ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามเย็น,ความขัดแย้ง,การสานประโยชน์ทางการเมือง

    ลำดับตอนที่ #3 : สงครามเย็น - การเกิดและการดับของสงครามเย็น

    • อัปเดตล่าสุด 15 ต.ค. 52


    สงครามเย็น - การเกิดและการดับของสงครามเย็น
    เป็นที่ทราบกันดีว่าหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง การเผชิญหน้ากันระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับฝ่ายอักษะได้แปรเปลี่ยนไปเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างอุดมการณ์ทางการเมือง 2 ค่ายคือ ประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์ และการเผชิญหน้านี้เองจะถูกเรียกว่า “สงครามเย็น (Cold War)” ถึงแม้ปัจจุบันสภาวะของสงครามเย็นได้ยุติลงด้วยความสูญเสียในระดับที่น้อยกว่าการสูญเสียในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสงครามโลกครั้งที่สองนั้นมีการสูญเสียชีวิตถึง 72 ล้านคน (รวมทั้งพลเรือนและทหารแยกฝ่ายสัมพันธมิตรสูญเสีย 61 ล้านคน และฝ่ายอักษะสูญเสีย 11ล้านคน) ในขณะที่สงครามเย็นมีการสูญเสียชีวิตคนไปหลายล้านคน (สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม สงครามสหภาพโซเวียต-อัฟกานิสสถาน ฯลฯ รวมแล้วก็หลายล้านคนแต่ไม่ถึง 72 ล้านคน) แต่การสูญเสียในสงครามเย็นก็สามารถกล่วได้ว่ามีการสูญเสียในระดับที่สูงคือระดับที่เป็นหลักล้านชิวิตเหมือนกัน            ในช่วงสงครามเย็นนั้นไม่เพียงแต่จะมีการสูญเสียชีวิตไปในระดับที่เป็นหลักหลายล้านคนแล้ว สิ่งที่จะนำไปสู่ความหายนะของมวลมนุษย์ชาติ ด้วยความเสี่ยงที่เกือบจะเกิดการโจมตีจากแต่ละฝ่ายด้วยอาวุธนิวเคลียร์หลายครั้ง ดังเช่น กรณีวิกฤตการขีปนาวุธคิวบาในห้วง 14 - 28 ต.ค.2505 (Cuban Missile Crisis)
     
     
    คำว่าสงครามเย็น (Cold War) นั้นเริ่มมีใช้ครั้งแรกในคริสตศตวรรษที่ 13 [1] โดยนักเขียนชาวสเปน ชื่อ Don Juan Manuel โดยใช้คำภาษาสเปนคือ “Guerra Fria” ซึ่งมีความหมายว่า “Cold War” แสดงถึงสภาวะความขัดแย้งระหว่าง ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ในขณะนั้น (ยุคมืด) และในลำดับต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2581 (ค.ศ.1938) ในวารสารเดอะเนชั่น (The Nation) ได้มีการใช้คำว่าว่า “Hitler’s Cold War” หรือ ถอดความเป็นภาษาไทยได้ว่า “สงครามเย็นของฮิตเลอร์” [2] ส่วนคำว่า “Guerra Fria” ได้ปรากฏอีกครั้งในงานเขียนของ Luis Garcia Arias ในบทความชื่อ El Concepto de Guerra y la Denominada "Guerra Fria" ในปี พ.ศ.2499 (ค.ศ.1956) [3]
     
     
     
    สำหรับความหมายของคำว่าสงครามเย็นในพจนานุกรมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ให้ความหมายไว้ว่า “สภาวะความตึงเครียดและความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างรุนแรงระหว่างมหาอำนาจตะวันตกกับค่ายคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออก” [4] ส่วนคำว่าสงครามเย็นในความหมายที่เข้าใจกันในปัจจุบันที่ว่า สงครามเย็นเป็นสภาวะความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ 2 ประเทศที่แบ่งออกเป็น 2 ขั้วอำนาจคือ สหรัฐฯ และสหภาพโซเวียต นั้นมีการกล่าวถึงครั้งแรกโดย Bernard Baruch นักการเงินสหรัฐฯ ผู้เคยเป็นที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจให้กับประธานาธิบดี Woodrow Wilson และประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 โดย ได้ไปกล่าวสุนทรพจน์ที่มลรัฐเซาธ์แคโรไลนา เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2490 ได้กล่าวไว้ในสุนทรพจน์ของเขาในประโยคที่ว่า "We are today in the midst of a cold war." หรือถอดใจความเป็นภาษาไทยได้ว่า “วันนี้เราอยู่ท่ามกลางสงครามเย็น” [5] และหลังจากนั้นก็เริ่มมีการใช้คำว่า Cold War หรือ สงครามเย็น แทนสภาวะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และพันธมิตร กับสหภาพโซเวียตและพันธมิตร
     
