ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามเย็น,ความขัดแย้ง,การสานประโยชน์ทางการเมือง

    ลำดับตอนที่ #7 : สงครามอินโดจีน

    • อัปเดตล่าสุด 15 ต.ค. 52


    เวียดนาม: สถานการณ์เริ่มมาจากขบวนการเวียดมินห์ภายใต้การนำของ โฮจิมินห์ ได้เคลื่อนไหวต่อต้านฝรั่งเศสและญี่ปุ่นที่เข้ายึดครองเวียดนามในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสได้กลับเข้าไปมีอำนาจในคาบสมุทรอินโดจีน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสอีกครั้ง โฮจิมินห์ได้ร้องขอให้สหรัฐฯช่วยเหลือในการเจรจากับฝรั่งเศสแต่สหรัฐฯได้นิ่งเฉยเพราะมีความเกรงใจฝรั่งเศส โฮจิมินห์จึงได้เปลี่ยนไปร้องขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนแทน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับและได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดี และสถานการณ์ในคาบสมุทรอินโดจีนได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อขบวนการเวียดมินห์ที่เดียนเบียนฟู [11] ส่งผลให้ เวียดนาม ลาว เขมรได้รับเอกราช และด้วยความพ่ายแพ้นี้เองทำใหฝรั่งเศสต้องถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ สหรัฐฯ จึงได้ถือโอกาสนี้เข้ามามีบทบาทแทนฝรั่งเศสในภูมิภาคทางเวียดนามใต้นี้
                
     
                    การเข้าไปมีอิทธิพลในเวียดนามใต้ได้นำไปสู่การเกิดขึ้นของขบวนการ เวียดกง ซึ่งการต่อต้านนี้ได้สถานการณ์ได้ลุกลามไปสู่สงครามจำกัด (Limited War) ที่รู้จักกันในชื่อ “สงครามเวียดนาม” โดยการสู้รบในสงครามเวียดนามได้เปลี่ยนโฉมหน้าของการทำสงครามสมัยใหม่ด้วยบทเรียนราคาแพงของสหรัฐฯ นำมาซึ่งการถอนตัวออกจากภูมิภานี้เมื่อ สหรัฐฯ ไม่สามารถสร้างชัยชนะขึ้นได้ในดินแดนเวียดนาม สหรัฐฯได้ใช้เวลานานหลายปี ใช้กำลังพลมหาศาล กองทัพที่เกรียงไกรมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย แต่สูญเสียกำลังพลเกือบจะ 6 หมื่นคนในขณะที่เวียดนามสูญเสียคนไปหลายล้านคน (ในสงครามเวียดนามไทยสูยเสียทหารไป 351 นาย) [12] ในที่สุดสหรัฐฯได้ถอนกำลังทหารออกไปจากภูมิภาคนี้ด้วยปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศของตนเอง ทำให้เวียดนามรวมประเทศเวียดนามเหนือและใต้และปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ ต่อมาในสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน สหรัฐฯได้ประกาศฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ ฯ และเวียดนามขึ้นอีกครั้ง
     
     
    ลาว: หลังจากฝรั่งเศสได้ถอนตัวไปจากภูมิภาคนี้ไปพร้อม ๆ กับการได้รับเอกราชของลาว แต่สถานการณ์ไม่ได้สงบเรียบร้อยตามมาเมื่อ ขบวนการกู้ชาติที่มีความนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ไม่ยอมรวมกับฝ่ายรัฐบาลที่นิยมประชาธิปไตย (เป็นรัฐบาลที่ฝรั่งเศสได้จัดตั้งก่อนจะถอนทหารออก) เลยส่งผลให้สงครามในลาวที่ต่อสู้เพื่อเอกราชเปลี่ยนสถานภาพไปสู่สงครามระหว่างลัทธิ โดยสหรัฐฯได้ให้การสนับสนุนฝ่ายรัฐบาล ในขณะที่ฝ่ายขบวนการกู้ชาติได้รับการสนับสนุนจากพวกเวียดมินห์ แต่ฝ่ายรัฐบาลได้พ่ายแพ้เมื่อสหรัฐฯถอนกำลังออกจากภูมิภาคนี้ ฝ่ายลาวสูญเสียไปประมาณ 5 หมื่นคน
     
