ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามเย็น,ความขัดแย้ง,การสานประโยชน์ทางการเมือง

    ลำดับตอนที่ #5 : การรบแห่งเบอร์ลิน

    • อัปเดตล่าสุด 15 ต.ค. 52


    การรบแห่งเบอร์ลิน เป็นการรบครั้งสุดท้ายของสงครามโลกครั้ง ที่สองในทวีปยุโรป กองทัพอันมหาศาลของสหภาพโซเวียตได้บุกขยี้กรุงเบอร์ลินมาจากทางด้านยุโรป ตะวันออกตั้งแต่ช่วงท้ายเดือนเมษายนไปจนถึงต้นเดือนพฤษภาคมปีค.ศ.1945 ส่งผลให้อดอฟ ฮิตเลอร์กระทำอัตวินิบาตกรรมประเทศเยอรมันต้องยอมแพ้แก่ฝ่ายพันธมิตรในอีก 5วันต่อมาสงครามในยุโรปก็สิ้นสุดลง
    เมื่อเริ่มเข้าสู่ปีค.ศ.1945 สถานการณ์ของแนวรบด้านตะวันออก (Eastern Front) นับว่าคงที่และแน่นอนแล้วว่าฝ่ายเยอรมันไม่สามารถที่จะรุกได้ต่อไป คงได้แต่เป็นฝ่ายถอยอยู่ฝ่ายเดียว ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี ค.ศ.1944ในยุทธการแบ็กเกรชั่น (Operation Bagration) เยอรมันต้องสูญเสียบูดาเปสต์ ( Budapest )เมืองหลวงของฮังการี รวมทั้งประเทศพันธมิตรของตนให้กับสหภาพโซเวียตไป ได้แก่ฮังการี,โรมาเนียและบัลแกเรีย
     
     
    ซึ่งประเทศเหล่านี้เคยเป็นพันธมิตรร่วมในกลุ่มประเทศอักษะ บัดนี้กลับหันไปญาติดีกับโซเวียตเพื่อเอาตัวรอด โดยได้เซนต์สัญญาสงบศึกกับโซเวียต หักล้างกับการประกาศสงครามตอนส่งทหารไปร่วมเหยียบแผ่นดินโซเวียตกับนาซี เยอรมัน แถมตอนนี้ยังหันมาประกาศสงครามกับเยอรมันซะอีก โดยได้ทำการไล่ให้เยอรมันถอยด้วยอาวุธของเยอรมันเอง นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกกองทัพแดง ปล่อยให้เข้าประเทศเพื่อไล่พวกเยอรมันที่กำลังถอย ในขณะเดียวกันกองทัพโซเวียตก็เริ่มบุกมาทางที่ราบสูงโปแลนด์
     
     
    กอง ทัพโซเวียตยึดกรุงวอร์ซอร์เมืองหลวงของโปแลนด์ได้สำเร็จ ในเดือนมกราคมปีค.ศ.1945 หลังจากรอดูการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายเยอรมันกับฝ่ายใต้ดินโปแลนด์ ในการลุกฮือของกรุงวอร์ซอร์( Warsaw Uprising ) ต่อมากองทัพแดงก็เปิดแนวรบขนาดกว้างใหญ่ไพศาล ด้วยกำลังพลถึง 4 กองทัพ บุกผ่านแม่น้ำนาริว และบุกจากวอร์ซอร์ โดยใช้เวลาแค่ 3 วัน อีก 4 วันต่อมากองทัพแดงเคลื่อนพลไปได้ ไกลเป็นระยะทางถึง 30-40กิโลเมตร ภายในวันเดียว สามารถยึดรัฐต่างๆในทะเลบอลติก (Baltic states) อันประกอบไปด้วยดานซิก (Danzig) ปรัสเซียตะวันออก(East Prussia) และโพชแนน (Poznan) บัดนี้กองทัพแดงได้มาอยู่หน้าแม่น้ำโอเดอร์ ห่างจากกรุงเบอร์ลินทางทิศตะวันออกเพียง 60กิโลเมตรเท่านั้น
         การโจมตีตอบโต้ของฝ่ายเยอรมันนั้น ใช้กองทัพที่สร้างขึ้นมาใหม่ที่เรียกว่ากลุ่มกองทัพวิสตูลา (Army Group Vistula) ภายใต้การบัญชาการของนายพลเฮนริกส์ ฮิมเลอร์( Heinrich Himmler )ผู้บัญชาการของหน่วยเอสเอส แต่ก็ประสบความล้มเหลว ในวันที่ 24กุมภาพันธ์ รัสเซียก็สามารถขับไล่เยอรมันออกจากแคว้นโปมีราเนีย (Pomerania)
     