               การเกิดขึ้นของสงครามเย็นนั้นยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่ทั้งนี้เพราะนักประวัติ ศาสตร์บางส่วนจะกล่าวว่าสงครามเย็นเริ่มขึ้นในห้วงเวลาหลังสงครามเย็น ในขณะที่อีกส่วนกล่าวว่าสงครามเย็นเริ่มเกิดขึ้นและก่อเค้าลางมาตั้งแต่ สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง อย่างไรก็ดีการจะกำหนดให้แน่ชัดว่าเกิดขึ้นในห้วงเวลาใดนั้นคงเป็นเรื่องที่ สามารถกระทำได้ยาก และต้องย้อนกลับไปพิจารณาที่คำจำกัดความและคำนิยามที่ให้ใว้ในแต่ละฝ่าย แต่ไม่ว่าสงครามเย็นจะเริ่มขึ้นเมื่อไหร่เราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าภาพความ ชัดเจนของสงครามเย็นจะปรากฏชัดเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังจะยุติลง
              
     
     
    หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลงความเสียหายอย่างหนักได้เกิดขึ้นกับทุก ๆ ประเทศที่เข้าร่วมในการทำสงครามไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพันธมิตรหรือฝ่ายอักษะ จะมีแต่เพียงสหรัฐฯ และรัสเซีย 2 ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 และด้วยปัจจัยนี้เองจึงส่งผลให้สหรัฐฯ และรัสเซียก้าวขึ้นเป็นประเทศมีอิทธิพลเป็นประเทศมหาอำนาจของสังคมโลกในห้วงเวลาดังกล่าว แต่ด้วยความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมือง สังคมโลกจึงถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มประเทศที่มีระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยมีสหรัฐฯ เป็นประเทศนำ และ กลุ่มประเทศที่มีระบอบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์มีรัสเซียเป็นประเทศนำ และจากการแบ่งขั้วออกเป็น 2 ขั้วนี้เองได้ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ โดยความตึงเครียดที่เกิดขึ้นนั้นยังคงไปไม่ถึงระดับของความขัดแย้งที่มีการใช้กำลังทหารเข้าทำสงครามในลักษณะของสงครามใหญ่ ๆ ซึ่งสภาวะนี้เองถูกเรียกว่าสงครามเย็น
     
     
     
    ดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตยังจะเป็นสิ่งที่เพิ่มระดับของความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ โดยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ช่วงก่อนทศวรรษที่ 1980 และช่วงหลังทศวรรษที่ 1980
    นโยบายการต่างประเทศในช่วงก่อนทศวรรษที่ 1980 ของสหภาพโซเวียตคือการสร้างความมั่นคงให้กับระบบคอมมิวนิสต์ทั้งภายในและภายนอกสหภาพโซเวียต ซึ่งรวมถึงหมู่ประเทศพันธมิตรที่อยู่ภายใต้อาณัติของสหภาพโซเวียตด้วย ในขณะที่สหรัฐฯ นั้นมีความชัดเจนที่จะดำเนินการวิธีใด ๆ ก็ตามที่สามารถสกัดกั้นการแพร่ขยายของสัทธิคอมมิวนิสต์ และในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 จนมาถึง ในสมัยต้นทศวรรษที่ 1990 สหรัฐ ฯ ได้มีนโยบายการต่างประเทศกับลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ผ่อนคลายลง ดังเช่น สหรัฐอเมริกาได้มองเห็นว่าจีนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญมากในเอเชียตะวันออก จึงเริ่มเปิดศักราชใหม่แห่งความสัมพันธ์กับจีน หรือ นโยบายในการยินยอมให้มีการเจรจาลดอาวุธนิวเคลียร์ลง ในขณะเดียวกันสหภาพโซเวียตก็มีท่าที่ผ่อนคลายลงเหมือนกัน
     
