ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภัยร้ายที่มาพร้อมอีเมล์ส่งความรักใน วันวาเลนไทน์

    ลำดับตอนที่ #3 : การศึกษายุคไอที

    • อัปเดตล่าสุด 18 ก.พ. 51


    การศึกษายุคไอที

    สมชาย นำประเสริฐชัย

    เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในองค์กรและสถาบันการศึกษาได้อย่างหลากหลายรูปแบบ เห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาในยุคนี้อีกแง่มุมหนึ่ง

    ความรู้คืออะไร

    การตั้งคำถามว่า ความรู้คืออะไร อาจจะเป็นคำถามที่ไม่ค่อยตรงกับใจวัยรุ่นที่คุ้นกับคำถามที่ว่าความรักคืออะไรมากกว่า บ้างก็ว่าความรู้คือประทีป ช่วยส่องสว่างทางปัญญาในการแก้ปัญหาต่าง ๆ บ้างก็ว่าความรู้คือทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุด และเป็นทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวที่ยิ่งใช้แล้วยิ่งพอกพูน บ้างก็ว่าความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนจำเป็นต้องมี ดังนั้นทุกคนจึงพยายามขวนขวายหาความรู้ เช่น การเข้าศึกษาในโรงเรียน การเรียนจากโครงการ ต่าง ๆ รวมถึงอีกหลาย ๆ วิธี
    นอกจากนี้ความรู้หลายแขนงมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา การเรียนรู้จึงไม่มีวันสิ้นสุด และเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นองค์กรหรือ ประเทศต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องสนับสนุนการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคลากรที่นับว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดด้วยกันทั้งสิ้น

    ความรู้คู่ไอที

    ความรู้ไม่มีเพียงแค่ในห้องเรียนหรือสถาบันการศึกษาเท่านั้น ความรู้ความสามารถเรียนรู้จากสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น เรียนรู้จากธรรมชาติ เรียนรู้จาก ประสบการณ์ เรียนรู้จากการทำงานหรือจากผู้ชำนาญก็ได้ มีประโยคหนึ่งของคุณมาช่า วัฒนพานิช ที่เคยให้สัมภาษณ์ว่า คุณมาช่าเอง ก็เรียนรู้ จากมหาวิทยาลัยชีวิตคือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากประสบการณ์ของชีวิตที่ผ่านมา ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้จึงมีหลากหลายขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ในเรื่องของความรู้นั้นความสำคัญอยู่ที่การรู้จริงและการที่สามารถนำมาความรู้มาประยุกต์ใช้ได้ ความรู้ไม่ใช่การท่องทำหรือการตอบคำถามแล้วได้ คะแนนหากเป็นเช่นนั้นก็คงไม่ต่างอะไรกับสุภาษิตที่ว่ามีความรู้ท่วมหัว แต่เอาตัวไม่รอด
    สถาบันการศึกษาเป็นแหล่งความรู้อีกแห่งหนึ่งที่ทุกคนยอมรับ แต่ภาพลักษณ์ของสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่กลับถูกมองเป็นภาพของตัวอาคาร ห้องเรียนและสถานที่ มากกว่าองค์ความรู้ในแขนงต่าง ๆ ที่สถาบันการศึกษานั้นมีความสำคัญของการศึกษาอยู่ที่องค์ความรู้และกระบวนการถ่ายทอด ความรู้ ดังนั้นบทบาทที่สำคัญส่วนหนึ่งของสถาบันการศึกษาคือ การสร้าง รวบรวม และพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนพัฒนาเทคนิคและกระบวนการ ถ่ายทอดความรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดีกว่าการเน้นหรือแข่งขันกันที่ตัวอาคารหรือสถานที่
    ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทกับสังคม สถาบันการศึกษาก็เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ให้ความสำคัญ และมีการลงทุนกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอื่น ๆ ด้วยความเข้าใจที่ว่าเทคโนโลยีคือคำตอบของทุกปัญหา ซึ่งก็มีทั้งประสบความ สำเร็จและล้มเหลว ในส่วนที่ล้มเหลวคือผลตอบแทนที่ได้รับนั้น ไม่คุ้มกับการลงทุน หากพิจารณาให้ดีแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ ในการติดต่อสื่อสารกัน และเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินการตามกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่รับประกันความสำเร็จ ขององค์กร
    ในส่วนของระบบศึกษาจึงต้องเน้นในเรื่องการจัดการความรู้ (Knowledge Management) มากกว่าเน้นการจัดการสารสนเทศ (Management of Information Technology) เพื่อที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายของการเป็นแหล่งองค์ความรู้และองค์กรในการถ่ายทอดความรู้ สถาบันการศึกษาสามารถ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อบรรลุเป้าหมายได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้เทคโนโลยีเว็บในการเผยแพร่ความรู้ Search Engine ใน การค้นหาข้อมูลที่ต้องการระบบฐานข้อมูลในการเก็บองค์ความรู้ ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนต์ในการถ่ายทอดความรู้ทางไกล ในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษา หลายแห่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนในโครงการต่าง ๆ เช่น eUniversity, eLibrary, eClassroom, eLearning หรือ Itcampus เป็นต้น ฐานข้อมูลสำหรับอ้างอิงที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการเรียนและวิจัย


