ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามเย็น,ความขัดแย้ง,การสานประโยชน์ทางการเมือง

    ลำดับตอนที่ #4 : การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

    • อัปเดตล่าสุด 15 ต.ค. 52


    การล่มสลายของสหภาพโซเวียต: หลังจากสตาลิน (Joseph Stalin) ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตฯ ถึงแก่กรรมใน พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) ผู้ที่ก้าวขึ้นมีอำนาจต่อคือ นิคิตา ครุสชอฟ (Nikita Khrushchev) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ก็ตามดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพโซเวียตฯ กับจีน โดยสหภาพโซเวียตฯ ได้ขยายการช่วยเหลือจีนด้วยการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 200 แห่ง และเครื่องมือทางอุตสาหกรรมจำนวนมาก อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสหภาพโซเวียตกับจีนมีอันต้องเปลี่ยนไป ทั้งนี้เนื่องจาก ครุสชอฟ ได้ประกาศแก้ไขทบทวนคำสอนของคอมมิวนิสต์ในเรื่อง “สงครามกับการปฏิวัติ” [5] เพื่อนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการลดกำลังทหารและอาวุธในนโยบายของคอมมิวนิสต์ในยุคนิวเคลียร์ นอกจากนี้ ครุสชอฟ ยังได้กล่าวตำหนิสตาลินอย่างรุนแรง ทำให้จีนไม่พอใจและเหมาเจ๋อตง ผู้นำจีนในขณะนั้นได้กล่าวว่า
    “การตำหนิสตาลินของครุสชอฟเป็นความผิดพลาด”ต่อมาเมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ.2500 (ค.ศ.1957)สหภาพโซเวียตฯ ได้จัดการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกที่กรุงมอสโก ซึ่งถือว่าเป็นการพบกันระหว่างผู้นำคอมมิวนิสต์ทั่วโลกครั้งแรกหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยการจัดการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ให้โลกคอมมิวนิสต์ยอมรับในแนวคิดใหม่ของครุสชอฟ ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และ การเปลี่ยนแปลงไปสู่ลัทธิสังคมนิมยมอย่างสันติวิธี ในการประชุมครั้งนั้นผู้นำจีน (เหมาเจ๋อตง) ไม่ได้แสดงออกถึงท่าทีว่ายอมรับหรือไม่ยอมรับในแนวคิดของครุสชอฟ นอกจากนี้ผู้นำจีน ยังได้ขอให้สหภาพโซเวียตถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอาวุธนิวเคลียร์
    ความขัดแย้งระหว่างสหภาพโซเวียตฯและจีนที่เริ่มต้นมาจากมุมมองที่ต่างกันลัทธิคอมมิวสิสต์ ได้ขยายวงออกไปจนเกิดแนวความคิดตะวันตกและคอมมิวนิสต์ตะวันออก ต่อมาเมื่อ ครุสชอฟ ได้หมดอำนาจลง คนที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำคนต่อไปคือ เลโอนิด เบรซเนฟ (Leonid Brezhnev) ได้พยายามที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนให้ดีขึ้นแต่เขายังคงไม่ละทิ้งแนวความคิดในการอยู่ร่วมกับตะวันตกอย่างสันติ ทำให้ในที่สุดจีนเองก็ได้กล่าวประนาม เบรซเนฟ อย่างรุนแรง และสถานการณ์ต่างๆ ไม่ได้ดีขึ้น ถึงแม้จะเปลี่ยนผู้นำไปอีกหลายคน เช่น ยูริ แอนโดรปอฟ (Yuri Andropov) คอนสแตนติน เชอร์เนนโก (Konstantin Chernenko) จนกระทั่งมาถึง มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ที่ออกนโยบายต่างๆ เช่น การควบคุมเศรษฐกิจผ่านทางนโยบายกลาสนอสต์ (การเปิดกว้างทางการเมือง) เปเรสตรอยกา (การวางโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่) และอุสโคเรนิเย (การเร่งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ) ทำให้สหภาพโซเวียตฯ หันไปมีความสนิทกับประเทศตะวันตกมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ ที่มีความร่วมมือกันลดอาวุธนิวเคลียร์ที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับองค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ

     
               ในเดือน ธันวาคม พ.ศ.2532 (ค.ศ.1989) ประธานาธิบดีจอร์จ บุช แห่งสหรัฐอเมริกา กับประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ พบกันที่เกาะมอลตา ประกาศว่า สงครามเย็นสิ้นสุดลงแล้วอย่างเป็นทางการ ต่อมากลางปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990) ประเทศในยุโรปตะวันออก พันธมิตรของสหภาพโซเวียตฯ เคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย ส่งผลให้ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกถึงกาลอวสาน [7]
                 ในปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990) กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และยังได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็นบุรุษแห่งศตวรรษ(Man of the Decade) แต่ปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานทำให้นโยบายเปเรสทรอยก้าล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2534 (ค.ศ.1991) โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ชิน สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริงและประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยุบพรรคคอมมิวนิสต์และการสลายตัวของสหภาพเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ.1991) ต่อหน้ามหาชน ถือเป็นการอวสานของสหภาพโซเวียตฯ อย่างสิ้นเชิง
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×