     
    กัมพูชา: เมื่อกัมพูชาได้รับเอกราชหลังจากความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในเดียนเบียนฟู ได้ดำเนินนโยบายเป็นกลางเพื่อเอาตัวรอดจากสถานการณ์รอบ ๆ ประเทศพร้อม ๆ กับรับการช่วยเหลือจากทุกฝ่ายทั้งโลกประชาธิปไตยและโลกคอมมิวนิสต์ ต่อมาเมื่อสหรัฐฯไม่สามารถควบคุมการดำเนินการต่างของเจ้าสีหนุในขณะนั้นได้ ทำให้สหรัฐฯสนับสนุนให้มีการปฏิวัติรัฐประหารขึ้น ทำให้เจ้าสีหนุลี้ภัยไปกรุงปักกิ่งและจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นและร่วมมือกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่รู้จักกันในชื่อ “เขมรแดง (Khmer Rouge) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “พรรคคอมมิวนิสต์เขมร” (Khmer Communist Party) หรือ “กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” (National Army of Democratic Kampuchea) คือ พรรคการเมืองกัมพูชาที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ปกครองราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522 [13] ในที่สุดเมื่อสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้รัฐบาลกัมพูชาได้พ่ายแพ้ต่อเขมรแดงและกัมพูชาได้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบสังคมนิยม ในความขัดแย้งนี้มีผู้เสียชีวิตระหว่างสงครามกว่า 7 หมื่นคน และเสียชีวิตเมื่อเขมรแดงที่นำโดยนายพลพต เข้ายึดครองกัมพูชาอีกกว่า 1.5 ล้านคน
     
     
    ไทย:ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นแนวความคิดในเรื่องของการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ได้เริ่มแพร่หลายเข้ามายังประเทศไทย พรรคคอมมิวนิสต์ไทยได้ถือกำเนิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ “ต่อต้านญี่ปุ่นโดยประสานกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน” เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงการเคลื่อนไหวของพรรคมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มแรกเดิมทีได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามต่อมาได้รับการสนับสนุนจากประเทศจีน การขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้ส่งผลให้การดำเนินการของรัฐบาลในสมัยนั้นทำการปราบปรามอย่างรุนแรง มีการออกกฏหมายคือ “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์” ซึ่งมีโทษที่รุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต เมื่อ 6 กรกฎาคม 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้สั่งประหารชีวิต นายศุภชัย ศรีสติ ข้อมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และด้วยการปราบปรามอย่างหนักนี้เองได้ส่งผลให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ นำไปสู่ขั้นการทำสงครามปฏิวัติในที่สุด เมื่อ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ได้เกิดการปะทะที่หมู่บ้านนาบัว ต.เรณู อ.ธาตุพนม จังหวัด นครพนม ระหว่างกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์กับตำรวจส่งผลให้การเริ่มขั้นสงครามปฏิวัติในครั้งนี้รู้จักกันในนาม “วันเสียงปืนแตก”
     
     
                   ในที่สุดรัฐบาลได้อาศัยความร่วมมือกับประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ในการปราบคอมมิวนิสต์ในประเทศ ซึ่งประเทศนั้นคือประเทศจีน เป็นที่ทราบกันดีว่าการก่อความไม่สงบไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดจะสามารถดำเนินการต่อไปได้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ให้การสนับสนุน และในยุคนั้นจีนสามารถกล่าวได้ว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนรายใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เมื่อประเทศไทยสามารถเจรจาขอให้จีนยุติการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้ ประเทศไทยเริ่มดำเนินการกดดันโดยใช้กำลังทหารอย่างหนัก พร้อมทั้งออกนโยบายรองรับให้ผู้หลงผิดวางอาวุธกลับมาเป็นผู้พัฒนาชาติไทย และนโยบายดังกล่าวคือ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 66/23 เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ และ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 65/25 เรื่อง แผนรุกทางการเมือง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้นำพาประเทศไทยไปสู่บรรยากาศแห่งความปรองดองแห่งชาติในที่สุด
     
     
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×