    ระบบการศึกษาปัญหาอยู่ที่ไหน

    รัฐบาลชุดที่ผ่านมามีนโยบายการปฏิรูปการศึกษา นอกจากมีโครงการสกูลเน็ตเป็นศูนย์กลางการศึกษา และยังเป็นการช่วยกระตุ้นและส่งเสริม การศึกษาของเยาวชนไทยแล้ว ยังมีแนวคิดที่จะนำเรื่องของ e ต่าง ๆ มาใช้กับระบบการศึกษาไทยซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่การดำเนินการ ทุกสิ่งย่อมมีอุปสรรคและปัญหา ดังนั้นความสำเร็จของโครงการต่าง ๆ จะเป็นอย่างไรนั้นเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป
    รัฐบาลชุดปัจจุบันได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการหรือที่เรียกกันว่า เวิร์คชอปเกี่ยวกับการศึกษาที่จัดขึ้นเมื่อปลายเดือนเมษายนเป็นเรื่อง หนึ่งที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากจนถึงกับกล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลเวิร์คชอป ในส่วนนี้คงไม่ออกความคิดเห็น แต่ประเด็นหนึ่งที่อยากจะ นำเสนอคือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพียงอย่างเดียวนั้นคงไม่ใช่การแก้ปัญหาการศึกษาให้ดีได้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่คำตอบของปัญหา การศึกษาไทย เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือเสริมในระบบการศึกษาเท่านั้น บทเรียนในอดีตเกี่ยวกับการใช้นำเทคโนโลยีมาใช้กับระบบการศึกษา ไทยมีอยู่มากมาย แต่ไม่ได้ต่อต้านหรือคัดค้านว่าเทคโนโลยีไม่สำคัญกับการพัฒนา
    ระบบการศึกษาของไทยคงต้องส่งเสริมให้มีการทำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ด้วยซ้ำไป แต่สิ่งหนึ่งที่ผมต้องการและให้ความสำคัญมากกว่าเทคโนโลยี คือ การพัฒนาคุณภาพของบุคลากรให้ดียิ่งขึ้น เพราะหากมีเทคโนโลยีที่ดีแล้วแต่ขาดบุคลากรที่สามารถใช้เทคโนโลยีนั้นได้ก็ไม่สามารถบรรลุได้อย่าง แน่นอน ดังนั้นก่อนที่จะมีการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยี จึงจำเป็นต้องการเพิ่มความรู้ทางด้านเทคโนโลยีแก่บุคลากรเสียก่อน
    หากจะพิจารณาย้อนไปที่ระบบการเรียนกวดวิชาของนักเรียนมัธยมปลายที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย หรือนักศึกษาที่เรียนกวดวิชาภาษา อังกฤษเพื่อใช้สอบสำหรับศึกษาต่อต่างประเทศล้วนแล้วแต่ต้องเรียนผ่านระบบทีวีวงจรปิดหรือวิดีโอเทป นอกจากนี้ยังไม่มีการบังคับว่าจะต้อง เข้าเรียนด้วย ทำไมระบบดังกล่าวจึงยังเป็นที่ยอมรับและนักเรียนส่วนใหญ่บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ คำตอบที่ชัดเจนมากที่สุดคือ ความมุ่งมั่นและ วินัจของผู้เรียน ดังนั้นปัญหาการเรียนรู้ส่วนหนึ่งมาจากวินัยและความมุ่งมั่นของผู้เรียนเองด้วย
    เมื่อเอ่ยถึงการเรียนในชั้นเรียนของไทยแล้ว ทุกคนมักนึกภาพห้องเรียนที่มีคุณครูยืนอยู่หน้าชั้นแล้วบ่นอะไรไปเรื่อย ๆ นักเรียนหลังห้องก็หลับบ้าง คุยกันบ้าง มีนักเรียนตั้งใจเรียนกันอยู่หน้าห้องไม่กี่คน ซึ่งบรรยากาศอย่างนี้ไม่ใช่บรรยากาศในการเรียนรู้เลย เมื่อผู้เรียนรู้สึกไม่สนุกกับการเรียน ผู้สอนรู้สึกเบื่อหน่ายกับการสอนได้แต่นับเวลาให้ผ่านไปแต่ละชั่วโมงแล้วจะให้การเรียนบรรลุผลคงเป็นไปไม่ได้ แม้ว่ามีนโยบายการให้นักเรียนเป็น ศูนย์กลางการเรียนรู้แล้วก็ตาม แต่รูปแบบการศึกษาส่วนใหญ่ก็คงเหมือนเดิม โรงเรียนกวดวิชาต่าง ๆ นำปัญหาในการถ่ายทอดความรู้นี้เองมาเป็น จุดขาย โรงเรียนกวดวิชาที่ไหนสอนแล้วผู้เรียนรู้สึกว่าสนุก ไม่เบื่อหน่าย ก็จะมีการจับจองในการเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นรูปแบบของการถ่ายทอด ความรู้จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาของระบบการศึกษาไทย

    แนวความคิด eEducation

    การใช้คำว่า eEducation เพื่อแทนระบบการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยเน้นการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เชื่อมโยงให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ และกระจายการใช้งานอย่างทั่วถึงแทนการใช้คำว่า eUniversity ที่เสมือนกับการเน้นที่ส่วนของมหาวิทยาลัยเท่านั้นคือ eLearning ที่หลาย ๆ คนพิจารณารับเอาการศึกษาในส่วนของผู้เรียนเป็นหลัก
    การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนระบบการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ทั้งส่วนของ การเรียนแบบปกติที่เน้นการศึกษาในห้องเรียน และระบบการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง (หรือหลายคนเรียกส่วนนี้ว่า eLearning) ให้ผู้เรียน สามารถเรียนจากที่ใดหรือเมื่อใดก็ได้ที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ เช่น ระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย มีโฮมเพจประจำวิชา ผู้เรียนสามารถ ทำแบบฝึกหัด ทำรายงานผ่านโฮมเพจของตนใช้ระบบห้องสนทนาพูดคุยในวิชาการ มีกระดานข่าวในการโต้ตอบในวิชาการที่เรียน ใช้ระบบอีเมล์ใน การส่งคำถามคำตอบหรือสื่อสารต่าง ๆ