     
    การเข้ายึดครองอัฟกานิสถานของสภาพโซเวียต:เมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม พ.ศ.2516 (ค.ศ.1973) Mohammad Daoud Khan หลานของกษัตริย์ Mohammad Zahir Shah ของอัฟกานิสถาน ได้ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์อัฟกานิสถาน (People's Democratic Party of Afghanistan: PDPA) ทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากกษัตริย์ Shah และได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี [1] ซึ่งต่อมาได้สถาปนาสาธารณรัฐอัฟกานิสถาน และได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ.2521(ค.ศ.1978) [2] โดยได้ปลดฝ่ายตรงข้ามที่น่าสงสัยออกจากรัฐบาลอันนำไปสู่การนองเลือด และ ประธานธิบดี Khan ได้เสียชีวิตจากการนองเลือดในครั้งนั้น และ Nur Muhammad Taraki ผู้ซึ่งเป็นเลขาธิการพรรค PDPA ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี โดยมี Hafizullah Amin เป็นรองประธานาธิบดี อย่างไรก็ดีได้มีความแตกแยกภายในพรรค PAPD โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ต่อมา ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979) รองประธานาธิบดี Amin ได้ทำการยึดอำนาจ จากประธานาธิบดี Taraki หลังจากที่ Taraki เป็นประธานาธิบดีได้ประมาณ 18 เดือน ผลคือ Amin ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี และ ประธานาธิบดี Taraki เสียชีวิตจากการยึดอำนาจดังกล่าว
     
           

     
            ประธานาธิบดี Aim เมื่อก้าวขึ้นมามีอำนาจได้เริ่มคุกคามสมาชิกพรรค PAPD จำนวนมากด้วยการกล่าวหาและจับกุม ทำให้ผู้คนเกิดความหวาดกลัวและโกรธเกลียด ประธานาธิบดี Aim เป็นจำนวนมาก ผู้ที่รอดจากการคุกคามของประธานาธิบดี Aim ต่างก็หลบหนีออกไปรอบ ๆประเทศเช่น ปากีสถาน หรือ อิหร่าน และในที่สุดคือการนำไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มต่อต้านเอง ประธานาธิบดี Aim ได้สั่งการให้ปราบปรามกลุ่มต่อต้านอย่างหนัก แต่ยิ่งปราบปรามยิ่งมีกลุ่มต่อต้านเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ประธานาธิบดี Aim เริ่มหันไปหาประเทศที่จะสามารถให้การสนับสนุนเขาในการปราบปรามได้ ซึ่งก็ไม่มีประเทศใดให้การสนับสนุน
     ประธานาธิบดี Aim จึงหันไปหาสหภาพโซเวียต ทางสหภาพโซเวียตได้ส่งความช่วยเหลือทางทหารซึ่งนำไปสู่ การเคลื่อนย้ายกำลังเข้าไปอยู่ในอัฟกานิสถาน พร้อมกับที่ปรึกษาทางทหาร แต่ภาพของประธานาธิบดี Aim ได้ปรากฏเด่นชัดคือ ต่อต้านรัฐอิสลาม เน้นการผสมผสานประกอบกับ KGB รายงานว่าประธานาธิบดี Aimเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารประธานาธิบดี Taraki โดยหน่วยรักษาความปลอดภัยของประธานาธิบดี Aim 2 คนเป็นผู้สังหาร และยังมีรายงานว่าประธานาธิบดี Aim ได้มีการประชุมลับกับ CIA ทำให้สหภาพโซเวียตเริ่มมอง ประธานาธิบดี Aim เป็นสายลับของ CIA
           

     
    ประธานาธิบดี Aim เริ่มรู้ตัวว่าสหภาพโซเวียตไม่ไว้ใจตนเอง จึงระมัดระวังแม้กระทั่งอาหารยังต้องสับเปลี่ยนหลอกล่อจนในที่สุดลูกเขยของประธานาธิบดี Aim ได้รับพิษจนถึงขั้นบาดเจ็บอย่างรุนแรง เนื่องจาก KGB ได้ส่งสายลับ Mitalin TalyBov ลอบเข้าไปเป็นหัวหน้าพ่อครัวของประธานธิบดี ต่อมาเมื่อ 22 ธันวาคม พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979) ที่ปรึกษาทางทหารของสหภาพโซเวียตได้แนะนำให้กองทัพอัฟกานิสถานนำรถถังและยุทโธปกรณ์สำคัญเข้ารับการปรณนิบัติบำรุงตามวงรอบ รวมถึงระบบโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อออกไปนอกกรุงคาบูลชำรุดต้องได้รับการซ่อมแซม ทำให้กรุงดาบูลถูกโดเดี่ยว ฝ่ายบริหารจึงให้ประธานาธิบดี Aim ย้ายจากที่ทำงานในกรุงดาบูลไปยังพระราชวัง Tajbeg ด้วยความเชื่อว่าจะปลอดภัยเมื่อ กองกำลังของสหภาพโซเวียตบุกเข้าสู่อัฟกานิสถาน แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้ดีขึ้นอย่างที่ดาดหวังนัก เมื่อ สหภาพโซเวียตฯ ได้ส่งกำลังส่งทางอากาศเข้าสมทบกับกำลังภาคพื้นของตนเองที่กรุงคาบูลในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979) หลังจากย้ายเข้าไปพำนักในพระราชวัง Tajbeg ได้เพียง 5 วัน