     
    ตั้งแต่วันที่20มีนาคม นายพลก็อดฮารด์ เฮนริกซี่ (Gotthard Heinrici) ได้เข้ามาทำหน้าที่ผู้บังคับบัญชากลุ่มกองทัพวิสตูล่า แทนนายฮิมเลอร์ ก็อดฮารด์ ได้วางแผนป้องกันประเทศที่ดีที่สุด ที่กองทัพเยอรมันในขณะนั้นสามารถทำได้ เขาคาดว่ากำลังหลักของโซเวียตจะต้องรุกมาทางแม่น้ำโอเดอร์ รวมทั้งจากทางตะวันออกตามทางด่วนสำหรับรถยนต์ในเยอรมัน ที่เรียกว่าออโตบาน (autobahn) เขาไม่ได้พยายามป้องกันฝั่งแม่น้ำโอเดอร์แต่อย่างใด จะใช้ก็แต่กำลังส่วนน้อยเข้าต่อสู้อย่างประปราย เพราะก็อดฮารด์ได้สั่งให้ทหารช่างของเขาสร้างป้อมปราการและแนวป้องกันบนที่ ราบสูงซีโลวฟ์ ที่สามารถมองเห็นแม่น้ำโอเดอร์ได้อย่างชัดเจนทำให้ฝ่ายโซเวียตที่คิดจะข้าม แม่น้ำเสียเปรียบ นอกจากนี้ที่ราบสูงซีโลวฟ์ยังเป็นที่ตัดกันกับถนนออโตบานด้วย เขายังให้ทหารช่างสร้างแนวป้องกันนอกแนวป้องกันหลักซึ่งจะเป็นเพียงแนวบางๆ อาศัยชัยภูมิที่อยู่สูงกว่าข้าศึกให้เป็นประโยชน์แก่การรบ ทหารช่างเยอรมันยังได้ใช้น้ำจากแม่น้ำโอเดอร์ปล่อยให้ท่วมใส่ที่ราบ ไปตามทางของแม่น้ำ รวมทั้งหนองบึงที่เกิดจากหิมะละลายในฤดูใบไม้ผลิ เป็นเครื่องป้องกันตามธรรมชาติ ด้านหลังแนวน้ำขังพวกเขาได้สร้างแนวตั้งรับถึง 3 แนวป้องกันชานกรุงเบอร์ลิน
     