    eEducation ฝันที่เป็นจริงหรือเลื่อนลอย

    ระบบหรือรูปแบบของการศึกษาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในส่วนของเทคโนโลยีนั้นสามารถทำได้ และปัจจุบันก็มีตัวอย่างอยู่จำนวนไม่น้อย รวมทั้งมี สถาบันการศึกษาประเภทที่เรียกว่ามหาวิทยาลัยไร้ตัวตน (Virtual University) รวมอยู่ด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระยะทางหมดความหมาย กิจกรรมต่าง ๆ สามารถทำร่วมกันได้ การค้นหาข้อมูลทำได้สะดวก การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นแบบทันทีทันใด และเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ ระบบการทำงานต่าง ๆ ขยายตัวและสามารถให้บริการได้ 24 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด
    ปัจจุบันสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ของไทยยังใช้รูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน ซึ่งนับว่าเป็นรูปแบบของการถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่สุดเมื่อ เปรียบเทียบกับรูปแบบต่าง ๆ แต่เมื่อมีการประเมินผลสิ่งที่ได้นั้นกลับยังไม่เป็นที่พอใจ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนและปรับปรุงนโยบายการศึกษาอยู่ทุก ยุคทุกสมัย เช่น นโยบายที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนแทน หากให้พิจารณาถึงปัญหาแล้วในส่วนของผู้สอนผู้เรียน และรูปแบบการถ่ายทอด ความรู้มีความสำคัญมากที่สุด หากสามส่วนนี้ไม่มีการปรับปรุงแล้วต่อให้นำเทคโนโลยีหรืออะไรมาช่วยก็ไร้ผล เช่น หากผู้สอนและผู้เรียนไม่เห็น ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือผู้สอนไม่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ที่ดีได้แล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็ไร้ประโยชน์ทางการศึกษา อินเทอร์เน็ตอาจจะกลายเป็นสิ่งที่สร้างปัญหา และสิ่งที่ทำลายระบบเวลาการเรียนรู้ก็ได้ กระดานข่าวอาจกลายเป็นเครื่อง มือในการระบายอารมณ์หรือต้นตอแห่งการทะเลาะวิวาท และอื่น ๆ อย่างที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน

    การก้าวเข้าสู่ eEducation

    ระบบการศึกษาไทยยังไม่ต้องถึงขั้นที่ต้องเปลี่ยนไปเป็นมหาวิทยาลัยแบบไร้ตัวตน หรือใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทุก ๆ เรื่อง เพียงแค่สถาบัน การศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแล้วให้เกิดประสิทธิภาพทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้นก็นับว่าเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งแล้ว ดังนั้นคำว่า eEducation ในหมายความของผมจึงเป็นการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการศึกษาให้มี ประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
    เมื่อระบบการศึกษามีการนำเทคโนโลยีไอทีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุน จึงมีความจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อม เนื่องจากกิจกรรมและรูปแบบ การศึกษามีการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลกระทบต่อนโยบายการบริหารด้วย ดังนั้นใน่วนแรกที่ต้องเปลี่ยนแปลงคือผู้บริหารต้องเปลี่ยนแนวคิดและนโยบาย เช่น เปลี่ยนรูปแบบการขยายการศึกษาด้วยการลงทุนกับอาคารและสิ่งก่อสร้างมาเป็นการลงทุนสร้างองค์ความรู้และเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ ที่มีประสิทธิภาพแทนส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอกับสาขาวิชาต่าง ๆ ที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดความรู้ให้สามารถกระจาย ความรู้ในกลุ่มเป้าหมายได้ในปริมาณที่มากและประหยัด (ไม่ใช่การขยายฐานความรู้ในรูปแบบของวิทยาเขต แล้วใช้ระบบอาจารย์วิ่งรอกหรือเดินสาย สอน) ส่งเสริมสนับสนุนให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา สร้างจิตสำนึกและค่านิยมที่ดีในการศึกษา เช่น กระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่ต้องแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ต้องการด้วยตนเองมากขึ้น