     
            การเข้ายึดครองอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียตฯ นั้นสหภาพโซเวียตฯ ได้ทุ่มกำลังทหาร และทรัพยากรทางทหารจำนวนมากเข้าไปสู่อัฟกานิสถาน แต่การยึดครองก็ไม่ได้ง่าย สะดวก และดูโสภานัก เมื่อกองกำลังของสหภาพโซเวียตได้เผชิญกับกลุ่มต่อต้าน ที่ใช้แนวความคิดในเรื่องของสงครามกองโจรเข้าทำการต่อกรกับกองทัพอันเกรียง ไกรที่มียุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยอย่างครบครันในลักษณะของสงครามอสมมาตร โดยการเผชิญกันครั้งนี้ระหว่างสหภาพโซเวียตฯ กับ กลุ่มต่อต้านที่ชื่อ “มูจาฮิดีน” ซึ่งมูจาฮิดีนนั้นได้รับการสนับสนุนจากประเทศหลายประเทศ คือ สหรัฐฯ ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย อังกฤษ จีน และประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ การดำเนินการโดยใช้สงครามตัวแทน (Proxy War) นี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบของการความขัดแย้งในยุคสงครามเย็น ในระหว่างที่สหภาพโซเวียตฯ เข้ายึดครองมีการปฏิบัติการทางทหารทั้งหมด 4 ขั้นตอน
       1) ขั้นที่ 1 เข้ายึดครอง (ธันวาคม พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979) - กุมภาพันธ์ พ.ศ.2523 (ค.ศ.1980)): เป็นช่วงต้นของการเข้ายึดครองด้วยการเคลื่อนย้ายกำลังเข้าสู่อัฟกานิสถานทางบก 2 ทางและทางอากาศ 1 ทาง แต่สหภาพโซเวียตฯ สามารถยึดพื้นที่ได้อย่างจำกัดเนื่องจากเผชิญกับการต่อต้าน
          2) ขั้นที่ 2 การรุก (มีนาคม พ.ศ.2523 (ค.ศ.1980) - เมษายน พ.ศ.2528 (ค.ศ.1985)): เมื่อเผชิญกับการต่อต้านต่อต้านจากลุ่มต่างๆ สหภาพโซเวียตฯ จึงทำการยึดครองเมืองสำคัญ พื้นที่ยุทธศาสตร์ และ พื้นที่เป็นศูนย์กลางการสื่อสาร ในขณะที่กลุ่มต่อต้านมูจาฮิดีนได้แบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ กระจายกันทำสงครามกองโจร
          3) ขั้นที่ 3 ขั้นกำหนดยุทธศาสตร์ออกจากอัฟกานิสถาน (เมษายน พ.ศ.2528 (ค.ศ.1985) - มกราคม พ.ศ.2530 (ค.ศ.1987)): เมื่อ มิกาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำสหภาพโซเวียตฯ ทำให้นโยบายในอัฟกานิสถานเปลี่ยนไป จึงมีแนวความคิดที่จะถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถาน และโดยเริ่มโอนพื้นที่การรบให้กับกำลังของอัฟกานิสถาน
          4) ขั้นที่ 4 ขั้นถอนตัว (มกราคม พ.ศ.2530 (ค.ศ.1987) - กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 (ค.ศ.1989)): ในขั้นการถอนตัวของกองกำลังสหภาพโซเวียตฯ แบบกำลังออกเป็น 2 ส่วน กำลังส่วนแรกจะถอนตัวออกระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม - 16 สิงหาคม พ.ศ.2531 และกำลังส่วนที่ 2 ถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2532 (ค.ศ.1989) - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990) โดยระหว่างที่กองกำลังของสหภาพโซเวียตฯ ถอนตัวนั้นไม่ได้ถูกรบกวนโดยกลุ่มมูจาฮิดีนเลย

          
     
    การถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานเป็นการยุติบทบาทของสหภาพโซเวียตฯ ที่มีต่ออัฟกานิสถานการเผชิญหน้าของสหภาพโซเวียตฯ นั้นทำให้สหภาพโซเวียตฯ มีสภาพที่ไม่แตกต่างอะไรนักกับที่สหรัฐฯเผชิญในสงครามเวียดนาม สหภาพโซเวียตฯ ต้องติดอยู่ในอัฟกานิสถานนานร่วม 10 ปี ตั้งแต่ ธันวาคม พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979) จนถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 (ค.ศ.1989) สหภาพโซเวียตฯ ได้สูญเสียทหารและเจ้าหน้าที่ไปร่วม 15,000 คน ในขณะที่ฝ่ายอัฟกานิสถานสูญเสียทหารและพลเรือนไปร่วม 1,000,000 คน [4]

     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×