร่า เขียนเป็น สัพเพร่า คาดการณ์ เขียนเป็น คาดการ ร้อนระอุ เขียนเป็น รอนระอุ ลมพัด เขียนเป็น ลมพัก ช็อต เขียนเป็น ช๊อต มั้ง เขียนเป็น มั๊ง ฟิวล์ เขียนเป็น ฟิลด์ ช่าง (หมายถึง ล่อง วางธุระ เช่น ช่างคลาย) เขียนเป็น ชั่ง (กระทำให้รู้น้ำหนักโดยใช้เครื่องชั้นหรือตราชูเป็นต้น) ผลักไส เขียนเป็น ผลักใส มารยาท เขียนเป็น สารยาท อาภรณ์ เขียนเป็น อาภร บอดี้การ์ด เขียนเป็น บอดีการ์ด เสเพล เขียนเป็น เลเพล สะโหลสะเหล เขียนเป็น สโลเล อากัปกิริยา เขียนเป็น อากับกริยา กางเกงยีนส์ เขียนเป็น กางเกงยีน แอปเปิ้ล เขียนเป็น แอบเปิ้ล ม้า เขียนเป็น ม๊า อิสรภาพ เขียนเป็น อิสระภาพ พลัน เขียนเป็น พลัย สาธารณชน เขียนเป็น สาธารณะชน เลี่ยน เขียนเป็น เลื่อน ล็อค เขียนเป็น ล๊อค สาบเสื้อ เขียนเป็น สาปเสื้อ ว้าว เขียนเป็น ว๊าว เลิ่กลั่ก เขียนเป็น เลิกลัก บูดบึ้ง เขียนเป็น บูดบึ่ง สัญชาตญาณ เขียนเป็น สัญชาติญาณ ร่ำไห้ เขียนเป็น ล่ำไห้ ครู่ เขียนเป็น ครุ่ ว้า เขียนเป็น ว๊า น่าเกลียด เขียนเป็น น่าเกียจ นานาพันธุ์ เขียนเป็น นานาพันธ์ ทรมาน เขียนเป็น ทรมาร สะใภ้ เขียนเป็น สะไภ้ ทำไม เขียนเป็น ทำใม ล่าม เขียนเป็น ร่าม ฤทธิ์ เขียนเป็น ฤทธ์ เจ้าเล่ห์ เขียนเป็น เจ้าแหล่ ความห่วงใย เขียนเป็น ความใย สันดาน เขียนเป็น สัญดาน เนอะ เขียนเป็น เน๊าะ ณ เขียนเป็น ณ. ย่างกราย เขียนเป็น ย่ำกราย เยียวยา เขียนเป็น เยี่ยวยา ทริปทัวร์ เขียนเป็น ทริบทัวร์ เอ้อระเหย เขียนเป็น เอ้อละเหย โสเภณี เขียนเป็น โสเพณี ใส่หน้ากาก เขียนเป็น สากหน้ากาก โซฟา เขียนเป็น โชว์ฟา เศร้าโศก เขียนเป็น เศร้าโศรก ทิฐิ เขียนเป็น ฐิถิ ประจันหน้า เขียนเป็น ประจันหน้า ช็อปปิ่ง เขียนเป็น ช๊อปปิ้ง หนาว เขียนเป็น หนาก ทรมาน เขียนเป็น ทรมาณ พิมพ์ใจ เขียนเป็น พิมใจ แอบแฝง เขียนเป็น แอบแผง เดรัจฉาน เขียนเป็น เดรัชฉาน เคลือบแคลง เขียนเป็น เคลิบแคลง จะสมหวัง เขียนเป็น สะสมหวัง คุโชน เขียนเป็น ครุโชน สุนทรีย์ เขียนเป็น สุนทรี พิมพ์ เขียนเป็น พิมพิ์ การใช้คำผิดความหมาย เช่น หลายกัณฑ์ (หมายถึงกัณฑ์เทศน์) เขียนเป็น หลายกัณฐ์ (กัณฐ์ หมายถึง คอ) การออกแบบโรงแรมเต็มไปต้องยกความดีให้วิศวกร ควรใช้คำว่า สถาปนิก แทน (สถาปนิกเป็นคนออกแบบโรงแรม แต่วิศวกร เป็นผู้คุมการก่อสร้างโรงแรม) เส้นยาแดงผ่าแปด เขียนเป็น เส้นใยแดงผ่าแปด แม่สามี เขียนเป็น แม่ย่า ย่างสามขุน เขียนเป็น ย่างขุม ปิดไม่มิด เขียนเป็น ผิดไม่มิด ประจวบเหมาะ เขียนเป็น ประตวบเหมาะ สถานการณ์ตึงเครียด เขียนเป็น สถานะตึงเครียด ท้องร้องโครกคราก (โครกคราก หมายถึง เสียงท้องร้องดัง) เขียนเป็น ท้องร้องโกรกกราก (โกรกกราก หมายถึง ชื่อเครื่องมือสำหรับไชไม้ หรื กระบอกไม้ไผ่หลักปักอยู่กลางเติ่งสำหรับทอดดวด) หาก กานต์พิชชา ปรับแก้ได้ก็จะช่วยลดความผิดพลาดลง ซึ่งทำให้เรื่องน่าอ่านและถูกต้องสมบูรณ์มากขึ้น อ่านน้อยลง
bluewhale | 24 มิ.ย. 57
3
0
ความคิดเห็น