    ก้าวทีละขั้นสำหรับ eEducation

    สถาบันการศึกษาใหม่สามารถใช้รูปแบบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเต็มที่ตั้งแต่เริ่มแรก แต่สำหรับสถาบันการศึกษาเก่าที่มีรูปแบบและ วัฒนธรรมเดิมของตนเองอยู่แล้วก็คงต้องค่อย ๆ เริ่มปรับเปลี่ยนทีละน้อย โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือหรือส่วนสนับสนุนก่อน โดยอาจจะเริ่มจากส่วนที่มีความพร้อมก่อน เช่น ส่วนของการประชาสัมพันธ์ ส่วนการดำเนินการทางด้านทะเบียนนักศึกษา ส่วนการจัดการทางด้าน การเงินและบริการต่าง ๆ ที่สามารถนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาสนับสนุนและอำนวยความสะดวกได้
    สำหรับในส่วนของหน้าที่หลักของสถาบันการศึกษา คือ การสร้างองค์ความรู้กับการถ่ายทอดความรู้ในการสร้างบุคลากรนั้น สถาบันการศึกษาต้อง เป็นผู้สร้างองค์ความรู้และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านวิชาการ เช่น สนับสนุนงานการค้นคว้าวิจัย เพื่อสร้างศักยภาพของผู้สอนให้มีประสบการณ์ จริงมากขึ้น แทนการสอนจากการอ่านจากตำราอย่างเดียว งานบัณฑิตศึกษาต้องเน้นทั้งคุณภาพและปริมาณ วินัย ทักษะ คุณธรรม เป็นสิ่งที่สถาบัน การศึกษาต้องช่วยเสริมให้กับบัณฑิตสถาบันการศึกษา ต้องเตรียมความพร้อมในส่วนของเครื่องมืออำนวยความสะดวก ในการดำเนินกิจกรรม การศึกษาด้วย เช่น เครื่องมือช่วยเพิ่มขีดความสามารถเชิงการคำนวณ การเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมากและรวดเร็ว การวิเคราะห์ข้อมูล การเผยแพร่ และสร้างระบบการเชื่อมโยงกับนักวิจัยอื่นทั่วโลก
    การถ่ายทอดความรู้และการกระจายโอกาสทางการศึกษาสถาบันการศึกษา ต้องสามารถนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุน ให้สามารถ ถ่ายทอดและกระจายความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมากและรวดเร็ว รูปแบบที่นำเสนอนั้นต้องสนุก น่าสนใจ โดยการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาประยุกต์ได้ เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบวิดีโอ เป็นต้น
    นอกจากนี้สถาบันการศึกษาต้องมีกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ โดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุน ในการเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น มีระบบวิทยุบนเครือข่าย โฮมเพจทางวิชาการที่จะช่วยทำให้เสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษา
    การก้าวสู่ eEducation ให้บรรลุความสำเร็จเป็นเรื่องไม่ง่าย ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผน ไม่ใช่ทำเพียงอยากทำหรือทำเป็นแฟชั่นเท่านั้น สมาชิกทุกคน ในสถาบันการศึกษาล้วนแล้วแต่มีส่วนร่วมและบทบาทในเรื่องของ eEducation ทั้งสิ้น ไม่ใช่เพียงหน้าที่ของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น ทุกคนสามารถ สร้างองค์ความรู้สามารถนำเสนอความคิดเห็น และเรียนรู้สิ่งที่ต้องการและเป็นประโยชน์จากระบบนี้ได้

    สรุป

    นโยบายการศึกษาที่จะมีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ แม้เป็นสิ่งที่ดีและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ตาม การประยุกต์ให้เกิดความ เหมาะสมกับการใช้งานในการศึกษาไทยเป็นสิ่งที่ต้องการมีการวางแผนและเตรียมการให้ดี การเตรียมปัจจัยต่าง ๆ และความพร้อมในการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างพื้นฐานองค์ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้ รวมถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนแนวทาง ปฏิบัตินั้นต้องสามารถให้ดำเนินการได้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงนโยบายหรือโครงการที่ดูหรูเลิศแต่ไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้ ตลอดจนผู้บริหารและ ผู้ร่วมโครงการต้องมีความจริงใจไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ที่แอบแฝงบางประการ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ระบบ eEducation เป็นจริงได้ แต่หากขาด ความพร้อมแล้วก็คงเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าอีกโครงการหนึ่ง
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×