     
         ในที่สุดการรบแห่งเบอร์ลินก็สิ้นสุด ลง ใช้เวลาไปสิบสองวัน นับเป็นสัปดาห์นรกของทั้งสองฝ่ายโดยแท ้เพราะได้ทำการรบกันอย่างหนัก เยอรมันได้เก็บเสบียงและอาวุธไว้จำนวนมากนอกแนวตั้งรับ ( ในวงล้อม )ทำให้โซเวียตยึดได้ในช่วงต้นๆของการรบ การรบในเมืองทำให้ฝ่ายโซเวียตต้องสูญเสียยานเกราะไปกว่า 2,000คันส่วนฝ่ายเยอรมันเสียรถถังไปจำนวนหนึ่ง ( จวนจะหมดประเทศแล้ว ) ภายในเมืองหลวงทหารโซเวียตได้ทำการ แก้แค้น ที่ทหารนาซีได้เคยกระทำกับแผ่นดินแม่ของตน ด้วยการปล้นสะดมหรือขโมย( เพราะเจ้าของบ้านไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว )และตั้งแก๊งกันข่มขืนผู้หญิงเป็นจำนวนมาก ทั้งยังทำการฆาตกรรมสังหารประชาชน ในตอนแรกพวกนายทหารแดงเหล่านี้ได้เก็บความแค้นเอาไว้และทำเป็นคนดี แต่พอยึดเมืองได้ก็ออกลาย จนNKVDต้องสั่งให้หยุดการกระทำเหล่านี้เสีย กองทัพแดงต้องสูญเสียทหารโดยตายไปกว่า 50,000คนในการยึดเมืองและ 135,000ในการบุกเยอรมันตะวันออก ส่วนฝ่ายเยอรมันสูญเสียมากกว่ามากโดยถูกฆ่าไปกว่า 325,000คนยังไม่รวมผู้ที่บาดเจ็บต้องพิการและสูญหายที่เป็นประชาชนเยอรมันตา ฟ้าๆด้วย
     
     
         หลังจากฮิตเลอร์ได้ฆ่าตัวตายตำแหน่ง ผู้นำก็ตกเป็นของคนที่ทุกคนรู้กันว่าจะได้เป็นทายาทฟือเรอร์อันดับสองนั้น คือพลเรือเอกคารล์ โดนิตส์( Admiral Karl Donitz) ได้เป็นผู้นำแห่งอาณาจักรไรซ์ (reichsprasident) คนใหม่ส่วนนายโจเซฟ เกิบเบิ้ลส์ (Joseph Goebbels) ได้ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีของเยอรมัน (Reichskanzler) แต่เกิบเบิ้ลส์ก็ได้กระทำอัตวินิบาตกรรมในวันที่ 1พฤษภาคม ถึงโดนิตส์จะได้เป็นผู้นำแต่ก็ไม่รู้จะเป็นไปทำไมในเมื่อบ้านเมืองมัน วินาศสันตะโรขนาดนี้ จึงได้มีการเจรจายอมแพ้อย่างเป็นทางการกับฝ่ายพันธมิตร ในวันที่ 8พฤษภาคมสงครามในยุโรปจึงสิ้นสุดลง มีการเฉลิมฉลองกันอย่างยกใหญ่ทั่วโลก( โดยเฉพาะในประเทศผู้ชนะสงคราม และเคยโดนนาซีกดขี่ ) อาณาจักรไรซ์ที่3 (Third Reich) ที่ฮิตเลอร์คุยนักคุยหนาว่า จะต้องอยู่ยงคงกระพ้นไปอีกพันปีหรือเรียกว่า "อาณาจักร์ไรซ์พันปี" ("thousand-year Reich") ต้องล่มสลายลงไป พร้อมกับลัทธิครองโลกด้วยความคลั่งชาติและโหดเหี้ยมของนาซี ที่ใช้เวลาเพียงสิบสองปีได้เข่นฆ่าผู้คนในยุโรปไปกว่า 40ล้านคน
              
     
     
     สงคราม ได้จบลงไปแล้วชาวเยอรมัน ได้ถูกพันธมิตรสอนให้เกลียดลัทธินาซีมาจนถึงทุกวันนี้ กฏหมายเยอรมันได้ห้ามให้มีการใช้สัญลักษณ์สวัสดิกะของนาซี (สังเกตในเกมส์สงครามต่างๆในปัจจุบันจะเปลี่ยนจากสวัสดิกะเป็นกางเขนเยอรมัน แทน เพื่อให้สามารถขายเกมส์ในเยอรมันได้)
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×